ประเภทเรื่องสั้น นางสาวธุวพร มีโพธิ์ ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต, นางสาวรพิดา จารุจารีต ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นางสาวรัญชนา สิริประภาสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 4, นายภคพล คุ้มครอง ปีที่ 1 คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายมูฮัมมัดอามาล อาเก็บอุไร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 1 ซึ่ง นางสาวรพิดา จารุจารีต นิสิตปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หนึ่งในผู้คว้ารางวัลดีเด่น กลุ่มเรื่องสั้น บอกความรู้สึก ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มว่า"รู้สึกดีใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งค่ะ แล้วก็ได้รับความรู้จากอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ในการพัฒนางานเขียนของตัวเอง ต้องขอบคุณสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น แล้วก็ธนาคารกรุงเทพ ที่สนับสนุนทุนการศึกษาในการเขียนงานวิจารณ์ หนูหวังว่าหลังจากจบค่ายครั้งนี้ไป หนูจะได้พัฒนางานเขียนวิจารณ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นจากความรู้ที่ได้จากค่ายค่ะ"ทางด้าน ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวในฐานะผู้สนับสนุนโครงการตั้งแต่ปีแรกว่า "ผมก็ขอชื่นชม และขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆ ที่ได้มีโอกาสถูกคัดเลือกเข้ามา เข้าค่ายโครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 7 แล้ว ก็ได้ทราบข้อมูลอีกด้วยว่า มีน้อง ๆ ส่งงานเข้ามา มากกว่าพันคน และก็ 40 คนได้รับการคัดเลือกเพื่อมาเข้าค่ายครั้งนี้ ส่วนคนอื่นที่อาจจะไม่ได้ถูกคัดเลือกเข้ามาเข้าค่ายในครั้งนี้ ก็ขอให้พยายามต่อไป ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ น้อง ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะ ในด้านการเขียน การวิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จะเป็นทักษะที่ติดตัวน้อง ๆ ตลอดไปครับ"ด้าน คุณอาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น กล่าวว่า "จากสถานการณ์ในปัจจุบันจึงทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการอบรมงานวิจารณ์วรรณกรรม ในรูปแบบใหม่เป็นออนไลน์ และออนกราวด์ เพื่อการเข้าถึงเยาวชนในทุก ๆ พื้นที่ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงวัตถุประสงค์ของธนาคารกรุงเทพ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนให้เยาวชน ให้มีความรู้และสร้างสรรค์งานวรรณกรรม พร้อมทั้งให้เยาวชนปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลด้วยครับ"ทั้งนี้ ก่อนเข้าร่วมโครงการน้องๆ ต้องเขียนบทวิจารณ์หนังสือ 1 เล่ม โดยเลือกจากหนังสือที่ได้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่ง ประกอบด้วย รางวัลการประกวดหนังสือดีเด่นแห่งชาติของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์), รางวัลพานแว่นฟ้า และรางวัลชมนาด โดย ผู้เข้าประกวดอาจเลือกหนังสือประเภทสารคดีแนวต่างๆ กวีนิพนธ์ และนวนิยายคลาสสิคจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเหลือบทวิจารณ์ 40 บท ที่จะได้รับเงินรางวัล คนละ 20,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 800,000 บาท และจะได้เข้าค่ายอบรมงานวิจารณ์วรรณกรรม ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นเวลา 3 วัน ติดตามบทสัมภาษณ์ และบรรยากาศการเข้าค่ายโครงการ "อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 7" ได้ทาง http://praphansarn.com/scholarships
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit