กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้รับรางวัล "Runners-up Best Paper" จากการนำเสนอบทความทางวิชาการหัวข้อ "การวิเคราะห์ความถี่ในการสั่นพ้องและรูปร่างการสั่นสะเทือนของคลิปยึดรางแบบยืดหยุ่น" ของ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ในงานประชุมวิชาการเครือข่าย
วิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 35 หรือ ME-NETT ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ระบุเป้าหมาย วว. มุ่งสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบรางที่มีประสิทธิภาพ พร้อมผลักดันให้เกิดการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ เสริมแกร่งอุตสาหกรรมคมนาคม ระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้ยั่งยืนศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. มีความภาคภูมิใจและยินดียิ่งที่บทความทางวิชาการ ของ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) หัวข้อ "การวิเคราะห์ความถี่ในการสั่นพ้องและรูปร่างการสั่นสะเทือนของคลิปยึดรางแบบยืดหยุ่น" ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ได้รับรางวัล "Runners-up Best Paper" ในงานประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 35 หรือ ME-NETT โดยบทความวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาพฤติกรรมการสั่นพ้องของคลิปยึดรางรถไฟ ซึ่งเป็นการวิจัยภายใต้ความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่าง วว. กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นำโดย ศ.ดร.ชาวสวน กาญจโนมัย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ ดร.นิติกร นรภัยพิพากษา ผู้ช่วยวิจัย ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงของคลิปยึดรางรถไฟที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของรถไฟ ซึ่งการคลายตัวของคลิปยึดรางอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถและความไม่สะดวกสบายของผู้โดยสาร ทั้งนี้ทีมวิจัยของ ศทร. และ มธ. ได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา และวิธีการในการพัฒนาคลิปยึดรางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการสั่นสะเทือนให้ที่ประชุมได้รับทราบด้วย"....ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. จะร่วมมือกับเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยนี้ ต่อยอดไปสู่ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญอื่นๆ ของงานด้านระบบราง อาทิเช่น รอยเชื่อมราง ล้อและเพลาล้อ โบกี้ ตู้รถไฟ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพและผลักดันให้เกิดการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างยั่งยืน..." ผู้ว่าการ วว. กล่าวดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้ ดร.วิชพงศ์ โสชู ผู้ช่วยวิจัยประจำ ศทร. วว. เข้าร่วมการนำเสนอบทความทางวิชาการใน
การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษา ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระดับชาติ รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย ทั้งนี้บทความที่ได้รับรางวัล "Runners-up Best Paper" มีจุดเด่นคือ นำเสนอเนื้อหาที่แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีนำสมัย และผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการฯ ด้วย "...แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสั่นสะเทือนของคลิปยึดรางนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาให้ผิวสัมผัสระหว่างรางและล้อมีความสม่ำเสมอเพื่อป้องกันแรงกระแทก และควรพิจารณาการปรับปรุงให้ความถี่สั่นพ้องของคลิปมีค่าสูงกว่า 1389 Hz อาจทำได้โดย ตัวอย่างเช่น การลดขนาดมวลลง ในขณะที่ยังสามารถรักษาค่าความแข็งเกร็งและแรงหนีบที่ตีนรางไว้ให้ได้เท่าเดิม..." ดร.อาณัติ หาทรัพย์ กล่าวสรุปศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและผู้ประกอบการ ในด้านการทดสอบรับรองคุณภาพ ด้านระบบขนส่งที่ครอบคลุมทั้งด้านระบบรางและส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่ง เช่น รถไฟขนส่งสินค้า รถไฟฟ้าในเมือง รถบรรทุกสินค้า ยานยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการในการทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนระบบราง นอกจากนี้ยังให้บริการทดสอบในส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่งทางถนนและทางน้ำ หรือการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal transport) เช่น รถบรรทุกสินค้า ยานยนต์ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ขนส่งสินค้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในระบบขนส่งและโลจิสติกส์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. ได้ที่ โทร.0 2577 9000 , 02577 9143 ต่อ 201 และ 304 E-mail :
[email protected]
https://www.tistr.or.th/rttc/ Facebook Page : https://www.facebook.com/RTTC.TISTR