4 ระยะอาการ "นิ้วล็อค" ที่ต้องรักษา
"นิ้วล็อค" ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นงอนิ้วมือเกิดการอักเสบทำให้เหยียดนิ้วออกได้ไม่เต็มที่
มักพบในผู้ที่ใช้งานนิ้วมือมากและนานในท่ากำมือ เช่น แม่บ้านที่ซักผ้าติดต่อกันนาน ช่างเย็บผ้า ช่างไม้ ช่างยนต์ คนที่ถือของหนักเป็นเวลานานคนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้คีย์บอร์ดพิมพ์งาน และยิ่งในคนรุ่นใหม่ที่ใช้มือถือ เล่นแท็บเล็ตกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการนิ้วล็อคได้สูง โดยอาการนิ้วล็อคจะมีหลายระยะ เริ่มตั้งแต่
สำหรับคนทั่วไปมักจะเป็นเพียงนิ้วเดียว แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากอาการชาจากปลายประสาทอักเสบแล้ว อาการนิ้วล็อคยังพบได้มากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย
ถึงแม้อาการนิ้วล็อคไม่ได้ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ทำให้เจ็บปวดและสร้างความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตอยู่พอสมควร ในช่วงแรกอาจยังพอใช้มืออีกข้างช่วยคลายล็อคเองได้ แต่หากยิ่งปล่อยไว้นาน นิ้วอาจล็อคอยู่อย่างนั้น จนไม่สามารถคลายนิ้วได้
ดังนั้นหากเริ่มมีอาการเจ็บฝ่ามือหรือเวลาเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกนิ้วสะดุด ไม่ว่ามากน้อยแค่ไหน แนะนำให้มาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยรับการรักษาที่เหมาะสมถ้ายังมีอาการไม่มากอาจเพียงแค่พักการใช้งานมือที่มีอาการนิ้วล็อค แช่น้ำอุ่นทานยาใช้ความร้อนประคบ เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม ลดปวด หรือทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกายเหยียดนิ้วใช้อุปกรณ์ดามนิ้วมือ
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เป็นการรักษาแบบชั่วคราวและมีข้อจำกัดคือไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็น หากนิ้วล็อคติดรุนแรงหรือพังผืดหนามากฉีดยาไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดโดยใช้วิธีการ"สะกิดนิ้วล็อค" ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ สอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ และใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติใช้เวลาไม่นานทิ้งแค่รอยผ่าตัดเล็กๆ เท่านั้น โดยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit