วศ.ร่วมกับ
จังหวัดสมุทรสงคราม สนง.
สภาเกษตรกรแห่งชาติ แก้ปัญหาการปล่อยน้ำเสีย ผู้ประกอบการแปรรูป
มะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวผลิตมะพร้าวขาวทำลายแหล่งน้ำ
ธรรมชาติ เปิดเทคโนโลยีระบบ
บำบัดน้ำเสียต้นทุนต่ำเป็นระบบ
ต้นแบบ สำหรับผู้แปรรูปมะพร้าวขาวช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม นำร่องที่จังหวัดสมุทรสงคราม ใน 3 โมเดล ผลงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียจากขบวนการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาว 3 แบบ แบบดัดแปลงจากร่องสวน แบบบ่อซีเมนต์ แบบถังสำเร็จรูป ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีผู้ประกอบการแล้ว 7 สถานประกอบการ มีผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 150 คน ปี 2564จะเพิ่มอีก 3 สถานประกอบการนายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย สร้างรายได้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจปีกว่า 20,000ล้านบาท มีการส่งออกกะทิในปี 2562 มากกว่า 1.2 ล้านบาท และไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณผลิตมะพร้าวมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยอันดับหนึ่งเป็นประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งประเทศของไทย มีจำนวน 1,299,799 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 419,833 ไร่ (ร้อยละ 32) จังหวัดชุมพร 205,764 ไร่ (ร้อยละ 15) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 198,714 ไร่ (ร้อยละ 15) จังหวัดนครศรีธรรมราช 97,137 ไร่ (ร้อยละ 7) จังหวัดปัตตานี 78,529 ไร่ (ร้อยละ 6) จังหวัดชลบุรี 62,336 ไร่ (ร้อยละ 5) จังหวัดนราธิวาส 50,637 ไร่ (ร้อยละ 4) จังหวัดสมุทรสงคราม 47,639 ไร่ (ร้อยละ 3) เป็นต้นอย่างไรก็ตามการปัญหาในอุตสาหกรรมทำเนื้อมะพร้าวขาว ในบางท้องถิ่นจะมีการปล่อยน้ำเสียจากการแช่เนื้อมะพร้าวลงสู่แหล่งน้ำก่อให้เกิดมลพิษต่อส่งแวดล้อม จากกรณีศึกษาในจังหวัดสมุทรสงครามกิจการการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวของล้งมะพร้าว วิสาหกิจชุมชนและครัวเรือนกำลังเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างมากที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม การขยายตัวดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในขบวนการผลิตมะพร้าวขาวนั้นก่อให้เกิดน้ำเสียปริมาณมากในแต่ละวัน น้ำเสียจากการแช่ การล้างเนื้อมะพร้าว ถูกปล่อยลงสู่คลองสาธารณะที่ไม่ได้รับการบำบัดก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำส่งกลิ่นเหม็น จากปัญหาดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ได้รับการประสานจากสภาเกษตรจังหวัดสมุทรสงครามหาแนวทางพัฒนาและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาว จากการลงสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวมีน้ำเสียจากการแช่ การล้างมะพร้าวขาววันละประมาณ 500 - 7,000 ลิตร บางสถานประกอบการปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองในร่องสวนที่เชื่อมต่อกับคลองสาธารณะโดยไม่ได้รับการบำบัด หลายสถานประกอบการมีการสร้างบ่อพักน้ำเสีย บ่อดักไขมัน บ่อบำบัด ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาว 3 แบบ ด้วยการผสมผสานวิธีทางกายภาพ และทางเคมี โดยเน้นวิธีการเดินระบบง่ายเพื่อให้การแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวเป็นกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียวที่มั่งคงและยั่งยืนแบบ 1: ดัดแปลงจากร่องสวน ระบบนี้เหมาะสมกับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่เป็นร่องสวนอยู่แล้ว มีงบประมาณน้อย และมีปริมาณน้ำเสียวันละ4,000 ลิตร ขึ้นไป และสามารถปรับให้รองรับน้ำเสียได้สูงถึงวันละ 10,000 ลิตรแบบ 2: บ่อซีเมนต์ ระบบนี้เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่มาก มีงบประมาณมากพอ และมีปริมาณน้ำเสียวันละ 3,000 ลิตรขึ้นไป สามารถปรับรองรับน้ำเสียได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการแบบ 3: ถังสำเร็จรูป แบบนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่สำหรับวางระบบในสถานประกอบการ มีงบประมาณน้อย และมีปริมาณน้ำเสียไม่เกินวันละ 2,000 ลิตรเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวถูกนำมาใช้จริงในหลายพื้นที่ในปีงบประมาณ 2561 ถึง 2563 ถ่ายทอดเทคโนโลยีในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี จำนวน 7 สถานประกอบการ มีผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 150 ราย สำหรับปีงบประมาณ2564 มีแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 3 ประกอบการ