ก.แรงงาน ผลิต "พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์" ช่องทางอาชีพยุค New Normal

21 Dec 2020

รมช.แรงงาน ปลื้ม กพร. ผลิต "พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์" เพิ่มช่องทางสร้างอาชีพยุค New Normal เขตคันนายาว การันตีอาชีพอิสระสอดรับยุคใหม่ ครอบคลุมทุกพื้นที่

ก.แรงงาน ผลิต "พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์" ช่องทางอาชีพยุค New Normal

ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ ณ สำนักงานเขตคันนายาว พร้อมชมการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ การทำเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ การสานตะกร้าพลาสติก การทำสายคล้องแมส นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรองความรู้ความสามารถ ให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารออมสิน และการให้คำปรึกษาด้านการประกอบธุรกิจ จากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้แก่ประชาชนในเขตคันนายาวกว่า 100 คน ณ โรงเรียนผู้สูงอายุคุณตาคุณยาย เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร โดยมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้บริหาร ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในการประกอบอาชีพท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ต้องการเห็นพี่น้องประชาชนทุกคนมีอาชีพ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด จึงเป็นหนึ่งในภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ในการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ ด้วยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะฝีมือ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ตามแนวคิด สร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยการ "สร้าง" อาชีพใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น "ให้" โอกาสแก่ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้ามาเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ โดยวันนี้ได้มอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เป็นอาชีพที่สามารถทำได้ง่าย สามารถทำได้ทุกที่ ลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างพนักงาน รวมทั้งสามารถเปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบกับนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคมของรัฐบาล จึงทำให้การขายสินค้าออนไลน์มีบทบาทมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ในแต่ละปี ที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นผู้ค้ารายใหญ่หรือรายย่อยก็ตาม เริ่มเปลี่ยนการซื้อ-ขายมาสู่ระบบการค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ โดยมีความมุ่งมั่น ให้ประชาชนเข้าถึงบริการตามภารกิจของหน่วยงานอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเป็นช่องทางทำธุรกิจ และสร้างรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาทักษะและเทคนิคต่างๆ ไปต่อยอดการพัฒนาตนเองได้ การฝึกอบรมการขายสินค้าออนไลน์ มีระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง ในครั้งนี้ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร อบรมระหว่างวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2563 เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย การเรียนรู้เรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดร้านค้าออนไลน์ เทคนิคการคัดเลือกสินค้าเพื่อการจำหน่ายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเทคนิคการคัดเลือกสิ้นค้าเพื่อการจำหน่ายนั้น ผู้เข้าอบรม จะเรียนรู้ตั้งแต่การสำรวจความต้องการของผู้บริโภค สำรวจตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคนิคการตั้งชื่อสินค้าและการถ่ายภาพสินค้าเพื่อจำหน่ายบนออนไลน์

HTML::image(