ทีเซลส์ผนึกพลังเครือข่ายพันธมิตร ขับเคลื่อนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์สู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน

08 Dec 2021

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดสัมมนาออนไลน์ "Life Sciences Foresight Seminar" ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 9.00-16.30 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting

ทีเซลส์ผนึกพลังเครือข่ายพันธมิตร ขับเคลื่อนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์สู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน

โดยดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงานและได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มาร่วมวิเคราะห์และเปิดมุมมองพูดคุยถึงอนาคตของอุตสาหกรรมชีวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ช่วงเช้าของการสัมมนาเปิดมุมมองถึงบทบาทของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ในการสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการโดย ดร. ว่าที่ ร้อยเอก วฤษฎิ์ อินทร์มา ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์, การคาดการณ์อนาคตเทคโนโลยี (Technology Foresight) โดย ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, เครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Toolbox) โดย ดร.ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จากนั้นช่วงสัมมนารอบบ่ายเปิดเวทีด้วยการมองเห็นถึงความเติบโตของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ในอนาคต เริ่มด้วยบทบาท การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (LiVE Platform) โดย คุณณัฐพล สุวรรณสิริ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์ธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อด้วยหัวข้อ "อภิปรายอนาคตกาลของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์" ผศ.ภญ.ดร.จิติมา ลัคนากุล รองคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์, อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดย ผศ.ดร.ภานุพงษ์ ใจวุฒิ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มาตรฐานการบริการด้านสถานสุขภาพ โดย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล, อุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์และสุขภาพ โดย คุณณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสนับสนุนโรงพยาบาล บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS)

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการทุกท่านที่ผ่านการคัดเลือก "โครงการการพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน" เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพกลุ่มอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) และงานสัมมนาออนไลน์ "Life Sciences Foresight Seminar" ในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อยกระดับผู้ประกอบการด้านการแพทย์และสุขภาพ และให้การสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับความพร้อมของธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ มีทิศทางขยายธุรกิจให้เหมาะสม เติบโต มั่นคง พร้อมเข้าสู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน มีความพร้อมด้านทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาเทคโนโลยี ยกระดับกลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพ วางแผนเส้นทางธุรกิจให้สอดคล้องตอบรับกับนโยบายแผนยุทธศาสตร์ชาติ"

โครงการของ ศลช. หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ที่เกี่ยวกับการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีดังนี้

  • โครงการพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน ปีที่ 1
  • โครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้กับธุรกิจชีววิทยาศาสตร์
  • โครงการสนับสนุนการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา
  • โครงการพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ (Meet and Mach)
  • โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจสำหรับธุรกิจชีววิทยาศาสตร์
  • การวิเคราะห์ผู้ประกอบการเพื่อเสนอต่อแหล่งทุนที่เกี่ยวข้อง
    (ร่าง) งบประมาณ พ.ศ. 2566
  • โครงการพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดทุนอย่างยั่งยืน ปีที่ 2
  • โครงการสนับสนุนการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา
  • โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผู้ประกอบ

HTML::image(