A Life Beyond Boundaries (The Geography of Belonging) นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่าง 1 มิถุนายน - 30 กันยายน 2564

25 May 2021

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่าง 1 มิถุนายน - 30 กันยายน 2564
JWD Art Space, กรุงเทพมหานคร
ภัณฑารักษ์ / โลเรดานา ปัซซีนี-ปารัชชานี

A Life Beyond Boundaries  (The Geography of Belonging) นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่าง 1 มิถุนายน - 30 กันยายน 2564

ศิลปิน / บูดิ วิดจายา, บุนโปน โพทิสาน, ซิตรา สาสมิต้า, ฮาฟเฟนดี้ อันวาร์, สมบัติ ของ มณเฑียร บุญมา, ฮา นิญ ฝ่าม, อีร์วัน อะห์เมตต์ และ ติตา ซาลินา, หลี หว่าง ลี, มาร์ค ซาลวาตัส, นอร์เบิร์ทโต้ โรดัน, ปฐมพล เทศประทีป, โซ ยู นวย, วุธ ลีโน, วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

นิทรรศการ A Life Beyond Boundaries (The Geography of Belonging) ปรากฏขึ้นในฐานะวิถีการถกเถียงว่าด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของชาติในบริบทของอุษาคเนย์ผ่านผลงานศิลปะ ด้วยการเปิดรับแนวทางเชิงเปรียบเทียบจากภูมิภาคนี้ นิทรรศการเชื้อเชิญศิลปินจากหลากหลายรุ่นเพื่อสำรวจถึงแนวคิดว่าด้วยอัตลักษณ์และการเป็นส่วนหนึ่งของชาติ โดยที่ไม่ถูกผูกมัดด้วยมุมมองทางภูมิศาสตร์ที่มักแสดงความเถรตรง ทว่ามาจากประสบการณ์ของศิลปินที่ต่างตั้งขึ้นจากการสังเกตการณ์บนความหมายของความเป็นชาติ ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกหรือชุมชน

ถ้าคำว่า เชื้อชาติ ถูกนิยามไว้ว่า "สิทธิของการเป็นพลเมืองของประเทศนั้น" แล้วเชื้อชาติกอปรขึ้นด้วยอะไรบ้าง? หรือเชื้อชาติเป็นแนวคิดที่จับต้องได้ และหากเป็นเช่นนั้น มันจะถูกนำเสนออย่างไร? ธงชาติ แผนที่ หรือสัญลักษณ์ของอำนาจนำทางการเมืองอาจกลายเป็นสัญลักษณ์ของสัญชาติใดหนึ่งได้หรือไม่? หรือคือมรดกสืบทอด ธรรมเนียม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่างหากที่เป็นตัวแทนการแสดงออกถึงความเป็นชาติ?

ตามที่ชื่อของนิทรรศการได้บ่งชี้ไว้ กล่าวคือได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือที่มีชื่อเดียวกัน ( A Life Beyond Boundaries) ของ เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) นักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาชื่อดัง หนังสือเล่มนี้ตีแผ่ลัทธิชาตินิยมผ่านมุมมองของเขาในฐานะ 'พลเมืองโลก' และผ่านชีวทัศน์ในเชิงเปรียบเทียบ และยังได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้แอนเดอร์สันริเริ่มทฤษฏี "ชุมชนจินตกรรม" ด้วยการสังเกตสารพันชีวิตรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ กรอบคิดทางวัฒนธรรม ภาษา ความทรงจำ และความเป็นอื่น ที่เป็นฉากหน้าสำคัญในการผลิตสร้างจินตนาการความเป็นชาติ และ ความเป็นชาติเอง ดังนั้นผลงานศิลปะในนิทรรศการนี้จึงเรียกร้องการตั้งคำถาม หรือ ต่อรองต่ออัตลักษณ์แห่งความเป็นชาติของตัวพวกเขาเอง ไม่ว่าจะบรรลุผ่านการรื้อทิ้ง หรือปฏิเสธซึ่งสัญลักษณ์และนัยของความเป็นชาตินั้นๆ

จากบทสนทนากับศิลปินสู่นิทรรศการ ผลงานศิลปะคัดสรรจากทั้งผลงานเดิมและผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ให้กับนิทรรศการโดยเฉพาะ ผลงานต่างๆได้ร่างภูมิเขตของตัวตนที่ก้าวพ้นเส้นแบ่งเขตแดนและนิยามของชนชาติแบบเดิมๆ ในขณะเดียวกันก็นำเสนอความเป็นภูมิภาค ผลงานบางชิ้นอาจนำเสนอภาพที่คุ้นชิน ผ่านสิ่งเคารพบูชาที่เป็นที่นิยม หรือด้วยวัสดุ เช่น ผ้าพื้นถิ่น สัญลักษณ์ หรือเทคนิคสร้างสรรค์แบบดั้งเดิม ในขณะที่ผลงานบางชิ้นอาจนำเสนอเรื่องราวของศิลปิน หรือ ข้อสงสัยต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ ณ ขณะนี้ถูกท้าทายด้วยภาวะโรคระบาดผ่านการปิดกั้นเขตแดนอย่างเข้มงวด หรือ การปราบปรามของรัฐทหารในบางประเทศอันนำมาซึ่งการโหยหาประชาธิปไตยของประชาชน

นิทรรศการ A Life Beyond Boundaries (The Geography of Belonging) จัดขึ้นที่ JWD Art Space โดยเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่ถูกนำเสนอผ่านกรอบต่างๆ โดยไม่อิงกับนัยที่ภูมิศาสตร์การเมืองสร้างเอาไว้ แต่มุ่งเน้นถามหาตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในประวัติศาสตร์และสังคม ผ่านบริบทของภูมิภาคแทนความเป็นรัฐชาติ นอกจากนี้นิทรรศการยังประกอบไปด้วยกิจกรรมสาธารณะ ทั้งการพูดคุยกับศิลปิน การเสวนาผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.jwd-artspace.com และ facebook/JWDArtApace

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit