วศ. ยกงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง โชว์ 4 ผลงานได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย

09 Oct 2020

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการคิดค้นวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น เพิ่มโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของคนไทยที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน อีกทั้งยังเป็นการลดการซื้อและนำเข้าสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

วศ. ยกงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง โชว์ 4 ผลงานได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย

โดยล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 วศ. พัฒนานวัตกรรมต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่

  1. รถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ รถตู้มาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงภายในห้องโดยสารให้เหมาะสำหรับ รถพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อ
  2. รถพยาบาลโครงสร้างปลอดภัยเคลือบสารต้านจุลชีพ รถกระบะมาตรฐาน ที่ได้รับการดัดแปลงโครงสร้างห้องโดยสารพยาบาล เน้นคุณสมบัติความปลอดภัย
  3. พื้นสังเคราะห์อเนกประสงค์ ประเภท C จากเม็ดยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ในรูปแบบบล็อกยางปูพื้น สำเร็จรูป ที่ใช้สำหรับเป็นพื้นลานอเนกประสงค์ รองรับการทำกิจกรรมการเดิน วิ่ง และการออกกำกาย ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติรองรับแรงกระแทกของยางธรรมชาติที่มีความยืดหยุดสูง
  4. พื้นสังเคราะห์สำหรับลู่ลานกรีฑา ประเภท A และ B จากวัสดุยางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ มาตรฐาน IAAF (World Athletics) พื้นสนามลู่ลานกรีฑาจากยางธรรมชาติในประเทศ ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล IAAF สามารถใช้จัดแข่งขันตามกติกาสากลได้ เป็นการส่งเสริมการลดการนำเข้ายางสังเคราะห์จากต่างประเทศ และสนับสนุนการใช้ยางธรรมชาติในประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า “ผลสำเร็จดังกล่าวเป็นความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยระหว่าง วศ. และผู้ประกอบการของไทย จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ของ วศ. มีความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากลลดต้นทุนและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้เป็นรูปธรรม”

HTML::image( HTML::image(