13th APACT 2021 ครอบคลุมทั้งเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนการทำงานด้านควบคุมยาสูบของประเทศ ต่างๆ การจัดการภาษี การรณรงค์ การทำความเข้าใจกับนวัตกรรมยาสูบแบบใหม่ ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและอื่นๆ การรวมเครือข่ายนานาชาติ ทั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน และเครือข่ายเยาวชน ผ่านผู้บรรยายนานาชาติมากถึง 66 คน และผู้บรรยายจากประเทศไทย 28 คน พร้อมด้วยเอกสารคัดย่อ ทางวิชาการ งานวิจัยมากกว่า 300 ชิ้น ซึ่งการประชุมนี้จะได้ข้อสรุปที่ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน งานควบคุมบริโภคยาสูบระดับนานาชาติและของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ในภูมิภาคและประเทศต่อไปดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีความมุ่งมั่นที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมยาสูบสู่ Smoke Free Thailand เพื่อนำไปสู่ฉากทัศน์ของอนาคต Tobacco Endgame และ Smoke Free Generation เพื่อลดปริมาณการบริโภคยาสูบให้เป็นศูนย์ สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีคนสูบบุหรี่ลดลงมาตลอด ผลสำรวจเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปลดเหลือ ร้อยละ 17.4 ลดลงจาก ร้อยละ 19.1 ในปี 2560 ขณะที่ผลการดำเนินงานควบคุมยาสูบของไทยตั้งแต่ปี 2554-2560 ทำให้มีคนสูบบุหรี่ ลดลง 72,319 คนต่อปี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยสูบบุหรี่ลดลงคือ การมีนโยบายควบคุมยาสูบ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยที่ทันสมัย ทันสถานการณ์ ทั้งนี้ สสส. ขับเคลื่อนมาตรการสังคมไทยปลอดควันบุหรี่มาตลอดเกือบ 20 ปี มุ่งให้ความสำคัญการพัฒนางานวิจัย สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการพัฒนานโยบาย การวางแผนขับเคลื่อนงานร่วมกับกลุ่มต่างๆ ในสังคม ทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด และการสื่อสารรณรงค์สังคม ที่ให้ความสำคัญการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนรศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะ รองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุม การบริโภคยาสูบ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายเพื่อการควบคุมยาสูบของไทย ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาเพื่อการควบคุมยาสูบ โดยมุ่งเป้าไปที่การหยุดยาสูบเพื่อหยุดการระบาดใหญ่ ของโควิด 19 โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินตาม 17 มาตรการ เพื่อเร่งกระบวนการ Tobacco Endgame พร้อมข้อแนะนำการลดอุปสงค์อุปทานยาสูบ ได้แก่ 1.การระดมการรณรงค์สื่อสารมวลชนทั่วประเทศ เพื่อช่วยเน้นย้ำเรื่องความเสี่ยงโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นกับการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภท 2.ควรจัดประเภทผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมดรวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นและเป็นอันตรายในช่วงการระบาดใหญ่ 3.ควรจัดให้มีบริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ให้แก่ผู้สูบบุหรี่ ที่ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงบริการได้ทั้งกลุ่มที่กักตัวที่บ้าน หรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล 4.จัดตั้งเครือข่ายวิชาชีพด้านสุขภาพในระดับภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยาสูบในภูมิภาคให้เข้มแข็ง 5.ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล หน่วยงานองค์กร และภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างสังคมปลอดควันบุหรี่ (Smoke free Society) โดยพุ่งเป้าไปที่การกำหนดให้ Tobacco Endgame ถูกบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นวาระ แห่งชาติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมกันสร้างสังคม ปลอดบุหรี่ และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่อย่างจริงจังนายสุวินัย จิระบุญศรี นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมประชุม Youth Program of APACT 2021 กล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายเยาวชนไทยและเยาวชนนานาชาติ ขอประกาศปฏิญญาขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสร้างสังคมปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน 5 ประการ คือ สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างค่านิยมและให้ความรู้แก่เยาวชนอย่างถูกต้องในเรื่องพิษภัยของบุหรี่เพื่อรู้เท่าทันอุตสาหกรรมยาสูบ ขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายดำเนินการระงับการขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์อย่าง โปร่งใสตรงไปตรงมา ปรับปรุงกฎหมายกำกับและระงับการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อ Social media ทุกช่องทาง และสนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เป็นหนึ่งในกรรมการของกิจกรรมการควบคุมการบริโภค ยาสูบ และในฐานะที่เยาวชนคือ "เหยื่อ" คนสำคัญของอุตสาหกรรมยาสูบ จึงขอให้ทุกท่านได้โปรดรับฟังเสียงของพวกเราด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit