นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย ก่อให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศปีละเกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 6% ของจีดีพี อีกทั้งยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานนับล้านคน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเป็นผู้ประกอบการ SMEs มากถึงร้อยละ 90 ซึ่งประเทศไทย ยังได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของโลก และเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก จำเป็นจะต้องสร้างความมั่นใจในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ผ่านการออกใบรับรองคุณภาพ จากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสากล ด้วยเหตุนี้ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้มอบนโยบายและเร่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ผลักดันมาตรฐานการตรวจสอบให้ห้องปฏิบัติการของประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันผ่าน GIT Standard สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ
โดย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม GIT โดยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน ได้ขานรับนโยบาย จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา โดย รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 1 โรงแรม นิว แทรเวิล ลอด์จ จังหวัดจันทบุรี เพื่อสร้างความร่วมมือและผลักดัน GIT Standard ในด้านการยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากผู้ซื้อ-ผู้บริโภค และส่งเสริมอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับให้เติบโตอย่างยั่งยืน หนุนภาพลักษณ์ไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีเครื่องประดับโลก
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน กล่าวว่า "ความร่วมมือกันระหว่างสถาบันและมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้กับอุตสาหกรรม รวมถึงมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ครั้งนี้จะร่วมกันพัฒนางานวิจัย การบริการทางวิชาการ การพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดจันทุบรีที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของประเทศ
นอกจากนี้ สถาบันยังเร่งประสานและหาความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการการตรวจรับรองอัญมณีและเครื่องประดับกับหน่วยงานภาคการศึกษา และ เอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสริมมาตรฐานด้านอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศอย่างยั่งยืนสนใจศึกษาข้อมูลด้านมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจรับรองอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้ที่ www.gitstandard.com หรือ โทร 02 634 4999 ต่อ 451 - 455
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit