สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิด 3 มาตรการช่วยเหลือกลุ่มฟรีแลนซ์ และผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 สาขา ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านโครงการ "CEA - COVID-19 Relief Programs" เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของคนทำงานและภาคธุรกิจ พร้อมเดินหน้าโครงการ CEA Creative Industries ชูศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยเติบโตไกล
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อ 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต้องสะดุดลง โดยข้อมูลผลประกอบการธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ CEA รวบรวมพบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสร้างสรรค์มีรายได้ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 26% อยู่ที่ 1.49 ล้านล้านบาท ทำให้อุตสาหกรรมต้องเผชิญการขาดทุนสุทธิรวม 1.74 หมื่นล้านบาท
สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ CEA ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy จึงได้เร่งปรับการทำงานของทั้งองค์กร ออกมาเป็นแผนช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ "CEA - COVID-19 Relief Programs" ซึ่งเป็นการดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่การจ้างงานนักสร้างสรรค์โดยตรง การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ ไปจนถึงการปรับกระบวนการทำงานขององค์กรทั้งระบบ ตั้งแต่การวางนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนการให้บริการที่มุ่งสู่ออนไลน์ เพื่อให้สามารถดำเนินมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ โครงการ "CEA - COVID-19 Relief Programs" ประกอบด้วยมาตรการ 3 หลัก คือ
1.การปรับบริการและกิจกรรมมุ่งสู่ออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง (Capacities Building) ให้ธุรกิจและนักสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการดำเนินการกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ รวม 4 กิจกรรมด้วยกัน ได้แก่
2. โครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยเฉพาะ ได้แก่ โครงการ "CEA VACCINE ร่วมสร้างสรรค์ …ภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจไทย"
CEA ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 15 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการกระตุ้นตลาดการจ้างงานตรงให้กับกลุ่มฟรีแลนซ์-เอสเอ็มอี รวมกว่า 1,200 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมาใน 3 ด้านหลัก คือ
3. การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เข้ามาแก้ปัญหาและความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ต้องเผชิญ (Endorsing Innovation, Technology & Design Thinking for Better Solutions) เพื่อให้ผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน เกิดความปลอดภัยในการใช้พื้นที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของอุปกรณ์ เครื่องมือ แพลตฟอร์ม 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
นอกจากการมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการและนักสร้างสรรค์จากผลกระทบของโควิด-19 แล้ว CEA ยังเร่งเครื่องสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจัดงาน"CEA Creative Industries 2021" ในเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 นี้ ซึ่งทาง CEA เป็นหน่วยงานหลักที่เชื่อมต่อความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 สาขา อาทิ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทยฯลฯ
ทั้งนี้ งาน"CEA Creative Industries 2021"เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยผ่านการจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การประกวดและมอบรางวัลให้แก่บุคลากรสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ การเสวนา การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การรวบรวมและพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา และการผลิตวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจพัฒนาผลงานสร้างสรรค์สู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cea.or.th FB: Creative Economy Agency
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit