คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคีอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนสังเคราะห์แนวทางการตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพทั่วโลก สรุปเป็นเกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ 6 มิติ และพัฒนาระบบต้นแบบ #เช็กให้รู้ ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) หวังกระตุ้นประชาชนให้ตระหนักรู้ และสามารถรับมือข่าวปลอมสุขภาพที่เกิดในสังคมไทยปัจจุบัน
ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ นิด้า หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม กล่าวว่า เทคโนโลยีในทุกวันนี้เปิดโอกาสให้ข่าวปลอมถูกแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และวนเวียนซ้ำอีกหลายครั้ง และผู้ส่งสารบางกลุ่มจงใจผลิตเนื้อหาข่าวที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดการตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้ผู้อ่านบางกลุ่มที่ยังไม่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่ออย่างเพียงพอเกิดความเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อในข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จนเกิดความเสียหายทั้งต่อบุคคลและสังคมในวงกว้าง
ทั้งนี้ผู้อ่านข่าว สามารถใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบว่าข่าวนั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าลักษณะของการเป็นข่าวปลอมหรือไม่ 6 มิติ ได้แก่
นอกจากเราจะสามารถใช้วิจารณญาณการรู้เท่าทันสื่อของตนเองโดยพิจารณาตามเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ผู้อ่านข่าวยังสามารถทดลองตรวจสอบข่าวได้จากระบบต้นแบบ “เช็กให้รู้” ระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยนำเกณฑ์การพิจารณาโครงสร้างข่าว มาผ่านกระบวนการทำงานของ Data Scientist ที่พัฒนาโมเดล ด้วยการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ผ่านการสร้าง Annotation หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยนักนิเทศศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ แล้วจึงสร้างโมเดลการเรียนรู้ให้ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ แยกแยะโครงสร้างของข้อมูลข่าวด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนนำไปสู่ระบบตรวจสอบข่าวปลอมขึ้น ซึ่งระบบจะสามารถระบุถึง “แนวโน้มความเป็นไปได้ที่เข้าองค์ประกอบข่าวปลอม” (Fake news probability) ของข่าวที่นำมาตรวจนั้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้รับข้อมูลข่าว และเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อได้ในระยะยาว
โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคีองค์ความรู้ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า โครงการFake News Fighter คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ซึ่งเป็นภาคีที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562
โครงการฯ กำลังพัฒนาต่อยอดระบบเช็กให้รู้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถนำข่าวมาตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ เช็กให้รู้ ในอนาคตด้วย ผู้ที่สนใจทดลองใช้ระบบ #เช็กให้รู้ ติดตามร่วมเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร และรับข่าวสารหรือร่วมการทดลองระบบก่อนใคร ได้ที่ facebook fanpage : #เช็กให้รู้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit