แพลตฟอร์มติดตามสุขภาพระบบดิจิทัลช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงผู้ให้บริการสุขภาพและสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต
แพทย์จาก Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center กำลังทำการทดสอบโปรแกรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและแพลตฟอร์มสุขภาพดิจิทัลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (A Fib) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด โดยมีการใช้แอปที่เชื่อมกับอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (wearable device) ซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบอาการหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงช่วยยกระดับการจัดการโรคและผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วย
“การติดตามสุขภาพด้วยระบบดิจิทัลทำให้เราดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ด้วยการช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ เช่นในส่วนของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย” นายแพทย์อันเดรอา นาตาเล (F.H.R.S., F.A.C.C., F.E.S.C.) แพทย์ผู้ชำนาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการแพทย์ประจำสถาบัน TCAI กล่าว “นอกจากนี้ แพทย์จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว”
โปรแกรมติดตามสุขภาพระบบดิจิทัลที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาจะช่วยให้แพทย์สามารถระบุตัวผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น การให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกำเริบ ทั้งก่อนและหลังการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นการทำหัตถการเพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แพลตฟอร์มติดตามสุขภาพระบบดิจิทัล RFMx ที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะเพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา และสร้าง Health Scorecard โดยอ้างอิงข้อมูลที่ได้มาจากอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่ถูกส่งมาทุกเดือนผ่านระบบติดตามสุขภาพทางไกล โดยมีเป้าหมายในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยในหลายแง่มุม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การลดความเครียด การนอนหลับ การเลิกบุหรี่ และการลดการดื่มแอลกอฮอล์
“ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และความท้าทายที่ต้องเผชิญก็แตกต่างกัน” นายแพทย์นาตาเล กล่าว “ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินจะถูกจัดอยู่ในโปรแกรมดูแลโภชนาการและการออกกำลังกาย โดยมีเป้าหมายคือการลดดัชนีมวลกายให้ได้อย่างน้อย 10% ซึ่งแพลตฟอร์มติดตามสุขภาพระบบดิจิทัลสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้”
แพทย์ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล การวิเคราะห์ผ่านเว็บ อีเมล โทรศัพท์มือถือ แอป ข้อความผ่านมือถือ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และเซ็นเซอร์ติดตามสุขภาพทางไกล (เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต ฯลฯ) ในการติดตามความก้าวหน้าของผู้ป่วย และหากจำเป็นก็สามารถให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ โปรแกรมดังกล่าวยังให้การสนับสนุนในระดับชุมชนด้วยการให้กำลังใจและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย
ปัจจุบัน TCAI กำลังทดสอบโปรแกรมติดตามสุขภาพระบบดิจิทัลกับผู้ป่วยราว 40 คน
ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า การช่วยเหลือผู้ป่วยตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โดยผลลัพธ์จากการศึกษา Early Treatment of Atrial Fibrillation for Stroke Prevention Trial (EAST) ได้รับการนำเสนอในการประชุม European Heart Meeting และเผยแพร่ผ่านวารสาร New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
Erin Ochoa
Elizabeth Christian Public Relations
อีเมล: [email protected]
โทร: 512.788.1616 (มือถือ)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit