เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ณ อาคาร 24 ชั้น 15 (อาคารสัญลักษณ์) ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 40.9 เป็น 39.6 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 275 เดือน หรือ 22 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค.41 เป็นต้นมา??
การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงย่ำแย่จากวิกฤต COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และ การจ้างงานในอนาคต โดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบัน และ ในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้??
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 33.8 36.3 และ 48.6 ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือน ก.ค.ที่อยู่ในระดับ 35.3 38.0 และ 49.6 ตามลำดับ??
อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำและรายได้ในอนาคตอย่างมากเพราะมีความกังวลในวิกฤตCOVID-19 รอบใหม่ในประเทศไทยและทั่วโลกส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสปรับตัวแย่ลงได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคลดลงในที่สุด??
นอกจากนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงอีกครั้ง สะท้อนว่าผู้บริโภคยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในประเทศไทย และ ในโลกว่า จะส่งผละกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยในช่วงนี้ โดยต้องติดตามของการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ การแพร่ระบาดโควิดรอบที่ 4 ตลอดจนรัฐบาลจะมีการประกาศผ่อนคลาย Lockdown เพิ่มเติมหรือไม่ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในอนาคต จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าขยายตัวดีขึ้นจากระดับที่คาดการณ์ไว้ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมาที่คาดว่าขยายตัว 0 ถึง -2% มาอยู่ที่ขยายตัว 0 ถึง 2%
รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า "สัญญาณเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้เชื่อว่าจีดีพีปีนี้จะกลับมาเป็นบวกได้ หรือ อยู่ในกรอบ 0.8-1.2% โดยมาจากการที่โควิดคลายตัวลง และ ต้องไม่มีการล็อกดาวน์ซ้ำ เพราะสิ่งที่ประชาชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ มีความกังวล คือ การล็อกดาวน์ และ ไม่สามารถเปิดเมืองได้ แต่หากรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ จะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในไตรมาส 4 นี้ ประมาณ 3.5-5 หมื่นล้านบาท"
HTML::image(