การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชากรโลกในปัจจุบัน โดยในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 2,854 รายและผู้เสียชีวิต 50 ราย ณ วันที่ 24 เมษายน 2563[1] แม้ว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรงและไม่ส่งผลถึงชีวิต แต่การติดเชื้อสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถลุกลามอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด หนึ่งในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นอกเหนือจากผลกระทบด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว การแพร่กระจายของไวรัสยังส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข เนื่องมาจากการลดลงอย่างรวดเร็วของเวชภัณฑ์ และ ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวนเตียงผู้ป่วยลดลง และที่สำคัญที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์อาจมีความเหนื่อยล้า จากการที่ต้องทำงานอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงของการแพร่ระบาด
ปัจจุบันได้มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดผ่านการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังสำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเต้านมแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลลง เมื่อเทียบการรักษาทั้งสองวิธีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับเคมีบำบัดทั้งหมด 18 รอบแล้ว การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังสำหรับการรักษามะเร็งเต้านมสามารถลดระยะเวลารักษาได้ถึง 53.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถลดเวลาการรักษารวมทุกขั้นตอนเมื่อเทียบกับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำจาก 23 ชั่วโมงเหลือเพียงน้อยกว่า 7 ชั่วโมง[2] ทั้งยังช่วยลดเวลาของแพทย์ผู้รักษาและพยาบาลในการเตรียมปฏิบัติการ และการรักษาด้วยเคมีบำบัดวิธีนี้ในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังสามารถประหยัดเวลาการรักษาและอยู่ในโรงพยาบาลได้ถึง 32 เปอร์เซ็นต์[3]
นพ. ไนยรัฐ ประสงค์สุข ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า “ในขณะที่การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
เป็นวิธีการรักษาที่แพร่หลายที่สุดในการทำเคมีบำบัด
ซึ่งระยะเวลาในการรักษาแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาพอสมควร ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานหลายชั่วโมงต่อรอบ
ซึ่งขณะนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องลดเวลาในการรักษาในโรงพยาบาลให้น้อยลงเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
ซึ่งอีกหนึ่งตัวเลือกที่ว่าคือ การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นชั้นไขมันระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อ
การรักษาโดยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมีเวลาในการรักษาในแต่ละรอบที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
และมีผลการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าการรักษาโดยการให้ยาเข้าใต้ผิวหนังนั้น
มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่าการรักษาโดยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ”
ในขณะที่มีการรณรงค์เรื่อง การรักษาระยะห่างทางกายภาพ
ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 มากขึ้น การรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลอย่างการทำเคมีบำบัดมีระยะเวลาในการรักษาและจำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลตามรอบที่กำหนด
ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลหลายครั้งตลอดระยะเวลาการรักษา
โดยทั่วไปโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะใช้การรักษาด้วยวิธีฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เนื่องจากช่วยให้ยาสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้รวดเร็ว
ซึ่งระยะเวลาและความถี่ในการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค
การตอบสนองต่อยา รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อ.นพ. อาจรบ คูหาภินันทน์ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กล่าวเสริมว่า “จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน
ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องเผชิญกับปัญหาในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นอย่างมากเพราะยิ่งผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลนานแค่ไหน
ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่อาจสัมผัสหรือติดเชื้อไวรัสได้มากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
ทำให้มีการลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ลง ดังนั้นการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าผิวหนังไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยและญาติ
แต่ยังถือเป็นการช่วยบุคลากรทางการแพทย์อีกทางหนึ่ง ทำให้แพทย์และพยาบาลมีเวลามากขึ้นสำหรับการรักษาผู้ป่วยรายอื่น
ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสซึ่งทำให้ทรัพยากรและระบบดูแลสุขภาพที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัดและไม่เพียงพอ”
ปัจจุบันมีผลการศึกษาทางการแพทย์ในประเทศเบลเยียมและอิสราเอลที่ได้สำรวจความพึงพอใจของการรักษาด้วยเคมีบำบัดเข้าใต้ผิวหนัง
โดยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปให้การรักษานี้ที่บ้านของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อประเมินความสะดวกและเป็นอีกทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นให้แก่ผู้ป่วย
ซึ่งผลการสำรวจ[4] พบว่า ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ต่างมองเห็นประโยชน์
และมีความพึงพอใจกับการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าใต้ชั้นผิวหนังที่บ้านเป็นอย่างยิ่ง
โดยความสำเร็จจากผลการศึกษานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อให้นวัตกรรมทางการรักษามีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยและทั่วโลก
ทั้งยังช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมในอนาคตอีกด้วย
การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ถือเป็นก้าวสำคัญของวิทยาการทางการแพทย์ ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน
ระยะเวลาในการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์มีความคล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อไวรัสสำหรับตัวผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ติดตามเองอีกด้วย
[1] “รายงานสถานการณ์โควิด-19” Ministry of Public Health, 24 Apr. 2020, covid19.moph.go.th/#/portal
[2] Cancer Medicine 2016; 5(3):389–397.
[3] Erwin DC, et al. Time & Motion study in Eight Counties, 2016.
[4] Bennett, Christina. At-Home Subcutaneous Injection of Trastuzumab Meets Safety Endpoint. https://journals.lww.com/oncology-times/Fulltext/2017/02101/At_Home_Subcutaneous_Injection_of_Trastuzumab.16.aspx
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit