ท่านผู้อ่านหลายๆท่านอาจเคยดำเนินชีวิตตามวิถีเดิมๆ กิจวัตรแต่ละวันก็เหมือนเดิมในทุกๆวัน ไร้ซึ่งสิ่งท้าทายใหม่ๆ ขาดสีสันและแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้นอาจเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในวัยชราโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่หากจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่โดยปุบปับ ท่านผู้อ่านก็อาจต้องเผชิญกับความเครียดซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสมองเช่นกัน
ภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่ความทรงจำหายไปหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ" ซึ่งจัดเป็นความทรงจำประเภทหนึ่งหายไป ความทรงจำของมนุษย์นั้นจำแนกออกเป็นความจำเชิงกระบวนวิธีและความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธีคือความสามารถต่างๆที่ได้จากการทำเป็นกิจวัตร เป็นความทรงจำที่ร่างกายจดจำได้โดยไม่ต้องอาศัยคำพูด เช่น วิธีขึ้นรถไฟ วิธีเล่นเปียโดน วิธีใช้มีด และความจำชัดแจ้ง คือ ความทรงจำเกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ที่พบเจอในอดีต เช่น คนคนนี้เคยพูดไว้แบบนี้ เมื่อเช้ากินขนมปังปิ้งกับแฮมและไข่ หากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เป็นศูนย์กลางของความทรงจำมีอาการฝ่อ ลีบ เหตุการณ์ที่เราเคยจำได้เหล่านี้ก็จะหายไปจากความทรงจำ นี่ถือเป็นอาการของภาวะสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ที่ชัดเจน มีผู้ป่วยสมองเสื่อมหลายๆท่านที่ความจำเชิงกระบวนวิธียังทำงานได้ดี แต่ความจำชัดแจ้งกลับมีปัญหา ผู้ป่วยบางคนแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้ บางคนปั่นจักรยานเองได้ นั่นเพราะ "วิธีปั่นจักรยาน" เป็นความจำเชิงกระบวนวิธีซึ่งจะไม่หายไป ยกเว้นในกรณีที่สมองได้รับความเสียหาย เช่น เป็นโรคหลอดเลือดสมอง แต่หากปั่นจักรยานแล้วลืมไปว่ากำลังจะไปที่ไหน นี่คืออาการของภาวะสมองเสื่อม
หลายๆท่านอาจคิดว่าอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สมองของคนเราแก่ตัวลง แต่ในความจริงแล้ว ในสมองของคนเรามีเซลล์ประสาทจำนวลมหาศาลใช้เวลาทั้งชีวิตก็อาจใช้งานได้ไม่ครบทั้งหมด เซลล์ประสาทที่เราใช้อยู่จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นแล้วจำนวนเซลล์ประสาทจะลดลง แต่ถ้าปลุกเซลล์ที่ยังไม่เคยใช้ให้ตื่นขึ้นมา ไม่เพียงแต่จะช่วยให้สมองยังคงทำงานได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย
หากเป็นอย่างนั้นแล้วเราควรทำอย่างไรจึงจะปลุกเซลล์ประสาทเหล่านั้นได้ คำตอบก็คือการหมั่นฝึกสมอง หรืออธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่าคือการกระตุ้น "รหัสสมอง" ด้วยการฝึกฝน โดยรหัสสมองแบ่งออกเป็น 8 ด้าน เช่น รหัสสมองด้านความคิด รหัสสมองด้านการสื่อสาร รหัสสมองด้านการมองเห็น และอื่นๆ เมื่อค่อยๆกระตุ้นรหัสสมองแต่ละส่วนก็จะช่วยให้สมองทั้งหมดทำงานได้ดีขึ้น
วันนี้เราจึงมีหนังสือ "แค่ 3 นาทีต่อวันป้องกันสมองเสื่อม" ที่เขียนขึ้นโดย นพ.คะโตะ โทะชิโนะริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทจิตวิทยามาแนะนำท่านผู้อ่าน โดยหนังสือเล่มนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรค ก่อนจะแนะนำวิธีบริหารสมองสนุกๆที่สามารถเลือกไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของท่านผู้อ่านแต่ละคน ในหนังสือเล่มนี้จะแบ่งวิธีฝึกสมองเป็น "การบริหารสมอง" และ "การทำให้เป็นกิจวัตร" ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ทำได้อย่างเพลิดเพลิน เพราะหากต้องการให้สมองกลับมาอ่อนเยาว์ ความสนุกสนานในระหว่างฝึกฝนก็ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ความสนุกสนานในการต่อสู้กับภาวะสมองเสื่อมจะช่วยให้สมองแข็งแรงและช่วยให้ห่างไกลสมองเสื่อม
ตัวอย่างวิธีออกกำลังรหัสสมองเพื่อยับยั้งภาวะสมองเสื่อม จากในหนังสือ "แค่ 3 นาทีต่อวันป้องกันสมองเสื่อม" เช่น การเป่ายิงฉุบสลับกัน โดยใช้มือข้างนึงเป่ายิงฉุบออกค้อน กรรไกร กระดาษตามมืออีกข้างขณะที่คิดว่าต่อไปต้องออกอะไร วิธีการนี้ก็จะช่วยฝึกรหัสสมองด้านความคิดและฝึกการวางแผน หรือการเดินถอยหลัง ซึ่งการเดินจะทำให้สมองส่วนบนกระปรี้กระเปร่า และเมื่อต้องเดินถอยหลังโดยไม่ใช้ตามองก็จะช่วยให้ความสามารถในการจินตนาการของเราดีขึ้น เนื่องจากต้องคิดว่าในขั้นตอนต่อไปต้องขยับร่างกายอย่างไร นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นในหนังสือ "แค่ 3 นาทีต่อวันป้องกันสมองเสื่อม" ก็ยังมีวิธีออกกำลังรหัสสมองอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยยับยั้งภาวะสมองเสื่อม รวมถึงจะช่วยเพิ่มความท้าทายให้ตนเองทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ เป็นการกระตุ้นให้สมองคุ้นเคยกับแบบทดสอบใหม่ๆ แล้วสร้างสมองที่แข็งแรงพร้อมรับวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีความสุขไปด้วยกัน
นอกจากหนังสือ "แค่ 3 นาทีต่อวันป้องกันสมองเสื่อม" แล้ว นพ.คะโตะ โทะชิโนะริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทจิตวิทยา ชีวจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา ผู้วิเคราะห์สมองด้ายการตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ชื่อดังของญี่ปุ่นได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสมองไว้อีกหลายเล่ม โดยมีเล่มที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สมองแข็งแรง ห่างไกลภาวะสมองเสื่อม 2 เล่มได้แก่ "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" หนังสือที่จะทำให้คุณรู้จักสมองของตัวเองดีขึ้น เข้าใจถึงอาการหลงๆลืมๆ และแนะนำกิจกรรมสนุกๆที่จะช่วยฟื้นคืนสมองให้กลับมาจดจำได้อย่างแม่นยำอีกครั้ง
สมองที่แข็งแรงคือสมองที่ซีกซ้ายและขวาที่สมดุลไปทุกส่วน แต่กิจวัตรประจำวันและหน้าที่ทั้งการเรียน การทำงาน ทำให้เราใช้สมองเกินพอดีไปบางส่วน จนละเลยสมองส่วนอื่นๆที่ควรถูกใช้งาน และถูกกระตุ้นอย่างเท่าเทียมกันเพื่อจะได้ไม่เสื่อมสภาพ หนังสือ "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" จะช่วยให้ท่านผู้อ่านพักสมองส่วนที่ใช้บ่อยอย่างสมองซีกซ้าย 5 ส่วน ได้แก่ ด้านความคิด อารมณ์ การสื่อสาร การเคลื่อนไหว การได้ยิน และใช้สมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้อย่างสมองซีกขวา ได้แก่ส่วนที่ควบคุมด้านการมองเห็น ความเข้าใจ และการจดจำ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการปรับสมอง
นอกจากนั้นความถนัดยังเกิดจากการทำซ้ำๆ และประสบการณ์เฉพาะด้านจะทำให้รหัสสมองด้านนั้นแข็งแกร่งขึ้น การทำความเข้าใจรหัสสมองที่มีความถนัดและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นการพัฒนาศักยภาพสมองส่วนนั้นให้ดีขึ้นได้ ในทางตรงข้าม คนเราย่อมมีจุดด้อยหรือสิ่งที่ไม่ถนัด นั่นเป็นเพราะรหัสสมองด้านนั้นไม่ค่อยเจริญเติบโต หรืออาจเรียกได้ว่า “รหัสสมองกำลังหลับ” แต่การฝึกฝนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจะทำให้รหัสสมองด้านนั้นค่อยๆตื่นตัวและเจริญเติบโต
หนังสือ “ฝึกสมองให้จำได้ไม่ลืม”จะช่วยให้ท่านผู้อ่านรู้จักสมองของตัวเองแบบเจาะลึก รู้บ่อเกิดของอาการหลงลืม อธิบายวิธีฝึกฝนรหัสสมองแบบง่ายๆที่คุณทำได้ทุกวัน เช่น ฝึกฝน กระตุ้นสมองช่วงเช้า สร้างสมองที่กระปรี้กระเปร่าระหว่างเดินทาง ฝึกสมองให้คึกคักระหว่างทะงาน ลับคมสมองเมื่อกลับบ้าน และจัดระเบียบสมองในช่วงวันหยุด ซึ่งเป็นการลับคมรหัสสมองทั้ง 8 กลุ่มอีกด้วย
ซึ่งถ้าอ่าน "แค่ 3 นาทีต่อวันป้องกันสมองเสื่อม" ควบคู่กับ "ฝึกสมองให้จำได้ไม่ลืม" และ "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" ท่านผู้อ่านจะพบคำตอบว่าการฝึกฝนสมองเป็นเรื่องที่น่าสนุกและได้ประโยชน์อย่างเหลือเชื่อ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit