เปรูถือเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มลาตินอเมริกาที่ มีความโดดเด่นระดับนานาชาติมากที่สุด ซึ่งในด้านการส่งออกสินค้าอาหารถือเป็นตัวสร้างรายได้เป็นอันดับที่สองของประเทศ และแม้ว่าตลาดปลายทางหลักในปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือ และสหภาพยุโรป แต่การค้าระหว่างเอเชียในด้านสินค้าเกษตรก็ได้มีการเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ประเทศเปรูส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยคิดเป็น 2.5% ของสินค้าทั้งหมดที่ส่งออกมายังทวีปเอเชีย ในปี 2562 การนำเข้าผักผลไม้สดของเปรูมีมูลค่าถึง 14,679 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นจำนวนตัวเลขที่กรมส่งเสริมการค้าของเปรูในเอเชียได้มีการเสนอให้เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยประชากรเกือบ 70 ล้านคน กับการบริโภคผลไม้ต่อหัวมากกว่า 150 กิโลกรัมต่อปี และความนิยมที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการบริโภคสินค้าพรีเมียม ทำให้ซุปเปอร์ฟู้ดของเปรูมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นในตลาดไทย
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเปรู และไทยจึงยังคงเดินหน้าหารือเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ และข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช เพื่อนำทับทิม และส้มเข้าสู่ตลาดได้ในระยะสั้น ซึ่งในปัจจุบันองุ่นสดถือเป็นสินค้าส่งออกหลักในตลาดผักและผลไม้ของเปรูไปยังประเทศไทย โดยในปี 2562 คิดเป็น 5% ขององุ่นนำเข้าทั้งหมด และสามารถสังเกตตัวเลขเชิงบวกได้ในไตรมาสแรกของปี 2563 ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเปรูที่นำเข้าสู่ตลาดไทยในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ บลูเบอร์รี่ , อะโวคาโด, คีนวา และโกโก้
นาย Erick Aponte กรรมาธิการการพาณิชย์ PROMPER? ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า “คุณภาพของผลิตภัณฑ์เปรูเป็นที่ชื่นชมสำหรับผู้บริโภคชาวไทย เพราะเหตุนี้เราจึงพยายามมุ่งเน้นไปที่ ผู้บริโภคให้ได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์ของเรา และสามารถแยกแยะคุณลักษณะที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างจากแหล่งที่ มาอื่น ๆ
ซึ่งเราได้เปิดตัวโปรโมชั่น “ซุปเปอร์ฟู้ดเปรู” หลากหลายรายการในตลาดไทยทั้งในรูปแบบการขายหน้าร้าน และแบบดิจิทัล”
ผู้ให้สัมภาษณ์ชาวเปรู กล่าวเพิ่มเติมว่า “ได้มีการจัดให้ชิมบลูเบอร์รี่ ในซูเปอร์มาร์เก็ต เครือต่าง ๆ อย่าง Foodland, Tops, Max Value และ The Mall ร่วมกับบริษัท Navatan World Fruits ส่วนในรูปแบบดิจิทัล ได้มีการโปรโมต อะโวคาโด เมล็ดเจีย และคีนวา ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ชื่อว่า Fresh Living ซึ่งภายหลังได้มีสินค้าบลูเบอร์รี่ และองุ่นเพิ่มเข้ามาด้วย”
การค้าสินค้าอาหารระหว่างเอเชีย ปัจจุบันประเทศเปรูส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตร – อาหาร มายังทวีปเอเชียคิดเป็น 9% ของการส่งออกสินค้าประเภทนี้ทั่วโลก จีนถือเป็นตลาดหลักในเอเชียสำหรับสินค้าอาหารเปรูโดยแบ่งเป็น 30% ของการส่งออกทั้งหมด ตามด้วยฮ่องกง (20%), เกาหลีใต้ (14%), ญี่ปุ่น (12%) และอินโดนีเซีย (8%) ส่วนประเทศที่ ลำดับน้อยกว่า แต่มีการเติบโตอย่างมาก ได้แก่ มาเลเซีย, ไต้หวัน, เวียดนาม และไทย โดยตลาดสุดท้ายนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับเปรู เนื่องจากมีโอกาสทางการค้ามากมาย
กรรมส่งเสริมการค้า PROMPER? แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีบทบาทในการส่งเสริมความต้องการในการบริโภคสินค้าอาหารเปรู ด้วยการเปิดตลาดใหม่ผ่านพันธมิตรทางธุรกิจ, การลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ และการดำเนินการส่งเสริมการค้าด้วยยุทธวิธีที่มุ่งเน้นไปยังช่องทางการค้าสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซุปเปอร์ฟู้ดเปรู ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ของเปรู ตลอดจนภูมิศาสตร์ที่ แตกต่างกันทั้งพื้นที่ ทะเล ชายฝั่ง เทือกเขา และป่าไม้ทำให้สามารถมีผลผลิตทางด้านอาหาร และการเกษตรคุณภาพสูง และหลากหลายตลอดทั้งปี
ตั้งแต่ปี 2560 เปรูได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนภายใต้แบรนด์ “Super Foods Peru” (ซุปเปอร์ฟู้ดส์เปรู) โดยพยายามเน้นถึงอาหารเปรูที่มีสารอาหารสูง นอกจากผัก และผลไม้ ยังมีซีเรียลแอนเดียน อย่างคีนวา, รากมาคา และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากอุตสาหกรรมการประมง ที่ ได้รับการรับรองจากเครื่องหมายคุณภาพนี้ด้วย
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ “Super Foods Peru”
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit