มจธ. ร่วมกับ สปสช. จัดพิธีปิดโครงการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพผู้นำเชิงกลยุทธ์สู่องค์กรสมรรถนะสูง

13 Sep 2021

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขัน (STECO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดพิธีปิดโครงการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพผู้นำเชิงกลยุทธ์สู่องค์กรสมรรถนะสูง ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจากทั้งสองหน่วยงานเข้าร่วม

มจธ. ร่วมกับ สปสช. จัดพิธีปิดโครงการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพผู้นำเชิงกลยุทธ์สู่องค์กรสมรรถนะสูง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นองค์กรของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่มีภารกิจสำคัญในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการออกแบบและพัฒนาให้มีลักษณะเฉพาะเหมาะสมกับองค์กรและกลุ่มเป้าหมาย คือ การพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้บุคลากรของหน่วยงานมีความรู้ทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้นำ ปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองต่อภารกิจดังกล่าว สปสช. จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย จึงได้มีการประเมินสมรรถนะและนำมาพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้บริหารและผู้มีศักยภาพสูงในองค์กรให้มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์และบริหารการเปลี่ยนแปลง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการงานและนวัตกรรม พร้อมทั้งบูรณาการความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิผล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการเป็นผู้นำ สามารถบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม รวมถึงสมรรถนะผู้บริหาร/ผู้นำ และสมรรถนะหลักขององค์กร

การดำเนินโครงการเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดย ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ หัวหน้าโครงการร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพผู้นำเชิงกลยุทธ์สู่องค์กรสมรรถนะสูง มีผู้เข้ารับการพัฒนาทั้งหมด 2 กลุ่ม จำนวน 73 ท่าน ซึ่งผู้เข้ารับการพัฒนาได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จำนวนกลุ่มละ 42 ชั่วโมง ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อาทิ การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่แผนการปฏิบัติงาน โดยใช้เทคนิค Balanced Scorecard และ Strategy Map ตลอดจนใช้เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัด การสร้างความสอดคล้องในมิติต่างๆ ขององค์กรด้วย 7s Model กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร กลยุทธ์การคิดแบบต่างๆ เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ เป็นต้น การให้คำปรึกษาโดยคณาจารย์และผู้บริหารจำนวน 3 ครั้ง และนำเสนอผลงาน Cross Functional Projects (CFP) เพื่อยกระดับระบบประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ "ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยได้มีความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ"

HTML::image(