ศจ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาเปิดงานเสวนาเชิงปฏิบัติการณ์โครงการ"สื่อคุณธรรม สร้างคนดี มีนวัตกรรม ครั้งที่ 1"จัดโดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรมวุฒิสภา โดยได้รับเกียรติจาก มหรรณพ เดชวิทักษ์ กล่าวถึงโครงการฯ สรโชติอำพันวงษ์เป็นประธานคณะทำงานและมีผู้ทรงคุณวุฒิ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล นาวาอากาศเอกฐากูร เกิดแก้ว บุญชุบ บุ้งทอง ระวีตะ วันธรงค์ ฯลฯ ร่วมบรรยายให้ความรู้ ซึ่งมีเหล่าเยาวชนนักเรียน-นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมรับฟังพร้อมกับจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมอวกาศ และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อสมดุลระบบนิเวศ รวมถึงมีกิจกรรมเวิร์คช้อปในการผลิตสื่อคุณธรรมด้านสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในวงกว้างและรวดเร็วในแนวคิดสร้างคนดี มีนวัตกรรม ณ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยากล่าวว่า "ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีการพัฒนานวัตกรรมสื่อเทคโนโลยีด้านอวกาศมาเป็นเวลานาน ดังเช่นในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ในรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยสามารถประกอบเรือบิน และยุคปัจจุบัน ไทยมีสถาบันอวกาศ GISTDA และมีดาวเทียมที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประทานชื่อ "ไทยโชต"ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประเทศไทยเราได้มีการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในด้านนี้มาอย่างต่อเนื่องโดยงานครั้งนี้อยู่ในโครงการ สื่อคุณธรรม สร้างคนดี มีนวัตกรรม ครั้งที่ 1 จึงขอเริ่มต้นด้วยการนำเรื่องการพัฒนานวัตกรรมอวกาศมาผสานกับการสร้างสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างสื่อคุณธรรมให้เยาวชนไทยเป็นคนดีและคนเก่ง โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมอวกาศ และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อสมดุลระบบนิเวศ และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงกิจกรรมเวิร์คช้อปให้นักเรียน-นักศึกษา ได้ลงมือปฏิบัติจริงในเรื่องการสร้างคลิปวิดีโอด้วยสมาร์ทโฟนซึ่งมีโจทย์พาชมนิทรรศการที่จัดขึ้น เพื่อสื่อสารไปยังสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลที่เข้าถึงผู้คนทุกระดับในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มจะกลายเป็นสื่อหลักสำหรับผู้คนในอนาคต
งานในวันนี้น้องๆ เยาวชนไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างมีความหวังและความสุขที่ประเทศไทยจะมีการพัฒนาเกี่ยวกับอวกาศให้ก้าวไกลไปมากกว่าเดิม และภายในงานเสวนาได้มีการจัดกิจกรรมการฝึกถ่ายคลิปเพื่อโปรโมทการทดลองการประกอบจรวดด้วยมือ กิจกรรมส่องกล้องดูดาว การฝึกขับเครื่องบินจำลอง และได้ชมนิทรรศการจากสถาบันทางวิทยาศาสตร์จากหลากหลายสถาบันที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ดีมาให้น้องๆ ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
มุมมองของนักเรียน-นักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรมวิวรรษธร ฐิตสิริวิทย์จากศูนย์การเรียนรู้SpaceACโรงเรียนอัสสัมชัญ"สำหรับศูนย์การเรียนรู้ของเราจะมีหลายด้านทั้ง แคนแซท (ดาวเทียมขนาดกระป๋อง) นาโนแซตเทิลไลท์ (ดาวเทียมขนาดเล็ก) ในอนาคตอยากให้มีการพัฒนาในสิ่งที่เรามีอยู่ให้มีสเกลที่กว้างและใหญ่มากขึ้นสามารถใช้ได้จริง และเปิดโอกาสให้กับคนที่ชื่นชอบและฝันที่อยากทำงานเกี่ยวกับอวกาศสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้มากขึ้น"
เศรษฐสิทช์ เศรษฐการุณย์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์"ผมคิดว่าวิทยาศาสตร์ในยุคนี้เน้นเรื่องAI และเทคโนโลยีอวกาศในส่วนตัวอยากให้เทคโนโลยีและการวิจัยทั้งสองอย่างนี้ดำเนินต่อไปมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง"
กุลนันท์ แสนทวีสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจแฟชั่นนานาชาติ (IFB) "งานเสวนาครั้งนี้น่าสนใจมากๆ อยากให้เรื่องอวกาศไทยและนวัตกรรมที่คนไทยเราสามารถทำได้เผยแพร่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งอาจจะสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดีย" เอมิกา โชติวิท โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์"หนูได้เห็นผลงานและสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ของโรงเรียนต่างๆ ที่มาจัดแสดงในงานนี้ ตัวหนูก็ได้ลองไปประกอบกล้องโทรทัศน์ ซึ่งค่อนข้างยากแต่ได้เพื่อนจากต่างโรงเรียนมาช่วยค่ะ ทำให้รู้จักเพื่อนต่างโรงเรียนด้วยค่ะ วันนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเด็กไทยก็มีความสามารถด้านนวัตกรรมด้านอวกาศหากได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกคนไปได้ไกลแน่นอนค่ะ"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit