หอการค้าไทยจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 "ไทยช่วยไทย คือ ไทยเท่" สรุปผลยื่นสมุดปกขาวเสนอรัฐบาล

30 Nov 2020

หอการค้าไทยจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 "ไทยช่วยไทย คือ ไทยเท่" สรุปผลยื่นสมุดปกขาวเสนอรัฐบาล

หอการค้าไทยจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 "ไทยช่วยไทย คือ ไทยเท่" สรุปผลยื่นสมุดปกขาวเสนอรัฐบาล

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศและเครือข่าย ได้จัดการสัมมนาหอการค้า ทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 ขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2563 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทาง New Normal โดยกำหนด Theme การจัดงานสัมมนาฯ คือ "ไทยช่วยไทย คือ ไทยเท่"

โดยในการสัมมนาฯ ได้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง "การบริหารน้ำสู่ความยั่งยืน" โดย ดร.รอยล จิตรดอน ประธานกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) ซึ่งได้ฝากภาครัฐควรปรับเปลี่ยนจากการทำงานรวมศูนย์ สู่การพัฒนาในระดับหมู่บ้าน ตำบล เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำของประเทศมีความยั่งยืนและพอเพียง รองรับการใช้น้ำในภาคเกษตรและการผลิตสินค้าเกษตร อย่างสอดคล้องกับความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ และได้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง "มองโลก ดูไทย เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร: บทเรียนจาก COVID-19" โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้บอกว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถสูงในด้านการต่อสู้กับโควิด-19 และบทเรียนการจัดการโรคระบาดในประเทศไทยเป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เห็นได้ชัด

นอกจากนี้ ยังได้มีการเสวนาและแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงปฏิบัติการ เพื่อเป็นการระดมความเห็นจากสมาชิกหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมี 2 เรื่อง โดยมุ่งเน้นในเรื่องการปรับตัวในยุควิถี New Normal ได้แก่ เรื่อง "เพิ่มศักยภาพ ผู้ประกอบการ รับวิถี New Normal" และ เรื่อง "โลกเปลี่ยน ธุรกิจปรับ รับวิถี New Normal" เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ผลสรุปและข้อเสนอแนะทั้งหมดที่ได้จากการสัมมนาฯ ในครั้งนี้ หอการค้าไทย จะจัดทำเป็นสมุดปกขาวนำเสนอให้กับรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 นั้น หอการค้าไทย ขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนช่วยกันโปรโมทและขับเคลื่อน Happy Model เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น นอกจากนั้น รัฐบาลควรต้องเร่งพัฒนาระบบ e-Government เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐ รวมทั้งการเร่งแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

สำหรับสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มที่ 1 เรื่อง "เพิ่มศักยภาพ ผู้ประกอบการ รับวิถี New Normal" ได้กำหนดกรอบการเสวนาในเรื่อง "ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยด้วย Happy Model : โมเดลอารมณ์ดี มีความสุข" โดยได้มุ่งเน้นถึงแนวทางการขับเคลื่อนโมเดล ผ่าน 5 เรื่อง ได้แก่

  1. สร้างความเข้าใจในการใช้คำจำกัดความของ Wellness 4 ด้าน โดยหอการค้าไทย
    ร่วมกำหนดคำนิยามของ Happy Model เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชน โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด พร้อมกับการจัดทำ Mapping ข้อมูลของแต่ละจังหวัดภายใต้แนวคิด Happy Model เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของพื้นที่
  2. กำหนดแนวทาง พร้อมพลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงในพื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปตามกรอบและแนวทางในการดำเนินโครงการ หอการค้าไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
    ร่วมจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) เพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรฐานในการนำแนวคิด Happy Model
    ทั้ง 4 ด้านไปใช้ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน Happy Model ในระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด (ภายใต้กลไก กรอ.จังหวัด / กรอ. กลุ่มจังหวัด และบรรจุแผนงานโครงการและงบประมาณภายใต้ กบจ. และ กบภ.)
  3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม โดยหอการค้าไทยร่วมมือกับเครือข่าย ในการจัดให้มีหลักสูตรอบรม (Short Course) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม (Re-Skill , Up-Skill)
    ในการให้ข้อมูลหรือการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ Happy Model ของพื้นที่ตนเอง อาทิ มัคคุเทศก์ พนักงานบริการ และอื่น ๆ (โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ) อีกทั้งจัดทำและ/หรือต่อยอด มาตรฐานเดิมที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อน Happy Model
  4. รวบรวม Content เชื่อมโยง Digital platform โดยสร้างเรื่องราวสร้างสรรค์ (Creative Content) เกี่ยวกับ Happy Model เพื่อนำไปสื่อสารและประชาสัมพันธ์สู่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการคัดเลือก Success Case Happy Model ทั้ง 4 ด้าน (กินดี-อยู่ดี-ออกกำลังกายดี-แบ่งปันสิ่งดี ๆ) มาสร้าง Content
  5. ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล (Digital Platform) เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเชื่อมโยง Platform ระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น Application TAGTHAi เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสื่อสารที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

นอกจากนั้น การส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศไทย หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศ ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว ผ่านกลุ่มเครือข่ายสมาชิกหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัดและ YEC สมาคมการค้า หอการค้าต่างประเทศ ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 - เดือนมกราคม 2564 โดยมี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) จัดงาน Consumer Fair (B2C) 2) จัดกิจกรรม "สมาชิกชวนสมาชิกท่องเที่ยว" สำหรับสมาชิกหอการค้าและเครือข่าย ให้เดินทางท่องเที่ยวใน 7 พื้นที่ (ภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร) และ3) เชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยวและสิทธิประโยชน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TAGTHAi และ TCC Connect โดยดำเนินงานตามแนวทาง Happy Model

อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยและเครือข่ายเชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อน Happy Model โมเดลอารมณ์ดี
มีความสุข ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนและสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเข้มแข็งได้ในอนาคต

สำหรับสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มที่ 2 เรื่อง "เพิ่มศักยภาพ ผู้ประกอบการ รับวิถี New Normal" ภายในกลุ่มได้สะท้อนความคิดเห็นเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 ประเด็น คือ 1) การยกระดับประสิทธิภาพของแรงงาน (Labour Productivity) 2) ส่งเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Platform) และ 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ (Value Added) โดยหอการค้าไทยจะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ในปี 2564 ภายใต้แนวคิด "ไทยช่วยไทย คือ ไทยเท่" ดังนี้

  1. การยกระดับประสิทธิภาพของแรงงาน (Labour Productivity) โดยหอการค้าไทย จะดำเนินการขับเคลื่อน ได้แก่
    1. ส่งเสริมการ Reskill & Upskill ผ่านโครงการ TCC Online Training จำนวน 12 หลักสูตร ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายหลังวิกฤติการณ์โควิด
    2. ขับเคลื่อนสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AiTi) เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการค้า การลงทุน เฉพาะในกลุ่ม CLMVT และเป็นสถาบันให้คำแนะนำ โดยปี 2564 จะขยายผลกิจกรรม Mentor และ Mentee ให้กับสมาชิก จำนวน 6 ครั้ง และจัดทำ AiTi Moblie Application
    3. Big Brother 4 ซึ่งเป็นโครงการมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ จากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ สู่ผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบพี่ช่วยน้อง สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่ ไม่น้อยกว่า 50 ราย
  2. ส่งเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Platform)
    1. TCC Digital Platform เชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ของหอการค้าและระบบ Digital ของเครือข่ายหอการค้าไทย ข้อมูล Big Data ให้สามารถทำธุรกรรมผ่าน Platform กลางร่วมกัน
    2. TAG THAI โดยปี 2564 เชื่อมโยงข้อมูล 76 แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และขยายผลเชื่อมโยงรองรับงานบริการ (อาทิ สวนสนุก/สปา/สนามกอล์ฟ)
  3. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ (Value Added)
    1. โครงการ 1 ไร่ 1 ล้าน โดยการขยายองค์ความรู้โมเดล 6 โมเดลไปยังสมาชิกหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ อาทิ โมเดล "น่าน กาแฟพรีเมี่ยม" จังหวัดน่าน /โมเดล โกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท จังหวัดน่าน และ โมเดล "ประมงน้ำจืดด้วยระบบไบโอฟลอค" จังหวัดสกลนคร
    2. ยกระดับเกษตรมูลค่าสูง ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนแนวคิดการปลูกและทำเกษตรแบบเดิม โดยส่งเสริมให้เกษตรกรไทยทำการเกษตรที่มีมูลค่าสูง
    3. 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตร โดยหอการค้าไทย จะสร้างโมเดลต้นแบบสหกรณ์ (Best Practice) เพื่อเป็นเครือข่ายสหกรณ์พี่เลี้ยง 5 ภาค ในปี 2564
    4. โครงการเทคนิคการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและอาหารครบวงจร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการตลาด หอการค้าไทย จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สมาชิกผู้ประกอบการในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม
    5. โครงการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดสากล หอการค้าไทย จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่น สร้างความเป็นโดดเด่นของสินค้า ควบคู่กับคุณภาพ พร้อมทั้งขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ จากการการระดมความคิดเห็นการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ รับวิถี new normal เพื่อให้ภาครัฐดำเนินการ ดังนี้

  1. การกระตุ้นค่าใช้จ่ายเศรษฐกิจ อาทิ ขยายระยะเวลามาตรการโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 , ขยายระยะเวลามาตรการโครงการเที่ยวปันสุข ,เพิ่มสิทธิประโยชน์มาตรการช็อปดีมีคืน (ขยายปี 2564) และส่งเสริมมาตรการสินเชื่อ SMEs เป็นต้น
  2. การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
  3. การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกระบวนการต่าง ๆ ของภาครัฐ (Ease of doing business) เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว

HTML::image( HTML::image(