เมืองลุงรุกการท่องเที่ยว ผลักดันสูตรอาหารวิถีถิ่นพัทลุง ช่วยกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจคืนสู่ชุมชน

30 Nov 2021

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพัทลุง จัดงานเผยแพร่สูตรอาหารวิถีถิ่นพัทลุง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยคัดเลือกพัฒนาสูตรอาหารท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเชิงอัตลักษณ์ (ร้านอาหาร) ภายใต้แนวคิด "เขา ป่า นา เลสาป ทะเลน้อย" นำเสนออัตลักษณ์ จุดเด่น และเสน่ห์ของอาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายประเภท จำนวน 22 สูตร จาก 11 ชุมชน ในจังหวัดพัทลุง ที่มีวัตถุดิบเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจ มีความเป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัว นำมาต่อยอด พัฒนาเป็นสูตรอาหาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับคืนสู่ชุมชน หวังสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมศิวา รอยัล อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

เมืองลุงรุกการท่องเที่ยว ผลักดันสูตรอาหารวิถีถิ่นพัทลุง ช่วยกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจคืนสู่ชุมชน

นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ดร.นาที รัชกิจประการ ประธานคณะที่ปรึกษา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี นายสุรัตน์ จรณโยธิน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล นางสาววิลาวรรณ โป้บุญส่ง รักษาการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพัทลุง และคณะ ได้ร่วมกันแถลงข่าวการเผยแพร่สูตรอาหารวิถีถิ่นพัทลุง จำนวน 22 สูตร จาก 11 ชุมชน ต่อยอดจากกิจกรรมพัฒนาสูตรอาหารท้องถิ่นพัทลุงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสนองตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้โครงการ "ท่องเที่ยวเชิงอาหารวิถีถิ่นพัทลุง" ซึ่งมีเมนูไฮไลท์ตามแนวคิด "เขา ป่า นา เลสาบ ทะเลน้อย" ที่ดึงจุดเด่นและมนต์เสน่ห์ของเมืองพัทลุงมานำเสนอ ได้แก่ "เมนูแกงคั่วกลิ้งไก่ว่านสาวหลง" จากอำเภอศรีนครินทร์ ของศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสินแพรทองในคอนเซ็ปเขา, "เมนูน้ำพริกปลาย่าง" จากอำเภอป่าพะยอม ของล่องแก่งหนามมดแดง ( ชุมชนลานข่อย ) ในคอนเซ็ปป่า, "เมนูข้าวผัดปลาดุกร้าทรงเครื่อง" จากอำเภอบางแก้ว ของวิสาหกิจชุมชนบุชรอ จากโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ ในคอนเซ็ปต์นา, "เมนูหลนปลาดุกร้า" จากอำเภอเขาชัยสน ของชุมชนเวียงวังเขียนบางแก้ว ในคอนเซ็ปเลสาบ และ "เมนูกุ้งสามน้ำผัดซอสมะขาม" จากอำเภอปากพะยูน ของท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านเกาะเสือ ในคอนเซ็ปทะเลน้อย และยังได้เผยถึงกระบวนการในการพัฒนาสูตรอาหารท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเชิงอัตลักษณ์ตามขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่น่าสนใจ พร้อมจัดตั้งทีมที่ปรึกษาให้คำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิดกับคนในชุมชน เพื่อให้ได้สูตรอาหารที่ตรงตามอัตลักษณ์ มีรูปลักษณ์ให้สวยงาม ตลอดจนแนะนำการตกแต่งหน้าตาและการวาง "Food Stylist for Food Sustainability" จัดให้มีการอบรมเทคนิคการจัดจานอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารจากท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจคืนสู่ชุมชน หวังผลักดันส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ให้ใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในชุมชนได้ผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในจังหวัด

นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดแสดงโชว์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นชุดการแสดงโนราห์ ที่ตื่นตาตื่นใจ มีบูธนิทรรศการให้ความรู้เรื่องราวของสูตรอาหารท้องถิ่นพัทลุงที่มีเอกลักษณ์ สุดสร้างสรรค์และทรงคุณค่า และยังมีกิจกรรมสาธิตเมนูอาหารพื้นบ้านให้ได้สัมผัสและลองชิมรสชาติ ชูความโดดเด่นของเมนูในท้องถิ่นจังหวัดพัทลุงให้ได้ลิ้มลอง รวมทั้งการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวในจังหวัดในรูปแบบใหม่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากวิถีชีวิตชุมชน สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีถิ่นในจังหวัดทั้งที่เป็นแหล่งเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เน้นการให้ความรู้สู่ชุมชนท่องเที่ยว และเครือข่ายท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างยั่งยืน

HTML::image(