โอเรียนท์ สตาร์ ประกาศเปิดตัวนาฬิการุ่นเปลือย สเกเลตันอันเป็นเอกลักษณ์จากคอลลเลคชั่นรุ่นคลาสสิก นำเสนอแบบการเคลื่อนไหวใหม่ใช้การไขด้วยมือ พร้อมแบตเตอรี่ยาวนานถึง 70 ชั่วโมง นวัตกรรมนาฬิการุ่นใหม่นี้ผสมผสานองค์ประกอบการออกแบบแบบสุดคลาสสิกเข้ากับเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อระลึกถึง 70 ปีแห่งการผลิตนาฬิกาของโอเรียนท์ สตาร์
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในปี 1951 โอเรียนท์ สตาร์มุ่งมั่นที่จะสร้างนาฬิกากลไกที่จะกลายเป็น "ดวงดาวส่องแสง" ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แบรนด์ได้ผลิตนาฬิกา Made-in-Japan คุณภาพสูง ที่ผสานเอางานฝีมือแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการผลิตนาฬิกาล่าสุด และในโอกาสฉลองครบรอบ 70 ปีนี้ โอเรียนท์ สตาร์ จึงได้เปิดตัวนาฬิการุ่นใหม่ที่มีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ ในธีม " NOWHERE, Now Here" ที่หมายถึง "ไม่มีที่ไหนที่จะหาได้อีกแล้ว แต่คือที่นี่... ณ ตอนนี้"
รุ่นกึ่งเปลือย (Semi Skeleton) เผยให้เห็นกลไกของนาฬิกาผ่านหน้าปัดแบบเปิด ในขณะที่รุ่นเปลือย (Skeleton) แสดงการทำงานทั้งหมดของนาฬิกาโดยละเอียดของ ซึ่งทำได้โดยเผยให้เห็นเพียงโครงสร้างแผ่นฐาน สะพานและส่วนประกอบของตัวเครื่อง ด้วยการออกแบบที่โดดเด่นของนาฬิกากลไกอันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบนาฬิกาทั่วโลก โดยตัวเครื่องแบบเปลือยได้เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และตอนนี้ถือเป็นปีที่ 30 ของชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำมากกว่าร้อยชิ้น ที่ประกอบขึ้นด้วยมือโดยช่างทำนาฬิกาที่มีความทุ่มเทและมีความเชี่ยวชาญใน Akita อันถือเป็นบ้านเกิดของโอเรียนท์ สตาร์ โดยแท้
ตัวเครื่องล่าสุดของซีรีส์ 46-F8 (F8B62 และ F8B63) มีการสำรองพลังงานที่ยาวนานขึ้นถึง 70 ชั่วโมงซึ่งมากกว่า 50 ชั่วโมงของรุ่นปัจจุบัน ทำให้ใช้งานได้ดีกว่าที่เคย เมื่อสปริงหลักถูกไขจนสุด สามารถถอดนาฬิกาออกได้ในคืนวันศุกร์และยังคงมีพลังงานมากพอที่จะทำงานต่อไปจนถึงเช้าวันจันทร์ โดยให้เวลาในการเดินได้นานขึ้นด้วยเฟืองปล่อยที่ทำจากซิลิคอนรุ่นใหม่ (Silicon escape wheel) ซึ่งมีน้ำหนักเบาและประมวลผลด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทพลังงานของล้อกระเดื่อง
เฟืองปล่อยซิลิคอนใหม่ พร้อมกลไกสปริงได้รับการพัฒนาขึ้นโดยโอเรียนท์ สตาร์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี MEMS ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตของหัวพิมพ์ที่มีความแม่นยำสูงของเอปสัน(Epson) เดือยที่มองเห็นได้ผ่านโครงสร้างของนาฬิกาแบบเปลือย ใช้เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ของเอปสันในการควบคุมความหนาของฟิล์มที่ระดับนาโนเมตร เพื่อปรับการสะท้อนแสงทำให้เป็นสีน้ำเงินที่สะดุดตา สดใส และรูปทรงเกลียวอันเป็นเอกลักษณ์ทำให้เกิดเป็นกาแล็กซี่ทางช้างเผือกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธีมการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจักรวาลในโอกาสครบรอบ 70 ปีของโอเรียนท์ สตาร์
รายละเอียดที่ซับซ้อนและความเชี่ยวชาญในตัวเครื่องจักรแบบเปลือยที่สามารถมองเห็นได้ผ่านหน้าปัดแบบเปิด ไม่ได้ทำให้คุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานของนาฬิกาลดลง ตัวเครื่องของซีรีส์ 46-F8 ใหม่ มีเวลาในการทำงานที่ยาวนานขึ้นและมีความแม่นยำสูงถึง +15 ถึง -5 วินาทีต่อวัน แม้จะเป็นโครงการสร้ากลไกแบบเปลือยเปล่าก็ตาม ส่วนตัวครื่องที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา ได้รับการออกแบบในรูปทรงของดาวหางที่มีสองหาง เพื่อตอกย้ำถึงธีมจักรวาลของโอเรียนท์ สตาร์ให้เด่นชัดขึ้น
นอกจากนี้ยังมีลวดลายที่ตัดกันอย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเครื่อง - รูปแบบเกลียวบนหน้าปัดและลายคลื่นที่ด้านหลังตัวเรือนและส่วนประกอบที่มีการลบมุมอย่างประณีตช่วยส่องประกายความหรูหรา การตกแต่งที่มีรายละเอียดอย่างอันน่าทึ่งแสดงให้เห็นถึงงานฝีมือระดับสุดยอดปรมาจารย์ของโอเรียนท์ สตาร์ พร้อมการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนทั้งสองด้านด้วยคริสตัลแซฟไฟร์โค้งคู่ ช่วยให้ผู้สวมใส่มองเห็นทุกรายละเอียดอันซับซ้อนของตัวเครื่องคุณภาพสูงนี้ ถือเป็นความสุขที่แท้จริงของแฟนนาฬิกากลไกทุกคน
โอเรียนท์ สตาร์ รุ่นใหม่ มีให้เลือกสองสี ได้แก่ หน้าปัดสีแชมเปญตัวเครื่องเครื่องสีทอง และหน้าปัดสีขาวตัวเครื่องสีเงิน ตัวเรือนของทั้งสองรุ่นใช้สแตนเลสสตีลคุณภาพสูง SUS316L และมาพร้อมกับสายหนังจระเข้แท้แบบเย็บด้วยมือสุดปราณีต
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit