ข้าวกล่อง CHEFHUG แบ่งปันชุมชนสู้ภัยโควิด CHEFHUG, No hug but love to share

08 May 2020

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าโควิด 19 ในประเทศไทย ส่งผลกระทบให้มีประชาชนกลุ่มใหญ่ขาดรายได้ ตกงาน และมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยตามชุมชนต่างๆทั่วกทม.และกลุ่มคนที่มีงานประจำในโรงแรม ร้านอาหาร ทางสมาคมเชฟประเทศไทยและ Thailand Culinary Academy ภายใต้ความร่วมมือของ สมาคมเชฟโลก จึงได้จัดทำโครงการ ข้าวกล่อง CHEFHUG แบ่งปันชุมชนสู้ภัยโควิด ขึ้นเพื่อร่วมแบ่งปัน บรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยและอาศัยในชุมชนต่างๆในกทม. โดยจัดให้มีการปรุงอาหารด้วยความพิถีพิถัน จากฝีมือเชฟ กุ๊กมืออาชีพ ในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและสุขอนามัยในการประกอบอาหาร บรรจุในกล่องข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผ่านกลุ่มแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน ไปยังชุมชนต่างๆถึง 50 ชุมชนตลอดโครงการ โดยมีเป้าหมายแจก “ข้าวกล่องเชฟฮัก” จำนวน 40,000 กล่อง ภายใน 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-20 พ.ค.2563 โดยทางคณะผู้จัดทำโครงการฯยังได้ดำเนินการโครงการนี้ ในลักษณะของการสร้างรายได้ ช่วยเหลือจิตอาสาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากงานประจำ โดยกำหนดงบประมาณจัดจ้าง กลุ่มบุคคลทุกกลุ่มที่เข้ามาช่วยดำเนินการ ยกเว้นคณะผู้ริเริ่มโครงการ

ข้าวกล่อง CHEFHUG แบ่งปันชุมชนสู้ภัยโควิด CHEFHUG, No hug but love to share

อันได้แก่ กลุ่มเชฟ กุ๊ก ผู้ปรุงอาหาร,กลุ่มเจ้าหน้าที่บรรจุอาหาร,กลุ่มแท็กซี่,กลุ่มเจ้าหน้าที่นำส่งอาหารตามชุมชน โดยเปิดรับสมัคร ลงทะเบียนเพื่อการคัดกรองตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.เป็นต้นไป    

โครงการ ข้าวกล่อง CHEFHUG มุ่งหวังให้เป็นโครงการต้นแบบ ที่ได้นำความรู้ ประสบการณ์ในการปรุงอาหาร การจัดการด้านอาหารอย่างมืออาชีพ รวมไปถึงการให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างครบวงจร ทั้งอิ่มท้อง ทั้งปลอดภัย ทั้งสร้างรายได้ สร้างงาน ในช่วงเวลาที่ยากลำบากของสังคม เป็นไปตามเจตนารมณ์ของโครงการ ที่ใช้คำว่า “เชฟฮัก”ไม่มีอ้อมกอด แต่มีรักที่อยากแบ่งปัน  CHEFHUG,No hug but love to share หมายถึงภายใต้สถานการณ์โควิด เราไม่มีโอกาสกอดกัน แสดงความรักต่อกัน เพราะต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) แต่เชฟอย่างเรา ถึงแม้กอดไม่ได้ แต่ก็ยังมีใจที่จะแสดงความห่วงใยและความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันตลอดไป    

อนึ่ง โครงการ ข้าวกล่อง CHEFHUG ยังได้รับการสนับสนุนและรับรองจากสมาคมเชฟโลก โดยหน่วยงาน World Chefs without borders ซึ่งเป็นหน่วยงานจากสมาคมเชฟโลกที่ให้การช่วยเหลือหายนะภัยทั่วโลกโดยใช้ศักยภาพของบุคลากรเชฟจากทั่วโลก ผ่านการระดมทุน การปรุงอาหาร การจัดการทางด้านอาหารแบบมืออาชีพในระดับสากล ซึ่งจะทำให้โครงการนี้ ได้รับการประชาสัมพันธ์ไปอย่างกว้างขวางและเป็นการดำเนินการการแจกอาหารภายใต้วิกฤติที่เป็นรูปแบบที่มีมาตรฐานและสามารถนำไปเป็นต้นแบบการดำเนินการแจกอาหารอย่างมืออาชีพและเป็นมาตรฐานแห่งแรกของโลกอีกด้วย

HTML::image( HTML::image( HTML::image(