สัปดาห์ที่ผ่านมาทางรัฐบาลได้เปิดเผยแผนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัวครอบคลุม 46 ประเทศและสามารถเดินทางได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยแต่มีข้อแม้ (1) ฉีด Vaccine ครบ 2 โดส (2) หลักฐานในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ก่อนเดินทางและตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อมาถึงประเทศไทย ส่วนประเทศอื่นๆนอกเหนือจาก 46 ประเทศข้างต้นจะแบ่งเป็น 2 กรณี (1) ประเทศที่ไม่อยู่ใน 46 ประเทศข้างต้นแต่รับ Vaccine ครบ 2 โดสและต้องตรวจหาเชื้อก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมงด้วยวิธี RT-PCR พร้อมกับต้องจองที่พัก 7 คืน หลังจากนั้นจะมีการตรวจหาเชื้อในวันที่ 6 หรือ 7 หากไม่พบเชื้อสามารถเดินทางได้ทุกที่ของประเทศไทย (2) ไม่อยู่ในกลุ่มประเทศ 46 ข้างต้นและยังได้รับ Vaccine ไม่ครบการเดินทางเข้ามาต้องกักตัว 7-10 วัน ความเห็นเราการประกาศเปิดประเทศถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแต่ยังมิสามารถคาดหวังผลบวกต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนหรือเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนที่มีสัดส่วนอันดับ 1 (28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 19) การเดินทางออกนอกประเทศยังมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากจีนมีความเข้มงวดสูงเกี่ยวกับการป้องกันการระบาด COVID-19 ข้อมูลล่าสุดสำนักข่าว Channel Asia รายงานว่าจีนได้สั่งยกเลิกเที่ยวบินหลายร้อยเที่ยวและปิดโรงเรียนทันทีหลังพบคู่รักติด COVID-19 จากการเดินทางไปหลายมณฑล ขณะเดียวกันแม้สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศจะคลี่คลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าแต่การติดเชื้อต่อวันก็ยังอยู่ในระดับสูงราว 9,000 - 10,000 ด้าน Vaccine เข็มแรกและเข็มสองครอบคลุมราว 54.6% และ 37.9% ของประชากรทั้งหมด หากเทียบกับประเทศใกล้เคียง อาทิ เกาหลีใต้ (78.6% , 68.8%) มาเลเซีย(78.3% , 72.8%) ญี่ปุ่น (76.6% , 69%) เรียงจากเข็มแรกและเข็มสอง เราเชื่อ ว่าการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ย่อมจะต้องพิจารณาทั้งด้านการติดเชื้อและการกระจาย Vaccine ซึ่งจะเห็นว่าประเทศอื่นๆยังบริหารจัดการเรื่อง COVID-19 ได้ดีกว่าประเทศไทย ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อันดับแรกได้แก่สนามบิน (AOT) อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันมีส่วนลดจากสิ้นปี 19 เพียง 11% บ่งชี้ว่าราคาหุ้นตอบรับเชิงบวกต่อการเปิดประเทศไปพอสมควร ขณะที่เชิงผลประกอบการปี 22 เราคาดจะมีกำไรเพียง 2.9 พันล้านบาทหากเทียบกับปี 19 มีกำไรถึง 2.5 หมื่นล้านบาท สวนทางกับราคาหุ้นที่มีส่วนลดเพียง 11% ส่วนอุตสาหกรรมได้ประโยชน์ทางอ้อมได้แก่ ค้าปลีก (BJC CPALL) โรงแรม (CENTEL ERW MINT) ศูนย์การค้า (CPN) รถไฟฟ้า (BTS BEM) ธนาคาร (BBL KBANK SCB) อย่างไรก็ตามราคาหุ้นชุดข้างต้นต่างก็ปรับตัวขึ้นมาระดับนึง บ่งชี้ว่าราคาหุ้นก็ได้ตอบรับต่อแผนการเปิดประเทศรวมถึงผ่อนคลายมาตรการมาแล้วระดับนึง แต่ที่ยัง Laggard ได้แก่ (BBL BEM BJC CPALL CPN) ส่วนปัจจัยสัปดาห์นี้หลักๆเป็นเรื่องของผลประกอบการในประเทศ ซึ่งน่าจะออกมาใกล้เคียงกับนักวิเคราะห์ประเมินไว้ จึงคาดหวังแรงหนุนเชิงบวกต่อการลงทุนได้ยาก
CBG (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 159 บาท) คาดผลประกอบการ 3Q21 เป็นจุดต่ำสุดของปี 2021 ที่ 655 ล้านบาท (-32%YoY -32%QoQ) เนื่องจากการลดลงของรายได้ในทุกๆประเทศที่ค้าขายผลจากการระบาด COVID-19 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นลดลง YoY จากต้นทุนน้ำตาลและอลูมิเนียมที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามคาด 4Q21 จะเริ่มฟื้นตัว QoQ ขณะที่ราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาจากจุดสูงสุด 22% เชื่อว่าสะท้อนผลประกอบการ 3Q21 ไปแล้ว แนะทยอยสะสม
KBANK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 174 บาท) มองว่ากำไรจะฟื้นตัวใน 4Q21เป็นต้นไป จากการขยายสินเชื่อกลุ่มธุรกิจและ SME หลังจากคลายล็อกดาวน์ รวมทั้งได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศในปีหน้า เนื่องจากมีพอร์ตสินเชื่อ SMEและสินเชื่อที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสูง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit