ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับ ทีวีบูรพาและสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association หรือ PDA) ประกาศโครงงานจากสถาบันการศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 20 ทีม จากโครงการประกวดสุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 'Go Further Innovator Scholarship 2020’ ในหัวข้อ 'เทคโนโลยี ROAD SAFETY เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน’ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศรวมจำนวน 20 ทีม โดยแบ่งเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 10 ทีม และนิสิตนักศึกษาจำนวน 10 ทีม เพื่อนำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ชิงทุนการศึกษารวม 840,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ โดยการนำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ จะจัดขึ้น ณ ห้อง Twin Hall ชั้น 6 โซน D อาคาร MBK Center ในวันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 08.00 โดยจะมีการประกาศผลในเวลา 17.00 น.
ในปีนี้ โครงการ 'Go Further Innovator Scholarship 2020’ ได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาเป็นอย่างดี โดยมีนักเรียน นิสิต นักศึกษาร่วมส่งนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดกว่า 60 โครงการ ตลอดระยะเวลาการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม – 6 ตุลาคม 2563
โครงงานจากระดับอาชีวศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 ทีม มีรายละเอียดดังนี้
- ผลงาน คาร์อิโมชั่น Car Emotion จากวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี จ.จันทบุรี
- ผลงาน ชุดป้องกันอวัยวะช่วงล่างผู้ขับขี่จากการชน จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
- ผลงาน ระบบป้องกันอันตรายจากแสงไฟสูงส่องตาอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
- ผลงาน TLC ชุดเซนเซอร์ตรวจจับและแจ้งเตือนวัตถุใต้คันเบรก จากวิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
- ผลงาน ขาตั้งนิรภัยปลอดภัยไว้ก่อน จากวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยอง
- ผลงาน ระบบ Image Processing สัญญาณเตือนขณะขับรถยนต์ จากวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
- ผลงาน ฉากกั้นอะคริลิกในรถยนต์แบบอัตโนมัติป้องกันติดเชื้อโควิด-19 รอบ 2 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
- ผลงาน ระบบแจ้งเตือนสภาพถนน วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
- ผลงาน MB Sensor Brake จากวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จ.ระยอง
- ผลงาน ระบบป้องกันการหลับใน จากวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จ.ปทุมธานี
โครงงานจากระดับอุดมศึกษาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 ทีม มีรายละเอียดดังนี้
- ผลงาน ระบบลดอัตราการหดตัวของรูม่านตาอย่างฉับพลัน เมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะออกจากอุโมงค์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
- ผลงาน Save Life From High Voltage: SLH SYSTEM จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี - ผลงาน N-BUMP ลูกระนาดลดแรงกระแทก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
- ผลงาน ระบบลดการปั่นป่วนของอากาศจากรถบรรทุก ที่เป็นสาเหตุให้รถจักรยานยนต์เสีย จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
- ผลงาน ป้ายสัญญาณเตือนระวังผู้โดยสารขึ้น-ลงรถประจำทาง พร้อมแผงกั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
- ผลงาน Driving Helper ผู้ช่วยตรวจจับการขับขี่อัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก
- ผลงาน Belt Care Your Life จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ
- ผลงาน ระบบปลดล็อคออนไลน์ Anzen จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ
- ผลงาน Warning Environment System จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี (อุดมศึกษา) จ.อุทัยธานี
- ผลงาน Check Right Bright Way จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี
ทีมที่ได้รับการคัดเลือกต้องติดต่อกลับผู้ประสานงานโครงการฯ เพื่อยืนยันสิทธิ์และยืนยันการร่วมส่งโครงงานสิ่งประดิษฐ์ภายในระยะเวลา 3 วัน โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ทาง Facebook: ฟอร์ด Facebook: บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด Facebook: สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน – PDA
ติดต่อผู้ประสานงานโครงการฯ คุณพิชญา จงวัฒนาพรชัย (จอย) โทรศัพท์ 0-2158-6122 ต่อ 624
หรือ 089-479-6214 โทรสาร 0-2158-6141 Email: [email protected] หรือ [email protected]
HTML::image(