ความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร ต้องเข้าใจเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่

09 Dec 2021

เป็นที่ประจักษ์ว่าคนรุ่นใหม่หรือเจเนอเรชั่น Y ไปจนถึง Z โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลจัดเป็นเจเนอเรชั่นที่เป็นแรงงานในตลาดที่ใหญ่ที่สุด จึงเป็นกลุ่มประชากรที่สามารถขับเคลื่อนเทรนด์การบริโภคและมีความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์ต่างๆ รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งเป็นประเด็นที่กว้างไปกว่าเรื่องของปัจจัยในการดำรงชีวิต แต่บ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ที่กลุ่มคนยุคใหม่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก กลุ่มคนเหล่านี้มีความชอบ ความต้องการที่เปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์อยู่เสมอ ดังนั้นผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจจะต้องทำการค้นคว้าและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในทันกับเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร ต้องเข้าใจเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่
  1. A desire for customization: เทรนด์ของผู้บริโภคในยุคนี้แตกต่างจากเทรนด์ในช่วงก่อนหน้า ที่คนส่วนใหญ่มักจะบริโภคสินค้าที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นและทุกคนก็รับประทานเหมือนๆ กัน ในขณะที่ปัจจุบันผู้บริโภคหันความต้องการไปสู่สินค้ารูปแบบเฉพาะ ซึ่งผู้บริโภคสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตัวเอง ในขณะเดียวกัน ร้านอาหารก็ยินดีที่จะเตรียมบริการพิเศษเพิ่มเติมสำหรับผู้บริโภคที่มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เช่น แพ้นมวัว คนที่ทานมังสวิรัติ เป็นต้น
  2. Expanded Delivery: ตั้งแต่ช่วงโควิดเริ่มระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอาหารโดยเฉพาะร้านอาหาร dine-in ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ร้านอาหารต่างๆ ต้องปรับตัวให้มีบริการ takeaway และบริการ delivery อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ร้านอาหารบางแห่งมีบริการรองรับการจัดส่ง ในขณะที่ร้านอาหารส่วนใหญ่พึ่งพาบริการ on-demand delivery ซึ่งมีการให้บริการอย่างแพร่หลายในช่วงที่หลายเมืองต้องล็อคดาวน์ จนกระทั่งในยุค 'New Normal' ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการบริโภคในรูปแบบดังกล่าวไปแล้ว
  3. Edible insects: สำหรับเอเชียแปซิฟิก ตลาดบริโภคแมลงกำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในสมัยก่อนหลายคนอาจจะกลัวอาหารหรือขนมที่ทำมาจากแมลง เนื่องด้วยเหตุผลด้านรูปลักษณ์ภายนอก แต่ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญในเรื่องของสารอาหาร โดยพบว่าแมลงเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย จิ้งหรีดและหนอนนกถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จำพวกบิสกิตและขนมหวานต่างๆ เพราะมีคุณสมบัติ gluten free ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการให้กลุ่มมิลเลนเนียล
  4. High quality Frozen food and microwavable food: ประชากรยุคใหม่ก็มากับวิถีชีวิตที่เร่งด่วน รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นอาหารแช่แข็งจึงเป็นตัวเลือกที่ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เป็นอยู่ อาหารแช่แข็งมักถูกมองว่าไร้คุณค่าทางโภชนาการ ทำให้หลายกลุ่มหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานอาหารแช่แข็ง ปัจจุบัน ผู้ประกอบการจำนวนมากจึงหันมาลงทุนด้านนวัตกรรมและใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่คงคุณค่าทางอาหารไว้ แม้จะเป็นในรูปแบบอาหารแช่แข็ง อาหารอีกประเภทหนึ่งที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน คืออาหารที่เพียงอุ่นร้อนก็ทานได้ ไม่ว่าจะเป็นแซนวิชอบร้อนซึ่งจัดอยู่ในประเภท chilled food จัดเป็นสินค้าที่ขายดีอันดับต้นๆ ในร้านสะดวกซื้อ ผลสำรวจด้านการตลาดคาดว่าในปี 2566 ตลาดสินค้า microwaveable จะมีมูลค่ารวมถึง 136,305 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.2 ล้านบาท)
  5. Organic and natural, locally grown: มิลเลนเนียลหลงรักอาหารออร์แกนิคและมาจากธรรมชาติ ไม่ยึดติดกับการซื้อสินค้าจากแบรนด์ใหญ่ๆ หันมาสนับสนุนแบรนด์ท้องถิ่นมากขึ้นด้วยเหตุผลที่สินค้าเหล่านั้นมีความพิถีพิถันกว่าและมักให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภค กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้จะศึกษาแหล่งที่มาและปริมาณสารอาหารที่ได้รับอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าที่ส่งผลต่อสุขภาพ แม้ concept farm-to-table concept ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เทรนด์ดังกล่าวก็มีอิทธิพลต่อการบริโภคของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก

HTML::image(