"ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่น เป็นภาวะความไม่สมบูรณ์ของเซลล์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดา และส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์หากคุณแม่ได้รับสารพิษ สารเคมีบางอย่าง สูบบุหรี่จัด หรือ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รวมถึงมีภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดกรดโฟลิคขณะตั้งครรภ์ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของลูก เมื่อคลอดออกมาก็อาจมีอาการขาดแหว่งของอวัยวะบางส่วนหรือทั้งหมดทุกส่วนก็เป็นได้ แม้เด็กเหล่านี้สมองจะปกติ แต่พัฒนาการจะช้าเนื่องจากไม่กล้าพูดคุย ตั้งแต่เด็กจนโตและเป็นปมด้อยในใจ ดังนั้นการรักษาจึงมีกรอบเวลา เช่น หากเด็กได้รับการรักษาตอนอายุ 7-8 ปี การรักษาจะช้าไป และแก้ไขได้ไม่ดี ถึงแม้ว่าจะปิดเพดานโหว่แล้วก็ยังพูดไม่ชัดไปตลอดชีวิต เพราะเด็กก็จะคุ้นเคยกับการที่เพดานโหว่ ดังนั้นเด็กที่มีภาวะปากแหว่งจึงควรได้รับการรักษาตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ส่วนภาวะเพดานโหว่ควรได้รับการรักษาตั้งแต่อายุ 9 เดือนขึ้นไปแต่ต้องไม่เกิน 1 ปีครึ่ง"
ด้วยตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จึงได้เริ่มโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นขึ้น ในปี พ.ศ.2541 โดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ได้ออกหน่วยให้บริการแก่ผู้ป่วยยากไร้โดยไม่คิดมูลค่าปีละ 6 จังหวัด ครั้งละ 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นโครงการเชิงรุกที่เข้าค้นหาผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสและนำตัวเข้ารับการผ่าตัด โดยแต่ละจังหวัดจะผ่าตัดเฉลี่ย 50 รายต่อครั้ง และบางจังหวัดมีจำนวนกว่า 100 ราย จนปัจจุบันมีจำนวนผู้รับบริการรวมกว่า 6,000 ราย ซึ่งตกปีละประมาณ 300 ราย
สภากาชาดไทย โดยสำนักงานจัดหารายได้ จึงขอเชิญชวนท่านผู้มีจิตกุศลทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการคืนรอยยิ้มให้เด็กๆ ที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงการรักษาได้กลับมามีคุณภาพชีวิตใหม่และรอยยิ้มที่สดใส เพราะนอกจากพวกเขาจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit