ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เดือนกรกฏาคม 2564 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,119 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 17 - 23 กรกฏาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เดือนกรกฏาคม 2564 เนื่องจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งประกาศมาตรการยกระดับคุมโควิดที่กำลังระบาดหนัก ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิวพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด อย่างน้อย 14 วัน โดยมีกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา เป็น และ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 28) เพื่อกำหนดปรับปรุงเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเพิ่มพื้นที่ในอีก 3 จังหวัด คือ จังหวัดอยุธยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการประกาศจะมีผลถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 รายละเอียดของการประกาศมีดังต่อไปนี้ห้ามออกนอกเคหสถานช่วงเวลา 21.00-04.00 น. ห้ามรวมกลุ่มกิจกรรมเกิน 5 คนขอให้ประชาชนงดออกจากเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็นในเวลากลางวัน ยกเว้นเพื่อจัดหาอาหาร ยา พบแพทย์ รับวัคซีน และอาชีพจำเป็น ให้ทำงานจากที่บ้าน 100% ทั้งรัฐและเอกชน ยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุข การควบคุมโรค ระบบสาธารณูปโภค การจราจร บรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบ หากจำเป็นต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล และสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เดือนกรกฏาคม 2564 ที่มีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคนต่อเนื่อง
มาตรการเยียวยาโควิดและมาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชน ภายใต้วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา อยุธยา ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา) 2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วประเทศ 3. มาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา และมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ การประกาศของนายกรัฐมนตรี เรื่องการเปิดประเทศภายในเวลา 120 วัน โดยจะต้องมีการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชากรอย่างน้อย 50 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กว่า 17% ของจีดีพีมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เดือนกรกฏาคม 2564 โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้อยละ 76.5 และคิดว่าการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 จะทำให้มีการปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ร้อยละ 83.5
โดยเห็นด้วยกับการห้ามออกจากเคหะสถาน(เคอร์ฟิว) ร้อยละ 47.9 คิดว่ามาตรการล็อกดาวน์ 10 จังหวัด จะทำให้ผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ไม่ลดลง ร้อยละ 68.6
ในส่วนของการเปิดประเทศที่ให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 82.6 และ ไม่เห็นด้วยกับการให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ร้อยละ 75.9
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่ามาตรการช่วยเหลือของรัฐ มาตรการที่คิดว่าสามารถเยียวยาด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม อันดับหนึ่งคือ โครงการ เราชนะ ร้อยละ 60.2 อันดับสองคือ โครงการ ม.33 เรารักกัน ร้อยละ 49.0 อันดับสามคือ โครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 41.6 อันดับสี่คือ โครงการ คนละครึ่ง ร้อยละ 38.6 และอันดับห้าคือ โครงการ มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 35.1
และอยากให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือของรัฐ มาตรการที่คิดว่าสามารถเยียวยาด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชน อันดับหนึ่งคือ โครงการ เราชนะ ร้อยละ 55.6 อันดับสองคือ โครงการ มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 45.9 อันดับสามคือ โครงการ ม.33 เรารักกัน ร้อยละ 45.0 อันดับสี่คือ โครงการ มาตรการพักหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ร้อยละ 44.8 และอันดับห้าคือ โครงการ มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ร้อยละ 37.8
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit