นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เล่าให้ฟังว่า CEA มีแผนที่จะใช้อุตสาหกรรมดนตรีและอุตสาหกรรม Creative Content (ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ การกระจายเสียง การพิมพ์ และซอฟท์แวร์ (เกม) เป็น Soft Power ในการใช้ Emotional Value เพื่อเพิ่มEconomic Value ให้กับอุตสาหกรรรมอาหาร ท่องเที่ยว และแพทย์แผนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ผ่านการผลักดันคอนเท้นต์ที่เป็นจุดแข็งของประเทศคือ Spiritual ซีรีย์วาย และ T-Pop สู่กลุ่มเป้าหมายในประเทศ CLMVT, อาเซียน, จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่มีประชากรคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของโลกโดยในส่วนของอุตสาหกรรมดนตรีและเพลงไทยสามารถช่วย สร้างผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ การจ้างงาน วัฒนธรรม และสังคม ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมดนตรีในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 6.5 ต่อปี ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากขนาดและกลไกการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก พบว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจ ของอุตสาหกรรมดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ค่ายเพลงขนาดใหญ่ ค่ายขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมไปถึงกลุ่มศิลปินอิสระ โดยกลุ่มนักแต่งเพลงมีบทบาทในฐานะผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ทำนองและคำร้อง ก่อนที่จะนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพลงในรูปแบบต่าง ๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นต้นน้ำ ของการผลิตในอุตสาหกรรมดนตรีของไทยในหลายประเทศ นักแต่งเพลงจะดูแลและจัดการลิขสิทธิ์เพลง ของตนเอง หรือมีบริษัท Publisher ช่วยอำนวย ความสะดวกในการบริหารจัดการลิขสิทธิ์เพลง โดยไม่ต้องพึ่งพาค่ายเพลง อย่างไรก็ตาม ใน ประเทศไทยยังมีบริการ Publisher ไม่มากนัก นักแต่งเพลงไทยจึงยังคงต้องพึ่งพาค่ายเพลง หรือองค์กรลิขสิทธิ์ด้านดนตรีในการบริหาร จัดการลิขสิทธิ์เพลงเป็นหลักขณะที่จุดอ่อนของอุตสาหกรรมดนตรีไทยปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง เนื่องจากพฤติกรรมของ ผู้ฟัง ระบบการตรวจสอบ และการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์เพลงในปัจจุบันยังที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมทางดนตรีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนมีบทบาทงานไม่ชัดเจนและมีมาตรฐานการทำงานต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมีความคลุมเครือในหลายประเด็น การดำเนินงานจึงถูกผลักให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก รวมทั้งกฎระเบียบภาครัฐหลายด้านไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม อาทิ เวลาในการการเปิด-ปิด สถานบันเทิง การจำกัดอายุผู้เข้าชมเนื่องจากกฎหมายแอลกอฮอล์ การขาดพื้นที่สาธารณะในการแสดง ห้องซ้อม คอนเสิร์ตฮอลล์ของนักดนตรี เป็นต้น4 ยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมดนตรีอย่างไรก็ดี จากประเด็นปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การกำหนด "แผนยุทธศาสตร์พัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาดนตรี" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจและยกระดับความหลากหลายของ ดนตรีภายในประเทศ ตลอดจนการเจริญเติบโตในระดับสากล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป โดยกำหนดวิสัยทัศน์ให้ "ประเทศไทยเป็นผู้นำด้าน ความหลากหลายทางดนตรีในเวทีโลก (Thailand as a Leading Country of Music Diversity in-line with international stage)" ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นการผสม ผสานระหว่างเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ที่เน้นการขับเคลื่อนแต่ละภาคส่วน เข้ากับยุทธศาสตร์ในภาพรวม ที่เน้นยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมดนตรีของไทย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมดนตรียุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนการเติบโตของ อุตสาหกรรมดนตรีทั้งในและ ต่างประเทศยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับความสามารถในการ สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีให้ ก้าวทันโลกยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ ขับเคลื่อนความหลากหลายของ ธุรกิจดนตรีก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมดนตรีไทยสำหรับในปี 2564 นี้ CEA ได้กำหนดจัดกิจกรรมแสดงศักยภาพของศิลปินไทย ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาดนตรี รวมทั้งสาขาศิลปะการแสดง ผ่านโครงการ "CEA Live House ปี 2" เปิดพื้นที่ให้ศิลปินไทยได้ทำการบันทึกและแสดงสดในรูปแบบ Live Recording Sessions ด้วยโปรดักชั่นเต็มรูปแบบ เผยแพร่ทาง Youtube ของศิลปินและ CEA เป็นการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และยกระดับความหลากหลายทางดนตรีภายในประเทศอย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดกิจกรรมในหลากหลายมิติ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดการเชื่อมโยงระหว่างดนตรีและอุตสาหกรรมอื่น ภายในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 หรือ การนำดนตรีมาเชื่อมโยงกับพื้นที่หรือเมือง โครงการ "Sound of the City" ตลอดปีที่ผ่านมา เป็นต้นโดยในอนาคตยังได้วางแผนต่อยอดผลงานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ๆให้กับนักดนตรี ผ่านโครงการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี "Let the Music Heal"เพื่อสร้างผลงานในรูปแบบ การสร้างชื่อเสียงและรายได้ด้วย รวมทั้งร่วมมือกับเครือข่ายภาคเอกชนในอุตสาหกรรมดนตรีไทย ด้วยการเปิดเวทีให้ภาคเอกชนการนำเสนอทางด้านดนตรีใหม่ๆ ในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงตลาดเอเชียผ่านช่องทาง OTT (Over-The-Top TV) ซึ่งเป็นรูปแบบการรับชมคอนเทนต์ต่าง ๆ ผ่าน application ได้หลากหลาย เป็นต้น รวมทั้ง CEA ยังทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" ในการให้การสนับสนุนห่วงโซ่ของคนดนตรี ตั้งแต่ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาครัฐ สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อความเข้มแข็งของคนในอุตสาหกรรมดนตรีดนตรี คน เมือง สังคม เศรษฐกิจ ล้วนเกี่ยวเนื่องต่อกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit