บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
ไม่ว่าเศรษฐกิจมหภาคจะมีอิทธิพลต่อความเป็นไปในโลกนี้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่คือปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลและวิธีการบริหารจัดการข้อมูลจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว และช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีขึ้น องค์กรจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ทันเวลาที่ต้องการได้เลย หากไม่มีการใช้หลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้อง
IDC คาดการณ์ว่าจะมีการสร้าง, การเข้าถึง, การทำสำเนา และการใช้ข้อมูลเป็นปริมาณมากถึง 143 เซตตะไบต์ (zettabytes) ในปี 2567 แสดงให้เห็นว่ากำลังมีการสร้างข้อมูลในอัตราความเร็วสูงมาก และในปริมาณมหาศาล องค์กรต่าง ๆ กำลังนำแนวทางการทำงานที่ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติงานทำงานร่วมกัน (DevOps) มาใช้ นำซอฟต์แวรที่ใช้กับระบบคลาวด์มาใช้ให้เป็นประโยขน์ รวมถึงใช้ AI และระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้กำลังเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และมอบประสบการณ์เฉพาะตัวที่ตรงความต้องการของพนักงานและลูกค้าแต่ละคน แต่เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเป็นปัจจัยผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ พิจารณาเรื่องพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลของตนเสียใหม่ รวมถึงวิธีการที่องค์กรเหล่านี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้นเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าต่อองค์กร
เมื่อไม่นานมานี้ นูทานิคซ์ได้นำข้อมูล IDC InfoBriefs มาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และบทบาทของผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ ในการช่วยกำหนดรูปแบบของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ใช้ข้อมูลเป็นพลังขับเคลื่อน ซึ่งนับเป็นคลื่นลูกใหม่ของการทรานส์ฟอร์มนี้ ทั้งนี้ IDC พบว่ากลุ่มผู้บริหารระดับ c-suite มุ่งมั่นลงทุนโครงการด้านข้อมูลอย่างมาก ทั้งนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของ CEOs มีความต้องการอย่างชัดเจนที่จะทำให้องค์กรของตนใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการดำเนินงานมากขึ้น
การเชื่อมโยงการทำงานจากทุกจุดในองค์กรเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งจำเป็นต่อเป้าหมายในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนองค์กร ผู้นำทางเทคโนโลยีล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรที่อยู่กระจัดกระจาย เพื่อดึงคุณประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นออกมา โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจำนวนมาก
การสร้างชั้นข้อมูลที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ปัจจุบัน ข้อมูลที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น อยู่ที่สถานประกอบการหลักขององค์กร อยู่ที่เอดจ์ คลาวด์ และไซต์สำรอง ส่งผลต่อระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ ทั้งยังเพิ่มช่องโหว่และความซับซ้อนต่าง ๆ องค์กรจำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านปริมาณของข้อมูล ความหลากหลายและคุณภาพของข้อมูล ระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ กฎระเบียบของข้อมูล การบริหารจัดการการเพิ่มขึ้นของข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้ข้อมูล (egress costs) รวมถึงฐานข้อมูลเก่าที่เก็บมานาน ผนวกกับความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ต้องป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ต่าง ๆ ซึ่ง IDC ระบุว่าเป็นสิ่งท้าทายที่สุดในการปกป้องข้อมูล[1]
แพลตฟอร์มไอทีแบบเก่าไม่สามารถใช้บริหารจัดการความท้าทายเหล่านี้ได้ องค์กรจำเป็นต้องใช้ชั้นข้อมูล (data layer) ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถเข้าใจและรู้เท่าทันภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ ได้ ชั้นข้อมูลนั้นจะต้องมีเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีความยืดหยุ่น ติดตั้งมาเป็นมาตรฐานตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ทั้งนี้การนำหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้กับสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และนำไปใช้ได้ทุกส่วนขององค์กร
IDC ระบุว่า ไฮบริด มัลติคลาวด์ ยังคงเป็นกลยุทธ์ "ที่ดีที่สุดในการใช้คลาวด์ทั้งสองระบบ"[2] องค์กรต่าง ๆ ทราบดีว่าหากต้องการสร้างองค์กรที่ชาญฉลาดและรองรับอนาคตในวันนี้ พวกเขาจะต้องใช้คลาวด์หลายระบบพร้อมกัน เพื่อรองรับฟังก์ชันการทำงานที่เฉพาะเจาะจงมากมาย และใช้ดิสทริบิวเต็ดคลาวด์เพื่อการประมวลผลที่เอดจ์ด้วยฟังก์ชันไฮเปอร์สเกลต่าง ๆ ดังนั้นหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูล จะต้องสามารถทำงานร่วมกันกับไฮบริด มัลติคลาวด์ได้ เช่น รวบรวมเวิร์กโหลดต่าง ๆ ไว้เป็นหนึ่งเดียว สามารถผสานรวมข้อมูล วิเคราะห์ และทำงานกับข้อมูลได้ ไม่ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ ณ ที่ใดก็ตาม
ดึงคุณประโยชน์ของข้อมูลออกมาใช้ด้วยระบบอัตโนมัติในการรวมข้อมูลและดึงข้อมูลเชิงลึกจากทุกจุดขององค์กรมาไว้ภายในเลเยอร์พื้นฐาน ผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทบทวนและคิดหาวิธีที่จะใช้บริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างขององค์กร หลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการจัดเตรียมฐานข้อมูล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลก็ติดขัดอยู่กับการรอเวลาเพื่อเตรียมสตอเรจที่ซับซ้อน ซึ่งต้องการดิสก์จำนวนมาก เพื่อเก็บข้อมูลที่มีประเภทต่างกัน รวมถึงความยุ่งยากในการโคลนและกระบวนการรีเฟรชข้อมูล
สถาปัตยกรรมไฮบริด มัลติคลาวด์ ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้ฐานข้อมูลที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กรให้เหมือนกับฐานข้อมูลนั้นอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์ได้ ระบบอัตโนมัติและ one-click ฟีเจอร์การบริหารจัดการฐานข้อมูลหลายรายการ รวมถึงการกำกับดูแลบริการมัลติเพิลพับลิคคลาวด์ทั้งหมด และศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในองค์กร ช่วยให้ใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้าง นูทานิคซ์นำเสนอโซลูชัน Database as a Service ที่มีแดชบอร์ดเดียว พร้อมความเรียบง่ายด้วยการใช้ one-click และระบบอัตโนมัติสำหรับฐานข้อมูลสำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะได้รับการจัดเก็บอยู่ ณ จุดใดก็ตาม
การใช้หลักการพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมากในการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง การจะนำเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น Splunk หรือ Tableau มาใช้ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสเกลและรองรับฟังก์ชันการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงได้ และแน่นอนว่าสถาปัตยกรรมแบบไฮบริด มัลติคลาวด์ช่วยให้การดำเนินงานนี้สำเร็จได้
องค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการด้านข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์และหรือระบบนิเวศ IDC ระบุว่า ในเอเชียแปซิฟิกมีตัวเลขการลงทุนในโครงการดังกล่าวนี้ถึง 54 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าอเมริกาเหนือที่อยู่ที่ 33 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่ายุโรปที่เป็น 30 เปอร์เซ็นต์[1] นับว่าเป็นการเน้นให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ มีโอกาสมากมายในการบริหารจัดการข้อมูลของตนในแนวทางที่เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีมากขึ้น
[1] IDC InfoBrief sponsored by Nutanix, Data-Driven Innovation, #EUR147591721, April 2021
[2] IDC InfoBrief sponsored by Nutanix, From Digital Culture to Cloud Value, #EUR148088721, August 2021
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit