SUPER เดินหน้าเสียบปลั๊กจ่ายไฟโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 9 เมกะวัตต์ บิ๊กบอส “จอมทรัพย์ โลจายะ” เผยมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะในมือที่อยู่ระหว่างการพัฒนาตามแผนงานจำนวน 57.9 เมกะวัตต์ มีกำหนดทยอย COD ต่อเนื่องในช่วง 2-3ปี ข้างหน้า หนุนผลงานสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากโซลาร์ฟาร์ม-วินด์ฟาร์ม ในเวียดนาม และประเทศอื่นๆ เพื่อการเติบโตที่แกร่งและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯและผู้ถือหุ้น
นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) เปิดเผยว่า บริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 6. จำกัด (SEE6) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SUPER ภายใต้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชนที่ จังหวัดพิจิตร ขนาดกำลังการผลิตเสนอขาย 9.9 เมกะวัตต์ เดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 9 เมกะวัตต์ ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึงจะช่วยผลักดันรายได้ของบริษัทฯเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการผลิตและสร้างรายได้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเข้ามาเสริมกับรายได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ทั้งนี้ โครงการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร มีมูลค่าลงทุนก่อสร้างทั้งหมด 1,405 ล้านบาท ได้รับวงเงินสนับสนุนจาก ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( EXIMBANK Thailand ) โดยคาดว่าจะมีรายได้จากโครงการกว่า 800 ล้านบาทต่อปี
"โครงการโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดพิจิตร เป็นอีกหนึ่งโครงการโรงไฟฟ้าของเรา จากก่อนหน้าที่ COD โครงการโรงฟ้าขยะ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าปีละ 72 ล้านหน่วย ในอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Tariff +ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) Adder 3.5 บาทต่อหน่วย มีระยะเวลา 7 ปี ผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯนอกเหนือโครงการผลิตไฟ ฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ "นายจอมทรัพย์ กล่าว
ปัจจุบัน SUPER มีโรงไฟฟ้าขยะที่ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรวม 6 แห่ง ปริมาณไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟรวม 64 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะของบริษัทย่อยของ SUPER จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ให้กับให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 2 โครงการ ปริมาณการซื้อขายไฟตามสัญญารวม 18.0 เมกกะวัตต์ ขณะที่ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จังหวัดหนองคาย 6 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าจากขยะ จ.นนทบุรี 16 เมกะวัตต์ , โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จ.นครศรีธรรมราช กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จ.เพชรบุรี 8 เมกะวัตต์ คาดว่าจะทยอย COD ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ( 2563-2565 )
ประธานคณะกรรมการ SUPER กล่าวอีกว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2563 เติบโต 20% จากปีก่อน สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการต่อเนื่องทั้งโครงการโซลาร์ราชการและสหกรณ์, การซื้อขายไฟฟ้าในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm โครงการโรงไฟฟ้าขยะ รวมไปถึงแผนในการขายไฟการขายไฟฟ้าโดยตรงให้กับลูกค้าในลักษณะ Private PPA รวมไปถึงขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯและผู้ถือหุ้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit