ดีอีเอส ห่วงผู้ใช้โซเชียลตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แนะแนวทางป้องกัน 5 ข้อ เรียกร้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชนร่วมมือแก้ไขปัญหา รวมทั้งผู้พัฒนาระบบ ได้แก่ กูเกิล และแอปเปิ้ล กลั่นกรองปิดกั้นแอปผิดกฎหมาย
นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า แนวโน้มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สร้างความเสียหายในวงกว้าง ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นภัยใกล้ตัวเข้ามาเรื่อยๆ เนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น ในรูปแบบแอปพลิเคชันผิดกฎหมายบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ดาวน์โหลดมาใช้งาน ก็จะถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทุกอย่างที่จัดเก็บไว้ในมือถือได้ทันที
ดังนั้น ในเบื้องต้นอยากแนะนำประชาชนทั่วไปเพื่อให้ลดโอกาสเสี่ยงที่จะกลายเป็นเหยื่อ โดยมีแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ 5 ข้อ ได้แก่
"ล่าสุดที่มีประชาชนจำนวนมาก ตกเป็นเหยื่อแอปเงินกู้เถื่อน เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดเจนว่า การที่อนุญาตให้แอปเข้าถึงข้อมูลเพื่อที่จะดำเนินการกู้เงิน ผลที่ตามมาร้ายแรงกว่าที่คิด เพราะผู้ร้ายจะเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของเราได้ เช่น รูปภาพ เบอร์โทรศัพท์ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ และนำข้อมูลนั้นมาข่มขู่หรือรบกวนผู้กู้ และผู้ที่รู้จักภายหลังได้ ข้อมูลที่ผู้ร้ายได้ไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้อีก" นายภุชพงค์กล่าว
นายภุชพงค์ กล่าวว่า บทบาทของกระทรวงฯ ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชันผิดกฎหมาย ยังมุ่งเรื่องการตรวจสอบเป็นหลัก เพราะแอปที่เปิดให้บริการอยู่ในประเทศไทย มีการยื่นขอเปิดไปทางผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการมือถือ ได้แก่ แอปเปิ้ล และกูเกิล จึงเป็นข้อจำกัดของกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเพจอาสาจับตาออนไลน์ ที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ และรับแจ้งเบาะแสจากประชาชนว่า แอปพลิเคชันใดที่เข้าข่ายหลอกลวงหรือผิดกฎหมายในข้อต่างๆ สามารถแจ้งเข้ามาได้ทาง inbox คลิก m.me/DESMonitor โดยจะมีทีมงานของกระทรวงฯ และของเพจช่วยกันจับตา ตรวจสอบ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
"นอกเหนือจากมาตรการทางเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ต้องดำเนินการ หรือมาตรการทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องผลักดันกฎหมายต่างๆ แล้ว มาตรการสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้นั้น คือมาตรการด้านความร่วมมือกับระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้พัฒนาระบบหรือผู้กำหนดนโยบาย" นายภุชพงค์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงาน เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ จนถึงสิ้นเดือน ก.พ. 64 ดำเนินการยื่นคำสั่งต่อศาล เพื่อขอให้มีคำสั่งระงับการแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายไปแล้ว 561 คำสั่ง รวมทั้งสิ้น 20,588 ยูอาร์แอล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit