'แม็คโคร' ดีเดย์นำหุ้น PO เข้าเทรด 24 ธ.ค.นี้ วางยุทธศาสตร์พัฒนาแพลตฟอร์ม O2O พลิกโฉมธุรกิจรับยุคดิจิทัล โบรกเกอร์มองศักยภาพการเติบโตและฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น

23 Dec 2021

บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO หรือ บริษัทฯ) พร้อมนำหุ้น PO เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ ให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนจากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ร่วมมือกลุ่มโลตัสส์พลิกโฉมธุรกิจค้าส่ง (B2B) และค้าปลีก (B2C) รับยุคดิจิทัล ผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์แบบ O2O พัฒนาร้านค้าและช่องทางจำหน่ายที่หลากหลายทั่วเอเชีย รวมถึงระบบนิเวศออนไลน์ (Online ecosystems) ของการค้าปลีกรูปแบบใหม่

'แม็คโคร' ดีเดย์นำหุ้น PO เข้าเทรด 24 ธ.ค.นี้  วางยุทธศาสตร์พัฒนาแพลตฟอร์ม O2O พลิกโฉมธุรกิจรับยุคดิจิทัล โบรกเกอร์มองศักยภาพการเติบโตและฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น

นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร เปิดเผยว่า แม็คโครเตรียมนำหุ้น PO เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 หลังจากเสร็จสิ้นการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้น PO เป็นที่เรียบร้อย โดยพร้อมให้ความมั่นใจแก่นักลงทุน เนื่องจากการระดมทุนดังกล่าวได้เพิ่มความแข็งแกร่งด้านฐานะทางการเงินให้กับบริษัทฯ พร้อมรองรับแผนงานขยายธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่ผู้นำธุรกิจค้าส่ง (Business to Business หรือ B2B) และค้าปลีก (Business to Consumer หรือ B2C) ในระดับภูมิภาคเอเชีย โดยมองว่าภาพรวมตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) ในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มของสด และสินค้าอุปโภคบริโภค (Fresh and Grocery) ที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงถึงกว่า 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตต่อไปในระยะยาว โดยเฉพาะตลาดในประเทศไทย มาเลเซีย จีน อินเดีย เมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ที่มีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก

หลังจากนี้แม็คโครได้วางยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับกลุ่มโลตัสส์ พัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจที่มีรูปแบบร้านค้าและช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย (Omnichannel) ทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียน ซึ่งปัจจุบันยังมีอัตราการเข้าถึงธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคสมัยใหม่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยจะผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (offline to online หรือ O2O) เพื่อพลิกโฉมธุรกิจรับยุคดิจิทัลและตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น

"เราจะใช้ข้อได้เปรียบของประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางการส่งออก เพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดโลก โดยการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียนั้น เราพร้อมสนับสนุน SMEs และผู้ผลิตสินค้ารายย่อยของไทยให้เติบโตไปด้วยกันผ่านแพลตฟอร์มแห่งโอกาส เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าไทยสู่ผู้บริโภคในระดับภูมิภาคและสร้างการยอมรับในมาตรฐานสินค้าไทยสู่ระดับสากล พร้อมยกระดับธุรกิจของ SMEs ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อนำเสนอของสดและสินค้าอุปโภคบริโภค (Fresh and Grocery) ที่ทันสมัย ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้" นางสุชาดา กล่าว

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า จากแผนยุทธศาสตร์ขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเอเชียที่วางไว้ มีความมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างมั่นคง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยจะมุ่งพัฒนาระบบนิเวศออนไลน์ (Online ecosystems) ของการค้าปลีกรูปแบบใหม่ เพื่อเข้าถึงลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดซื้อขายแบบ B2B (B2B Marketplace) ของแม็คโคร ที่จะสามารถเพิ่มความหลากหลายในการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีเฉพาะในแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างในการเลือกซื้อสินค้า โดยวางเป้าหมายเป็นผู้นำแพลตฟอร์มตลาดซื้อขายแบบ B2B (B2B Marketplace) ในประเทศไทย ส่วนการพัฒนาแพลตฟอร์ม B2C มีแผนดำเนินงานภายใต้แนวคิด Fresh Fridge ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารสดผ่านการจัดส่งถึงบ้านภายใน 30 นาที โดยใช้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของกลุ่มโลตัสส์เป็นคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าออนไลน์ และใช้ร้านค้าขนาดเล็กของกลุ่มโลตัสส์ให้บริการจัดส่งสินค้าเร่งด่วนแบบ On-Demand และเป็นศูนย์กระจายสินค้าออนไลน์ โดยวางแผนขยายการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ให้ครอบคลุมการให้บริการจากร้านค้าของกลุ่มโลตัสส์กว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศภายในไตรมาส 1/2565 รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศออนไลน์แบบ B2B2C โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรองรับการขยายธุรกิจของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ เช่น ร้านโชห่วย ร้านอาหาร เป็นต้น

"เราต้องการยกระดับธุรกิจค้าส่ง (B2B) และค้าปลีก (B2C) ให้รองรับยุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่ง Growth Driver ที่สำคัญ โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าว จะอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง การอัพเกรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชันที่ให้บริการแก่ลูกค้า ระบบบริหารคำสั่งซื้อ ระบบรับสินค้า และระบบขนส่งสินค้า ซึ่งจะมีทั้งการจัดส่งแบบเร่งด่วน (On-Demand Delivery) จัดส่งในวันถัดไป (Next-Day Delivery) และสั่งซื้อพร้อมรับสินค้าเอง (Click-and-Collect) โดยวางเป้าหมายในอนาคตจะมีสัดส่วนรายได้จากช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 - 20 ของยอดขายรวม" นายสมพงษ์ กล่าว

HTML::image(