บลจ.ทาลิส เสริฟกองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวท์ โมด เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA) ส่งท้ายปี คัดธีมเด่นเน้นหุ้น MOAT ในตลาดสหรัฐฯ จับจังหวะลงทุนช่วงดัชนีย่อตัว

09 Dec 2021
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดขาย กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวท์ โมด เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA) กองทุนรวมต่างประเทศกองที่สอง ที่ยังเป็นการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการลงทุนใน กองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (MOAT) ซึ่งกองนี้ลงทุนในหุ้นในดัชนี Morningstar (R) Wide Moat Focus IndexSM "สำหรับคำว่า Moat เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากกูรูทางการเงินและการลงทุน ว่า Moat หมายถึงบริษัทนั้นมีคูเมืองรอบป้อมปราการที่สามารถป้องกันตนเอง ทำให้สามารถดำรงความได้เปรียบทางธุรกิจจากคู่แข่ง ซึ่งตามปกติธุรกิจที่มีผลกำไรสูงจะดึงดูดให้เกิดคู่แข่งขันทางธุรกิจและในที่สุดผลกำไรจะลดลง แต่บริษัทที่มีคุณสมบัติตาม Moat จะสามารถป้องกันตัวเองจากคู่แข่งขันได้ และสามารถดึงระยะเวลาที่ผลกำไรจะลดลงออกไปได้" นายประภาสกล่าวนอกจากคัดเลือกบริษัทที่มีความได้เปรียบทางธุรกิจหรือมี MOAT แล้ว หุ้นที่จะถูกคัดเลือกเข้าไปในดัชนี Morningstar (R) Wide Moat Focus IndexSM จะต้องมีราคาที่เหมาะสมโดยเทียบกับราคา Fair value ที่ทาง Morningstar ประมาณการไว้ด้วย และดัชนีจะมีการกระจายการลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 40 ตัว ในลักษณะ Equal Weight โดย บลจ. ทาลิสยังคงยึดมั่นในนโยบายการลงทุนของบริษัทที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี เน้นการลงทุนที่เน้นการกระจายความเสี่ยง โดยบริษัทยังมองว่าตลาดหุ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงมีความน่าสนใจและเติบโตได้บลจ.ทาลิส มองว่าช่วงเวลานี้เป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน จากการที่ตลาดหุ้นในสหรัฐมีการปรับตัวลดลงจากความกังวลต่อการระบาดของ โควิด-19 สายพันธ์ใหม่ อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี บริษัทต่างๆ จะมีการ ประกาศแผนการดำเนินงานและผลประกอบการในปีถัดไป ซึ่งคาดการณ์ว่า หากผลการดำเนินงานยังมีการเติบโตต่อเนื่อง โอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ บลจ.ทาลิส เปิดเสนอขายกองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวท์ โมด เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA) ระหว่างวันที่ 9 - 14 ธ.ค. 2564 สามารถซื้อขายสับเปลี่ยนได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 2564 ทุกวันทำการ ลงทุนครั้งแรก 1,000 บาท และครั้งถัดไป 1 บาท กรณีขายคืน ผู้ลงทุนจะได้รับเงินค่าขายคืนภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่คำนวณ NAV (โดยทั่วไปจะได้รับเงิน 3 วันทำการหลังวันทำรายการขายคืน (T+3) กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA) เป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยกองทุนจะลงทุนในกองทุนหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ภายใต้การบริหารจัดการของ VanEck Associates Corporation จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ CBOE ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับราคาและผลตอบแทนของดัชนี Morningstar(R) Wide Moat Focus Index ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดย Morningstar คัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนและราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งกองทุนจะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศผลตอบแทนสะสมของ กองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) ตั้งแต่ต้นปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 22.55 และผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 19.59 (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564)สามารถดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ที่ www.vaneck.com ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตผู้ลงทุนสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง หรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 020150222 หรือ www.talisam.co.th
บลจ.ทาลิส เสริฟกองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวท์ โมด เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA) ส่งท้ายปี คัดธีมเด่นเน้นหุ้น MOAT ในตลาดสหรัฐฯ จับจังหวะลงทุนช่วงดัชนีย่อตัว

คำเตือน :การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกองทุนหลักจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมากกองทุนนี้และกองทุนหลักลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของประเทศที่ลงทุนอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด

HTML::image(