N Health เตรียมพร้อมรับมือกับโรคในช่วงปลายฝน ให้บริการตรวจวิเคราะห์เลือดหาการติดเชื้อไวรัส ไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา

26 Aug 2020

N Health เตรียมพร้อมรับมือกับโรคในช่วงปลายฝน ให้บริการตรวจวิเคราะห์เลือดหาการติดเชื้อไวรัส ไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ด้วยการเจาะเลือดครั้งเดียว

N Health เตรียมพร้อมรับมือกับโรคในช่วงปลายฝน ให้บริการตรวจวิเคราะห์เลือดหาการติดเชื้อไวรัส ไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา

ช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝน สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยุงลายเป็นตัวนำโรค/พาหะโรคไวรัสต่าง ๆ คือ โรคไข้เลือดออก/โรคเด็งกี่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย/โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อซิกา

โรคติดเชื้อซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคปวดข้อยุงลาย เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายชนิดเดียวกัน ต่างกันแต่สายพันธุ์ของไวรัส ดังนั้นธรรมชาติของยุงลาย วิธีติดต่อของโรค รวมถึงวิธีป้องกันโรค เหมือนกันทุกประการ อาการของโรคก็จะคล้ายกันมาก คือ มีไข้เฉียบพลัน มักเป็นไข้ไม่สูงมากมักประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส ไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายมักเป็นไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะแต่ไม่มาก ปวดข้อแต่ไม่มาก แต่โรคปวดข้อยุงลายจะปวดข้อมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว มีอ่อนเพลียไม่มากแต่ไข้เลือดออกจะอ่อนเพลียมาก มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังได้ทั่วร่างกาย สำหรับโรคติดเชื้อซิกาจะมีอาการเยื่อตาอักเสบ (อาการสำคัญคือ ตาแดง) ร่วมด้วย แต่ไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายที่มักจะไม่มีอาการนี้

ผู้ป่วยควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่ออาการต่างๆดังกล่าวรุนแรงเช่น ไข้สูงและไข้ไม่ลงใน 2 - 3 วัน ปวดศีรษะมาก อ่อนเพลียมาก หรือมีจุดเลือดออกตามลำตัว แขนขา หรือเมื่อสงสัยเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะเชื้อไวรัสซิกาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในเด็ก

ทั้งนี้ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ในเด็กเป็นผลมาจากการพัฒนาการของสมองที่ผิดปกติ โดยเด็กจะมีขนาดของศีรษะเล็กกว่าเด็กปกติในช่วงอายุเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างที่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด และเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม ภาวะสมองขาดออกซิเจนระหว่างที่อยู่ในครรภ์ ภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรงระหว่างที่อยู่ในครรภ์ การติดเชื้อบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เชื้อท็อกโซพลาสมา (Toxoplasma) เชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) เชื้อไวรัสรูเบลลา (Rubella virus) เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster virus) และ เชื้อไวรัสซิกา

ลักษณะและอาการของเด็กที่เป็นโรคนี้มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก เช่น เด็กมีพัฒนาการช้าในด้านของพูดและการเคลื่อนไหว ปัญญาอ่อน มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ หูหนวก และมีปัญหาเรื่องการมองเห็น ซึ่งหากเด็กมีภาวะศีรษะเล็กนี้แล้ว ทางครอบครัวควรวางแผนในการรักษาและดูแลร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ ให้กับเด็ก

ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเกิดภาวะศีรษะเล็กควรหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่เป็นสาเหตุ หากสาเหตุคือพันธุกรรมให้ปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้าน genetics สำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และสำหรับไวรัสซิกานั้นมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งมีการระบาดของเชื้อไวรัสซิก้าที่เข้ามาถึงประเทศไทย ดังนั้นหากสุภาพสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสดังกล่าวหรือไม่ สามารถมาตรวจได้ด้วยการเจาะเลือดหรือตรวจจากปัสสาวะ โดยขณะนี้ห้องแล็บไบโอโมเลกุลลาร์ของ N Health ให้บริการตรวจหาไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกาที่มียุงเป็นพาหะนำโรคได้จากการเจาะเลือดครั้งเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นสามารถติดต่อเพื่อรับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ใกล้บ้านท่าน เพื่อที่จะรับการตรวจและรักษาให้ทันท่วงทีต่อไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @Nhealth โทร. 02 7624000 หรือ email: [email protected]

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit