เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร นายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส พร้อมด้วย นายธนิศร์ เจียรวนนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่างประเทศ และประสานธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ บมจ.สยามแม็คโคร ได้ร่วมกันร้อยเรียงความดีในวันโอโซนโลก 16 กันยายน ซึ่งองค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันนี้ของทุกปีเป็นวันโอโซนโลก เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งเครือซีพีได้ร่วมรณรงค์ด้วยการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ลงดินเพื่อลดโลกร้อนและคืนโอโซนให้ชั้นบรรยากาศ ผ่านโครงการ "ซีพี ร้อยรักษ์โลก" ณ สถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นต้นแบบนำร่องขับเคลื่อนนโยบายลดโลกร้อนปลูกต้นไม้ 10 ล้านต้นภายในปี 2573 สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Zero Carbon) โดยทุกบริษัทในเครือ อาทิ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ บมจ. ซีพี ออลล์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บจ. เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม หรือ โลตัส บมจ. สยามแม็คโคร ฯลฯ จะต้องร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในช่วยลดโลกร้อนด้วยการปลูกต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่ของบริษัท โรงงาน รวมถึงในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศให้ครบตามเป้าหมายที่กำหนด
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า เครือซีพีมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน และที่สำคัญคือจะต้องขับเคลื่อนนโยบายปลูกต้นไม้ให้ได้ 10 ล้านต้นภายในปี 2573 ซึ่งผู้บริหารและพนักงาน 4.5 แสนคนในทุกกลุ่มธุรกิจของเครือทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกจะต้องเป็นพลังสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Zero Carbon) โดยกิจกรรมปลูกต้นไม้ในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับสังคมและโลก การริเริ่มปลูกต้นไม้ยืนต้นของเครือซีพีในวันโอโซนโลกเพื่อนำร่องเป็นต้นแบบให้ทุกบริษัทในเครือเห็นถึงความสำคัญของนโยบายปลูกต้นไม้ลดโลกร้อนที่เครือซีพีได้ประกาศความมุ่งมั่น และเพื่อตอกย้ำถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืน โดยต้นไม้ที่ได้นำมาปลูกลงดินในกิจกรรมครั้งนี้มาจากโครงการซีพีร้อยรักษ์โลกที่เครือซีพีสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรและชาวชุมชนชนบทมีรายได้จากการดูแลกล้าไม้ทดแทนรายได้หลักที่หายไปจากวิกฤติโควิด-19 ตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
สำหรับกล้าไม้ในโครงการซีพีร้อยรักษ์โลกประกอบด้วย 1.ไม้ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ ต้นแดง ต้นพยูง ต้นประดู่ป่า ต้นมะค่าโมง ต้นชิงชัน ต้นสักทอง ต้นพยอม ต้นยางนา ต้นเก็ดแดง ต้นแคนา 2.ไม้ท้องถิ่น ได้แก่ ทองอุไร มะม่วงหิมพานต์ 3.ไม้ป่าชายเลน ได้แก่ โกงกาง ลำพู ฝาดแดง/ฝาดขาว และ 4.ไม้ผลกินได้ ได้แก่ มะม่วง(น้ำดอกไม้) กล้วยน้ำว้า ขนุน ฝรั่ง ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit