VGP20 มือจับสุญญากาศระบบไฟฟ้ารุ่นใหม่มอบประสิทธิภาพอันทรงพลังและการทำงานแบบอเนกประสงค์ พร้อมรับมือการจัดวางสินค้าน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่ และเป็นพื้นผิวรูพรุนขึ้นบนแท่นสินค้า
ออนโรบอต (OnRobot) นำเสนอกลไกมือจับรุ่นใหม่ VGP20 gripper สำหรับการรับมือกับสินค้าที่ยากต่อการหยิบจับและจัดวางบนแท่นสินค้า อาทิ ถุงอาหารสุนัข เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือห่อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้กันอากาศเข้า VGP20 ถือเป็นกลไกมือจับสุญญากาศระบบไฟฟ้าที่ทรงพลังมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน โดยสามารถติดตั้งใช้งานกับหุ่นยนต์ของแบรนด์ชั้นนำได้ทุกรุ่นและรับน้ำหนักบรรทุกได้มากถึง 20 กิโลกรัม (44.09 ปอนด์) จึงประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย นับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงเภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม
"ลูกค้าของเราต่างเรียกร้องกลไกมือจับสุญญากาศที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและติดตั้งใช้งานง่าย ซึ่งสามารถหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากได้ ทั้งยังต้องฉลาดพอในการรับมือกับสิ่งของที่มีรูปแบบหลากหลาย รวมถึงสิ่งของที่มีรูปทรงแปลก ๆ และพื้นผิวเป็นรูพรุน" เอนริโก คร็อก ไอเวอร์เซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ออนโรบอต กล่าว "VGP20 ผสานพละกำลัง ความชาญฉลาด และความง่ายในการใช้งาน ซึ่งเหนือกว่ามือจับระบบอัดอากาศรุ่นอื่น ๆ ซึ่งมีราคาแพงและซับซ้อน"
การปฏิบัติงานช่วงสุดท้ายอย่างเช่นการจัดเรียงสินค้าบนแท่นวางสินค้า ถือเป็นงานหนักที่ต้องใช้ทั้งกำลังคนและต้นทุนที่สูงมาก นักวิจัยประเมินว่า โดยเฉลี่ยต้นทุนค่าแรงงานคิดเป็น 65% ของงบประมาณการดำเนินงานคลังสินค้า ซึ่งจะส่งผลถึงความจำเป็นในการจำกัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าน้ำค่าไฟ ภาษี การกระจายสินค้า และค่าเช่า
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าระบบอัตโนมัติถือเป็นข้อเสนอภาคบังคับสำหรับบริษัททุกขนาด โดยมีกลุ่มนักวิจัยนำเสนอข้อมูลว่า การใช้โซลูชั่นการจัดเรียงสินค้าบนแท่นวางสินค้าแบบอัตโนมัติในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ประเมินว่าสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ได้มากกว่า 13% นับตั้งแต่ปี 2017 และจะมีมูลค่าถึง 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2022
VGP20 ลดต้นทุนกว่า 90% เมื่อเปรียบเทียบกับมือจับระบบอัดอากาศรุ่นอื่น
กลไกมือจับสุญญากาศระบบไฟฟ้ารุ่นใหม่ VGP20 ของออนโรบอต สามารถรับมือกับการทำงานซึ่งเดิมทีต้องใช้มือจับระบบอัดอากาศพลังสูง ด้วยต้นทุนเพียงเศษเสี้ยวและยังซับซ้อนน้อยกว่ามาก
ในขณะที่มือจับระบบอัดอากาศรุ่นอื่นต้องอาศัยแรงอัดอากาศในการทำงาน VGP20 ใช้ระบบไฟฟ้าและสามารถแกะออกจากกล่องพร้อมติดตั้งใช้งานได้ทันที ช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานและการดูแลรักษาถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้มือจับระบบอัดอากาศแบบเดิม ๆ
กลไกมือจับรุ่น VGP20 นำเสนอตัวเลือกถ้วยดูดสุญญากาศหลากหลายไม่จำกัดและการปรับแต่งระบบไหลของอากาศได้ตามความต้องการ รวมถึงการใช้งานได้หลายช่องทาง ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้กับสินค้าหลากหลายขนาดและรูปทรง
นอกจากนี้ ระบบอัจฉริยะที่ฝังมาในมือจับรุ่น VGP20 ร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้สามารถควบคุมการไหลของอากาศได้อย่างแม่นยำซึ่งมือจับระบบอัดอากาศแบบเดิม ๆ ไม่สามารถทำได้ ด้วยความสามารถนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดอุปกรณ์ชิ้นส่วนมือจับที่แตกต่างกันได้ตามประเภทของงาน เช่น มือจับแบบนุ่มสำหรับการหยิบจับชิ้นงานที่ละเอียดอ่อน ไปจนถึงมือจับแบบแข็งที่จำเป็นสำหรับการยกกล่องกระดาษแข็งขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากและพื้นผิวเป็นรูพรุน
อุปกรณ์มือจับหุ่นยนต์ถูกใช้งานแพร่หลายขึ้นในเอเชีย
ตลาดอุปกรณ์มือจับหุ่นยนต์ทั่วโลกถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ราว 15% นับจากปี 2021 ถึง 2026 เมื่อมีการใช้งานระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีการเติบโตสูงสุดเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอุตาหกรรมที่รวดเร็ว รวมไปถึงการใช้งานหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้นและการริเริ่มนโยบายอุตสาหกรรม 4.0
ประเทศไทยมีการลงทุนไปแล้วกว่า 167 พันล้านบาทกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งรวมถึงการผลิตอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์นับตั้งแต่ปี 2018
เจมส์ เทย์เลอร์ ผู้จัดการทั่วไป ออนโรบอต ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เรายิ่งเห็นถึงการริเริ่มนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ กำลังร่างนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกำลังการผลิตภายในประเทศ เรามุ่งมั่นส่งเสริมผู้ผลิตอุตสาหกรรมให้หันมาใช้ระบบอัตโนมัติซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายด้วยโซลูชั่นอัจฉริยะมากมายของเรา ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานเช่นเดียวกับมือจับ VGP20 รุ่นนี้"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit