เรียกได้ว่าเป็นช่วงหยุดพักของหลาย ๆ ธุรกิจ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลได้ออกนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing การให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการติดและการแพร่เชื้อ จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องตัดสินใจหยุดหลากหลายกิจกรรมจนกว่าภาวะวิกฤตนี้จะดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจจะต้องหยุดชะงักแบบชั่วคราว แต่ก็ใช่ว่าจะต้องหยุดทำทุกสิ่งทุกอย่างตามไปด้วย เพราะในช่วงเวลานี้ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านต้องเดินตามโมเดล “ใช้บ้านให้เกิดยอดขาย” ทั้งการคิดแผนการตลาด กลยุทธ์ใหม่ในการฟื้นฟูธุรกิจ การเชื่อมต่อกับช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การอบรม การหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้หลังผ่านพ้นภาวะวิกฤตนี้กลับมายืนผงาดได้โดยเร็วที่สุด
เชื่อว่ามีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องหยุดชะงักในช่วงการระบาดของโรคโควิด–19 ปัจจุบันธุรกิจหลายประเภทได้หันมาให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับการทำตลาดอย่าง “วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง” ที่ถือว่าได้ยกให้เป็นกลยุทธ์ขั้นเทพสำหรับการสร้างแบรนด์ สินค้าและผลิตภัณฑ์ ในช่วงสถานการณ์ขณะนี้ และจากผลการสำรวจพบว่า ประชากรกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลกใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน นั่นจึงถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งและเป็นปีทองของ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ หรือวิดีโอคอนเทนต์ที่ได้ครองใจผู้บริโภคแถมยังช่วยสร้างการจดจำและแรงจูงใจให้ เข้าถึงแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ง่ายอีกด้วย
เพื่อเป็นการแนะแนวทางการใช้เวลาในช่วงนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้า ยุคใหม่(NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะของหน่วยงานที่จัดโครงการอบรมและสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจและองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการไทยนั้น จึงมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องการทำตลาด ด้วยวิดีโอมาร์เก็ตติ้ง จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ “วิชาวิดีโอมาร์เก็ตติ้ง (Video Marketing) ITE002” จากแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ที่เรียกว่า “E-Academy” มาแนะนำผู้ประกอบการไทยให้เตรียมความพร้อม และเพิ่มทักษะการลงมือทำวิดีโอมาร์เก็ตติ้ง เพื่อต่อยอดกลยุทธ์การขายออนไลน์ พร้อมเพิ่มทักษะและความสามารถเกี่ยวกับการสร้างสรรค์วิดีโอ ในการนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจให้เป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น
โดยหลักสูตร วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง ได้เริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการทำวิดีโอคอนเทนต์ การสร้างแนวคิดก่อนผลิต การเตรียมความพร้อมก่อนการผลิต กระบวนการผลิตวิดีโอ และช่องทางการเผยแพร่วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง ผ่านแนวคิดจาก 2 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการ Multi Channel Network (MCN) ผู้ช่วยในการวางแผนการผลิตวิดีโอ คอนเทนต์ ได้แก่ นายศิวัตม์ วิลาสศักดานนท์ กรรมการบริษัทโมอินดี้ จำกัด บริษัทผู้ให้บริการบริหารจัดการช่องวิดีโอผ่านเว็บไซต์ต่างๆ และดูแลผู้สร้างสรรค์ (Creator) และผู้เชี่ยวชาญการใช้วิดีโอเพื่อการตลาดในการสร้าง อัตลักษณ์ และการสื่อสารทางการตลาด และนายธนัญชัย ชนะโชติ นักร้อง นักดนตรีที่เป็นที่รู้จักในนาม โทนี่ผี ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลยูทูปเบอร์ (Youtuber) และช่องยูทูป (Youtube Channel)
โดยในวันนี้ เราจะเริ่มต้นแชร์ความรู้ความเข้าใจของทักษะในการผลิตวิดีโอมาร์เก็ตติ้งตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอน การเผยแพร่ โดยแบ่งเป็น 3 เรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมตัว หากมีความสนใจจะใช้ประโยชน์จากวิดีโอมาร์เก็ตติ้ง ในการสร้างการรับรู้และเข้าถึงธุรกิจ รวมถึงการสร้างแบรนด์สินค้า ดังนี้
1. เหตุผลที่ต้องใช้วิดีโอในธุรกิจ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันผ่านมือถือ ชอบดู ชอบแชร์ วิดีโอมากขึ้น เมื่อคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งและวิดีโอมาเจอกัน ซึ่งจะสามารถเข้าถึงความคิดของผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน โดยผู้บริโภคจะแชร์คอนเทนต์ที่โดนใจ ซึ่งจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้พวกเขาเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของแบรนด์ได้บ่อยขึ้น และยังง่ายขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายต่อการค้นหา และสามารถสร้างการรับรู้ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้
2. เตรียมพร้อมก่อนผลิตคอนเทนต์ ต้องวางคอนเซ็ปต์ของวิดีโอให้ถูกต้อง เพื่อจะได้วางแผนระยะยาวถึงการเลือกช่องทางการเผยแพร่ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย หากกลุ่มเป้าหมายชัดและเคลียร์ การผลิตวิดีโอจะง่ายมากขึ้น และตรงโจทย์ ตรงจุด ตรงใจคนดู โดยกระบวนการวางแผนก่อนจะผลิตวิดีโอคอนเทนต์นั้น จะสามารถแบ่งคอนเซ็ปต์ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตวิดีโอคอนเทนต์นั้น คือ ต้องสามารถวิเคราะห์ความต้องการว่า ต้องการสื่อสารอะไร ไปถึงใคร ลูกค้าของเราคือใคร และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน หากเราศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วนแล้วนั้น การผลิตวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อนำไปใช้สร้างผลลัพธ์ทางการตลาดนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยาก
3. เลือกช่องทางเผยแพร่ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการเผยแพร่วิดีโอสำคัญ คือ หากเลือกแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ก็มีโอกาสสูงที่วิดีโอของจะเข้าถึงผู้ชมได้ โดยเฉพาะความนิยมของแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ รวมถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มเอเชีย Facebook และ Youtube ยังเป็นช่องทางที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ ดังนั้น การเจาะลึกถึงเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในแต่ละแอพพลิเคชั่นในการเผยแพร่วิดีโอมาร์เก็ตติ้งนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในช่วงเวลานี้ และในกรณีที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่าง ก็ควรสร้างวีดีโอที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับช่องทางนั้นๆ และไม่ควรใช้วีดีโอชิ้นเดิม เพราะผู้ใช้คนเดียวไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียเพียงแพลตฟอร์มเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง ถือว่าเป็นกลยุทธ์ขั้นเทพสำหรับการสร้างแบรนด์ สินค้าและผลิตภัณฑ์ ในช่วงสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า ประชากรกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลกใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน นั่นจึงถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง นอกจากนี้วิดีโอคอนเทนต์ยังเป็นเครื่องมือในการครองใจผู้บริโภคแถมยังช่วยสร้างการจดจำและแรงจูงใจให้เข้าถึงแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ง่ายอีกด้วย
นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กล่าวว่า “เมื่อผู้ประกอบการได้เรียนรู้หลักสูตรดังกล่าวแล้ว จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ทั้งในฐานะผู้ทำการตลาดโดยการใช้วิดีโอมาร์เก็ตติ้ง ในฐานะผู้ว่าจ้างบริษัทผู้ให้บริการในการผลิตและเผยแพร่วิดีโอ หรือในฐานะผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตวิดีโอและเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ด้วยตนเองนั้น เรียกได้ว่า “จะสามารถนำพาธุรกิจ แบรนด์ สินค้าและผลิตภัณฑ์ ไปสู่ความสำเร็จด้านยอดขาย และสามารถสร้างการยอมรับและการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง” โดยเมื่อจบหลักสูตรนี้แล้วผู้ประกอบการจะมีความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้วิดีโอมาร์เก็ตติ้งเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ และมีความรู้เบื้องต้นในการผลิตวิดีโอ ตั้งแต่การค้นหาแนวคิด การผลิตเนื้อหา การถ่ายทำ การตัดต่อ และวิธีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เช่น Youtube.com เป็นต้น
นอกจากนั้น สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยังได้จัดทำระบบการเรียนการสอนออนไลน์ “E- Academy” คือ ระบบการเรียนรู้ผ่านระบบ E-Learning ที่บรรจุหลักสูตรกว่า 21 หลักสูตรผ่านการสอนจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักสูตร ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มหลักสูตรด้าน E-Commerce และการค้ายุคใหม่ กลุ่มที่ 2 กลุ่มหลักสูตรเบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งออก และกลุ่มที่ 3 กลุ่มหลักสูตร ด้านการเจาะตลาดต่างประเทศ โดยมีหัวข้อในการเรียนเป็นรายวิชา อาทิ วิชาเบื้องต้นสตาร์ทอัพ (STARTUP) ITE001 วิชาการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) NEF002 วิชาการขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดน (Cross-border e-Commerce) เป็นต้น
หากสนใจสามารถเข้าไปสมัครเรียนได้ที่ https://e-academy.ditp.go.th/ และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆ ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้ที่ nea.ditp.go.th หรือ www.ditp.go.th หรือ www.facebook.com/nea.ditp หรือ สายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit