รู้หรือไม่? การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ภาวะความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนน้อย รวมถึงการรับประทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโชนาการ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก
"ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์" ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เพจที่ให้ความรู้และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากตามหลักวิทยาศาสตร์ เผยว่า จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยากทั้งในและต่างประเทศ พบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงท้องยากมีหลากหลายสาเหตุ ซึ่งในบทความนี้ ขอสรุปรวบยอด 8 พฤติกรรมที่ยิ่งทำยิ่งทำให้มีบุตรยาก ไว้ดังนี้
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontier in Public Health เมื่อปี 2018 ศึกษาถึงผลของการทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการที่จะส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น (Influence of Diet on Fertility) โดย "โปรตีน" เป็นสารอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ที่ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่ตกปกติ และสำหรับคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว การทานโปรตีนเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มอัตราความสำเสร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย
ที่สำคัญต้องเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย คนบำรุงเตรียมท้องควรเลือกทานโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) โดยงานวิจัยศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ทาน โปรตีนจากพืช
ไขมันดี และวิตามินแร่ธาตุครบถ้วนมีความเสี่ยงเรื่องภาวะไม่ตกไข่ลดลงถึง 66%
ซึ่งผู้หญิงวางแผนท้องควรเลือกทานอาหารให้ได้ "สารอาหาร" ไม่ใช่จะทานอะไรก็ได้ แต่ต้องทานให้ครบ 5 หมู่และเลือกแหล่งสารอาหารที่ดี โดย "ครูก้อย" มีสูตรสำเร็จการทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ "เป็นโภชนาการของคนอยากท้องที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ กับ " 5 Keys to Success" ดังนี้ เพิ่มการทาน โปรตีนจากพืช ลดคาร์บขัดสี งดหวานเด็ดขาด ทานกรดไขมันดี เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
2. การทานของหวาน
ไม่ว่าจะเป็นน้ำหวาน น้ำอัดลม ชานมไข่มุก ขนมหวาน เบเกอรี่ต่างๆ รู้หรือไม่? ว่า ร่างกายเราไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำตาลเพิ่มเลยในแต่ละวัน การที่เรากินแป้ง กินข้าว หรือผลไม้เราก็ได้รับน้ำตาลอยู่แล้วเพราะร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่ง "น้ำตาลคือภัยร้ายที่สุด" มันคืออนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ ทำให้แก่ ทำให้เซลล์ไข่เสื่อม และด้อยคุณภาพ
การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะ "กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน" ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งจะส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็ก ด้อยคุณภาพ
มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการดื่มคาเฟอีนมากกว่า 250 mg ต่อวันส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 45% ซึ่งกาแฟหนึ่งแก้วมีปริมาณคาเฟอีนประมาณ 250-300 mg ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดกาแฟและเลี่ยงการดื่มไม่ได้ ควรดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้วเท่านั้น
หากอยากท้องควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไวน์ เบียร์ หรือ เหล้า
จากงานวิจัยศึกษาพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 60%
การออกกำลังกายเป็นการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ใน้เกณฑ์ปกติ ไม่อ้วน หรือ ผอมเกินไป ช่วยให้เลือดไหลเวียน ฮอร์โมนสมดุล ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีโดยรวม สำหรับผู้หญิงที่อยากท้อง การออกกำลังกายสำคัญมากเพราะจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงให้ปกติ และปรับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยมีงานวิจัยศึกษาผู้หญิงที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25) ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ ฮอร์โมนไม่สมดุล หากใช้กระบวนการทางการแพทย์รักษาจะมีอัตราความสำเร็จต่ำกว่ากลุ่มที่น้ำหนักปกติ ยิ่งถ้าค่า BMI อยู่ในระดับ 30 ส่งผลต่อการแท้งบุตรมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้จากงานวิจัยพบว่า คนอ้วนฮอร์โมนจะไม่สมดุล ก่อให้เกิด PCOS "ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง"เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ ท้องยากกว่าคนน้ำหนักปกติถึง 2 เท่า!
กรณีที่ผอมเกินไป
สังเกตคนที่ผอมเกินไป หรือ คนที่ลีนเกินไป จนทำให้เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เพราะไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศ แต่เน้นเฉพาะไขมันดี ไม่นับรวม ไขมันทรานส์ (TRANS FAT)ที่เป็นตัวเพิ่มคอเรสเตอรอลไม่ดี (LDL) และไตรกรีโซไลด์ ซึ่งจะไปลดคอเรสเตอรอลชนิดดี (HDL) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat อยู่ที่อย่างน้อย17-19 %
การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อเครียดฮอร์โมนความเครียด หรือ ที่เรียกว่า "คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และมันก็จะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเอง
รู้ไหมหรือไม่ยิ่งเครียดเท่าไหร่ ยิ่งท้องยากขึ้น! จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีความกังวลและจมกับความเครียดส่งผลให้ตั้งครรภ์ยากสูงถึง 20% มีผลวิจัยชิ้นหนึ่งได้สุ่มทดลองกับผู้หญิงที่อยากมีบุตรจำนวน 501 คน โดยนำน้ำลายไปตรวจสอบเพื่อวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และแอลฟา-อะไมเลส (Alpha-amylase) สารสำคัญ 2 ชนิดที่จะสื่อได้ว่า เรามีความเครียดมากน้อยแค่ไหน ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ถูกค้นพบว่ามีสารสำคัญ 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่สูง แปลได้ว่ามีความเครียดพอสมควร จะมีแนวโน้มตั้งครรภ์ยากตามไปด้วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อผู้หญิงเกิดความเครียด การตกไข่ก็จะผิดปกติ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และเมื่อไข่ไม่ตก โอกาสท้องก็ลดน้อยลงนั่นเอง
ดังนั้น ผู้หญิงที่อยากท้องต้องหาโอกาสผ่อนคลาย ลดความเครียด หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ปลูกต้นไม้ ดูซีรี่ย์ โยคะ นั่งสมาธิ เป็นต้น
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารClinical Medicine Insight Women's Health เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า การทานวิตามินเสริมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสตรีเตรียมตั้งครรภ์ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีลูกยาก การทานวิตามินเสริมนั้นต้องทานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอพร้อมที่สุดเพื่อส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิง "มีลูกง่ายขึ้น" แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation) เพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ( fertilization) เพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนที่มีประสิทธิภาพ (implantation) เสริมการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ (embryo development) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์
โดยวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ที่จำเป็น ได้แก่
ดังนั้นผู้หญิงที่อยากท้อง แต่ไม่ท้องสักที และมีพฤติกรรมที่เข้าข่าย 8 พฤติกรรม ยิ่งทำ ยิ่งมีบุตรยาก!
ที่กล่าวมาข้างต้น ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์และเพิ่มโอกาสที่จะมีครรภ์ที่สมบูรณ์ เลือกทานอาหารที่หลากหลายได้สารอาหารครบ 5 หมู่ งดหรือลดการทานของหวาน งดหรือลดการทานชากาแฟ งดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหมจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเคลียด และที่สำคัญควรเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำหรับเตรียมตั้งครรภ์ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/product/ovaall/ หรือปรึกษาเรื่องการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้บุตรยาก เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางแพทย์ได้ที่ไลน์แอด @babyandmom.co.th "ครูก้อย" นัชชา ลอยชูศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit