การรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการและได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์" เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโอกาสในการท้องได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์อีกด้วย
"ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์" ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เพจที่ให้ความรู้และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัย ได้เปิดเผยถึง หลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Diet) หรือ เรียกว่า "คัมภีร์อาหารของครูก้อย" ที่เกิดจากการรวบรวมการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับหลักโภชนาการในการรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ช่วยบำรุงไข่ บำรุงมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้มีบุตรยากมายาวนาน โดยเน้นการให้คำแนะนำในการทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ซึ่งประกอบไปด้วย อาหารหมู่หลัก (Macronutrients) 70% และ วิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) 30 % ภายใต้ 5 Keys to Success ในการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ได้แก่ 1.เพิ่มโปรตีน 2.ลดคาร์บ 3.งดหวาน 4.ทานกรดไขมันดี 5.เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ และเสริมด้วยวิตามินบำรุง
โดยครูก้อยได้ให้ข้อมูลว่า วิตามินและแร่ธาตุนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิดอีกด้วย จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Woman's Health เมื่อปี 2019 ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ช่วยส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ 5 ประการ ดังนี้
โดยจากการศึกษางานวิจัย พบว่า วิตามินและแร่ธาตุที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่
1. กรดโฟลิก (Folic)
กรดโฟลิกจำเป็นอย่างมากต่อหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์และต้องกินล่วงหน้าก่อนท้อง 3 เดือนต่อเนื่องจนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความพิการของทารกแต่กำเนิด ได้แก่ หลอดประสาทไม่ปิด ปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติของแขนขา หัวใจพิการแต่กำเนิด ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ ไม่มีรูทวารหนัก กลุ่มอาการดาวน์
โดยการเสริมกรดโฟลิกสามารถทานได้ตั้งแต่วางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมอง และระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ และต้องทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการกรดโฟลิกสำหรับลูกน้อย แต่ร่างกายกลับดูดซึมจากอาหารได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายของคุณแม่ และทารกได้รับกรดโฟลิกที่เพียงพอ จึงต้องมีการเสริมกรดโฟลิกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อความสมบูรณ์ต่อการสร้างตัวอ่อนในครรภ์
ปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ รับประทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม ทุกวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิก 600-800 ไมโครกรัมต่อวัน
2. โคเอ็นไซม์ คิว10 (Coenzyme Q10)
โคเอนไซม์ คิว10 พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ โคเอนไซม์คิว10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และเซลล์สืบพันธุ์ รวมถึงพบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มพลังงานให้กับไมโตคอนเดรียซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น
โคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) จัดเป็นสารจำพวกวิตามิน หรือคล้ายวิตามิน ซึ่งถือเป็นขุมพลังงานสำคัญในชีวิตประจำวัน ที่คอยเติมความสดชื่นแข็งแรงให้แก่เซลล์ เพราะถ้าหากร่างกายขาด Coenzyme Q10 เซลล์ในร่างจะหยุดทำงานทันที!! Q10 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนหลังไข่ถูกปฏิสนธิ และยังชะลอการเสื่อมของเซลล์ไข่อีกด้วย
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวาราสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2009 ศึกษาพบว่า Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้น โดยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่มีอายุมากเพื่อเปรียบเทียบกับหญิงอายุมาก และสรุปผลว่า การทาน Co-enzyme Q10 ช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมากได้
งานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2020 ได้รายงานผลการ ทดลองในกลุ่มผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี) พบว่าการรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่รวมถึง
ลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย
"เซลล์ไข่แก่จากอายุที่มากขึ้น จะมีไมโตคอนเดรียที่เสื่อมสภาพอยู่ ดังนั้น การได้รับ Q10 เข้าไปเพื่อกระตุ้นการทำงานของไมโตคอนเดรียจะทำให้เซลล์ไข่กลับคืนสภาพมาเต่งตึงและพร้อมเกิดการปฏิสนธิแลกเปลี่ยนโครโมโซม มีโอกาสเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ได้ "
ปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน
งานวิจัยพบว่า Q10 ช่วยทำให้คุณภาพของเซลล์ไข่ดีขึ้นได้ และพบว่า อัตราการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น เมื่อรับประทานวันละ 30 mg ขึ้นไปเพื่อบำรุงร่างกายหรือฟื้นฟูสภาพเซลล์ โดยไม่ควรรับประทานเกิน 100 mg ต่อวัน (หากเกินต้องแพทย์สั่ง)
ดังนั้น Co-enzyme Q10 จึงเป็นหนึ่งในวิตามินที่แม่ๆวางแผนตั้งครรภ์ควรรับประทานให้เพียงพอ เพราะจะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ไข่ปฏิสนธิได้สมบูรณ์ ช่วยดความเสื่อมของเซลล์ไข่ ช่วยให้เซลล์ไข่สามารถแบ่งเซลล์ได้เป็นปกติ กลายเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ฝังตัวเป็นครรภ์ที่แข็งแรงต่อไป
3. น้ำมันปลา (Fish Oil)
น้ำมันปลา เป็นไขมัน หรือ น้ำมันที่สกัดจากเนื้อเยื่อของปลาแซลมอน น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ให้ DHA ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม ลดความเครียดในสมอง และ ให้ EPA ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการอักเสบ
ในส่วนของการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) นั้น โอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการสร้าง nitrix oxide ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดีขึ้นมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่ โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 35 ขึ้นไปที่เซลล์ไข่เริ่มเสื่อมคุณภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่ลดลง ควรทานโอเมก้า 3 ให้เพียงพอ นอกจากนี้โอเมก้า 3 ยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพของสเปิร์มอีกด้วย
ปี 2017 University of Colorado Advanced Reproductive Medicine ที่ได้นำเสนอ ได้เสนอผลการวิจัยในงานสัมมนา Endocrine Society ที่ทดลองกับผู้หญิงที่อยู่ในภาวะอ้วน (obese women) ซึ่งโรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก และทำให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบก็เป็นสาหตุหนึ่งของการมีบุตรยากเช่นกัน
ผลการศึกษาพบว่า…โอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ช่วยให้ไข่ตกเป็นปกติขึ้น และฮอร์โมนตัวนี้มีส่วนช่วยให้มดลูกพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน การทานโอเมก้า 3 จึงมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้นโอเมก้า 3 ยังช่วยลดการอักเสบเรื้อรัง จากการทดลองพบว่าระดับค่าความอักเสบของผู้หญิงในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ยังมีอีกงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงมีส่วนในการ "ช่วยลดภาวะไข่ไม่ตก" (anovulation) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย
น้ำมันปลายังดีต่อหญิงตั้งครรภ์ เพราะ ในโอเมก้า 3 มี DHA ที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพดวงตา สมอง และ เสริมสร้างระบบประสาทของทารกให้แข็งแรง นอกจากนี้ โอเมก้า 3 ยังให้ EPA ซึ่งช่วยดูแลลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ช่วยเพิ่มน้ำหนักของลูกในครรภ์ ช่วยลดความเครียดหรืออาการซึมเศร้าของแม่หลังคลอดได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอดอีกด้วย
ในส่วนของผู้ชายนั้นมีงานวิจัยหลายฉบับที่ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของโภชนาการและคุณภาพของสเปิร์มพบว่ามีความสัมพันธ์กันโดยการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์มได้
นักวิจัยศึกษาต่อเนื่องถึงเรื่องของการรับประทานปลาทะเลที่มีโอเมก้า 3 และการทานอาหารเสริม Fish Oil ที่มีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มพบว่า โอเมก้า 3 ช่วยให้สเปิร์มมีคุณภาพดีขึ้นและอาจช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุมาจากฝ่ายชาย (male Infertility)ได้
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Asian Journal of Andrology เมื่อปี 2012 พบว่าโอเมก้า 3 ช่วยเสริมการทำงานของระบบการสร้างน้ำอสุจิของมนุษย์ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ต่อการการเพิ่มจำนวนสเปิร์ม (sperm count) การเคลื่อนไหวของสเปิร์ม (sperm motility) และรูปร่างของสเปิร์มที่สมบูรณ์ขึ้น (sperm morphology)
โดยโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกายได้แก่ DHA และ EPA ซึ่งเป็น Fatty acid (กรดไขมัน) ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป
จากงานวิจัยนี้ได้อ้างถึงงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Andrologia เมื่อปี 2011ได้ทำการศึกษาผู้ชายที่มีบุตรยาก 238 คน โดยให้ทานโอเมก้า 3 ประเภท EPA และ DHA ปริมาณ 1.84 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 32 สัปดาห์ พบว่า จำนวนสเปิร์มและความหนาแน่นของเซลล์สเปิร์มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน
วันละ 500-1,000 มิลลิกรัม ทานหลังอาหาร
รู้อย่างนี้แล้วบำรุงก่อนตั้งครรภ์ต้องเสริมด้วย Fish Oil เพื่อเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่และให้คุณสามีทานด้วยเพื่อสเปิร์มที่แข็งแรง สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัย
4. วิตามินและแร่ธาตุรวม (Multivitamin & Minerals)
วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อการเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีก 20 ชนิด ได้แก่
ดังนั้นผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ และได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์" โดยเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% "อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด" บำรุงก่อนเตรียมตั้งครรภ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีบุตรยากควรมีการเตรียมความพร้อมในการบำรุงร่างกายให้ดี ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF / ICSI) ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะมีมากขึ้น โดยผู้ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิตามินและแร่ธาตุเตรียมตั้งครรภ์สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/product/ovaall/ "ครูก้อย" นัชชา ลอยชูศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับ "ครูก้อย" นัชชา ลอยชูศักดิ์
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit