HappyFresh ซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ ปิดดีลยักษ์ระดมทุน Serie D มูลค่าราว 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 2 พันล้านบาท พร้อมพุ่งทะยานธุรกิจตอกย้ำเจ้าตลาด E-Grocery ด้วยตัวเลขเติบโตขึ้นกว่า 20 เท่า
ล่าสุดจากการระดมทุนรอบ Serie D, HappyFresh ยังคว้ากลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ นำโดย Naver Financial Corporation และ Gafina B.V ตามด้วย STIC, LB และ Mirae Asset จากประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ อย่าง Mirae Asset-Naver Asia Growth Fund และ Z Venture Capital ที่ตบเท้าเข้าร่วมสมทบทุนเพิ่มใน Serie D ทำให้ในรอบนี้ HappyFresh ปิดดีลระดมทุน ได้เกินเป้าที่วางไว้ เหตุนักลงทุนเล็งเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ E-Grocery
โดยวิกฤตการณ์โควิดนั้น นับเป็นตัวเสริมอุปสงค์ให้ธุรกิจ E-Grocery พุ่งทะลุ ทะยานสูงสุดในรอบ 6 ปี โดยนับเป็นเวลากว่า 18 เดือน ตั้งแต่วิกฤตการณ์โควิด-19 ได้เริ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกต้องปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ดัน HappyFresh สู่ผู้นำการให้บริการซื้อและส่งของสดของใช้ออนไลน์ในอาเซียน ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากความต้องการของหลายพันครัวเรือนที่หันมาเลือกใช้บริการ HappyFresh ในการซื้อสินค้าของสดของใช้ อย่างสะดวกและปลอดภัย
นายเกียม ซาการ์ร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึงธุรกิจ E-Grocery ที่พุ่งทะยานนี้ว่า "เราตั้งเป้าหมายตั้งแต่เริ่มธุรกิจ เพื่อจะส่งมอบของสดของใช้ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกคน โดยตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ความทุ่มเทของเราได้พิสูจน์ถึงคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีเลิศ รวมถึงสร้างความไว้วางใจให้กับครัวเรือนต่างๆในทั้ง 3 ประเทศ ว่าทุกคนจะได้รับสินค้าที่สด และมีคุณภาพดีที่สุด และเรายังคงมุ่งมันที่จะให้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ ที่คัดสรรคุณภาพอันดีเยี่ยม เพื่อลูกค้าของเราเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่เราเริ่มต้นธุรกิจ"
ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ HappyFresh ยังคงแสดงศักยภาพเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมียอดการใช้งานแอปพลิเคชันและเว็บไซต์จาก 3 ประเทศในปี 2564 ที่เติบโตขึ้นกว่า 20 เท่า รวมถึงยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งจากลูกค้าใหม่ และลูกค้าเดิม เป็นการสร้างความเชื่อมันให้นักลงทุน และตอกย้ำถึงการเติบโตของตลาดและโอกาสในธุรกิจสินค้าประเภทของสด ของใช้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี
"พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมการจับจ่าย ความถี่ในการสั่งซื้อสินค้า และยอดซื้อสินค้าในแต่ละการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ การสั่งซื้อสินค้าส่วนใหญ่ยังมาจากการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ โดย HappyFresh ยังคงพัฒนาและขยายรูปแบบการชำระเงินเพื่อตอบรับกับวิถีชีวิตใหม่ให้มากขึ้น" นายเกียม กล่าว
อีกทั้งทิศทางธุรกิจออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อปรับรับสถานการณ์โรคระบาด ประกอบกับมูลค่าตลาดค้าปลีก 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 1.15 ล้านล้านบาท ปัจจัยเหล่านี้ล้วนตอกย้ำโอกาสทางธุรกิจของ HappyFresh ที่มีมูลค่ามหาศาล
นอกจากนั้น ตลาด E-Grocery ในเอเชียยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรม ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีรายได้ และกำลังซื้อสูง อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ก็มีการปรับตัว และมีความเข้าใจในการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของ HappyFresh ด้วย
ด้านแผนการลงทุน นายเกียม ได้กล่าวเสริมว่า "HappyFresh ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายตลาดไปยังพื้นที่ ที่มีศักยภาพอื่นๆ หวังให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั้งหมด โดยยังคงยึดถือคุณภาพ และมาตรฐาน ความปลอดภัยสูงสุดเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาพนักงาน Personal Shopper และพนักงานขนส่งสินค้า ถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญขององค์กร พวกเขาทำงานอย่างหนักหน่วงและไม่ย้อท้อ เพื่อช่วยเหลือ และตอบสนองความต้องการสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าทุกท่าน การลงทุนในรอบ Serie D นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางในบทใหม่ขององค์กร เราพร้อมและตื่นเต้นไปกับการเดินทางครั้งนี้" ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา HappyFresh ได้ขยายตำแหน่งงานมากขึ้นกว่านับพันตำแหน่ง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น
"เรายังคงมุ่งเน้นการให้บริการด้วยมาตรฐานความปลอดภัยอันดีเยี่ยม พร้อมกับการใช้งานที่สะดวกสบาย เป็นสำคัญ นอกจากนั้น เราพร้อมที่จะขยายพื้นที่ให้บริการร่วมกับพันธมิตรธุรกิจค้าปลีกที่เรามี ในทุกประเทศ ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพของเรา พร้อมกับพัฒนาประสิทธิภาพด้านการขนส่ง การควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างประสบการณ์การสั่งซื้อที่ดีให้กับลูกค้า สำหรับ HappyFresh เรามุ่งหวังที่จะจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าในสภาพที่สดใหม่ และรวดเร็วที่สุด และแน่นอนว่า ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงประสบการณ์การสั่งซื้อของสด ของใช้ ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วย" นายเกียมกล่าวเพิ่มเติม
นายเดวิด ลิม กรรมการผู้จัดการ HappyFresh ประจำประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "HappyFresh ยังคงมุ่งพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้า และรักษามาตรฐาน ความปลอดภัยของทุกการสั่งซื้อแม้ในช่วงวิกฤติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน QR code พร้อมเพย์ หรือการขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ของสินค้าให้ครอบคลุมกับความต้องการของคนไทย"
"ในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ เราได้เตรียมการขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ เพื่อตอบรับความต้องการของครัวเรือน และสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกครอบครัวจะสามารถเข้าถึง บริการสั่งซื้อและรับสินค้าที่บ้านได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังมีแผนขยายพื้นที่ให้บริการ HappyFresh ไปยังจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทย เพราะเราเชื่อว่า HappyFresh เป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ ให้ทุกครอบครัว สามารถเข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้"
HappyFresh ยังคงพัฒนาประสบการณ์การให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การใช้งานบนแพลตฟอร์ม และการเพิ่มจำนวนสินค้าให้มีความหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้บริการ HappyFresh สามารถเข้าถึงและตอบโจทย์ทุกครัวเรือนมากยิ่งขึ้น
"ด้วยทีมบริหารมืออาชีพ และรูปแบบการให้บริการที่แตกต่าง HappyFresh แสดงถึงศักยภาพขององค์กรที่จะนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกับพันธมิตรอื่นๆ แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก นอกจากนั้นเรายังมั่นใจว่ารูปแบบการใช้งานที่ง่ายและสะดวก ประกอบกับมาตรฐาน ความปลอดภัยจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้จ่ายซ้ำ และความภักดีต่อแบรนด์ รวมทั้งจะเป็นแรงผลักให้ HappyFresh เป็นผู้นำในตลาดในระยะยาว" นายปีเตอร์ นา, Director of Southeast Asia Investments ผู้ร่วมทุนจาก Naver และ กรรมการบริหาร HappyFresh ได้กล่าวไว้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit