อสังหาริมทรัพย์
สิ่งปลูกสร้าง แหล่งพลังงาน หรือแม้แต่กระแสไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงภาคส่วนต่าง ๆ
จะขับเคลื่อนทุกชีวิตให้สมบูรณ์ได้อย่างไร หากขาด “ทีมวิศวกรคุณภาพ”
ผู้ทำงานอยู่เบื้องหลัง คอยควบคุมคุณภาพ และพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ
ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอยู่เสมอ “วิศวกร”
จึงถือเป็นกองกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ
ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างความมั่นคงและปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน อีกทั้งยังต้องเตรียมแผนรับมือ-ป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ระหว่างการทำงานอีกด้วย
ดังนั้น หากคุณเป็น “วิศวกรจบใหม่” ที่สำเร็จการศึกษาในปริญญาที่ “สภาวิศวกร” รับรอง อีกทั้งมุ่งทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้คน ครอบคลุม 7 สาขาวิศวกรรมนั้น จะต้อง “ยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” เพื่อเป็นการยืนยันถึงศักยภาพ และมาตรฐานความรู้ในการประกอบอาชีพวิศวกรรมสาขานั้น ๆ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ว่าจ้าง ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในอนาคต แต่ทั้งนี้ การยื่นขอรับใบอนุญาตฯ ดังกล่าว จะพาทำให้วิศวกรผู้ขอได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ได้วัดศักยภาพรายบุคคล พร้อมประเมินโอกาสการเติบโตในสายงานวิศวกรรม เพราะการวัดความรู้ความสามารถวิศวกรรายบุคคล ที่ผ่านการสมัครเป็น “สมาชิกสภาวิศวกร” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการผ่านการสอบในหมวดวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และวิศวกรรมหลักเฉพาะสาขา ถือเป็นบททดสอบแรกในการก้าวเป็นวิศวกรชำนาญการ เมื่อผ่านการทดสอบ โดยมีคะแนนจากสองหมวดความรู้ที่มากกว่า 60% นั้น จะต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบความรู้เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพ และเมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสภาวิศวกร ก็จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม “ระดับภาคีวิศวกร” ซึ่งเป็นการรับประกันมาตรฐานและศักยภาพของวิศวกร พร้อมระบุถึงขอบเขตการทำงานในด้านวิศวกรรม ขั้นพื้นฐาน เช่น สายงานวิศวกรรมโยธา สามารถควบคุมการสร้างคลังสินค้าได้ทุกขนาด สายงานวิศวกรรมเครื่องกล สามารถออกแบบและคำนวณเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องทำความเย็นที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง
อย่างไรก็ตาม ผลสอบความรู้ฯ ระดับภาคีดังกล่าว สามารถสะสมได้ 2 ปี โดยวิศวกรจบใหม่ที่สนใจ สามารถยื่นสมัครสอบได้ที่ www.coe.or.th ทั้งนี้ ในอนาคต หากต้องการเปิดประสบการณ์ทำงานในสายวิชาชีพที่กว้าง และท้าทายความสามารถในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความมั่นคงทางการเงินนั้น จะต้องทำการยื่นเอกสารขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เพื่อเลื่อนระดับเป็น สามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกร ตามลำดับ โดยนำเสนอเอกสารสรุปผลการทำงานที่โดดเด่นแก่เจ้าหน้าสภาวิศวกร เพื่อขอนัดสอบสัมภาษณ์เป็นลำดับต่อไป
- ได้สิทธิพิเศษร่วมเสวนาฟรี! แบบ NO LIMIT พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เฉพาะสมาชิก เพราะเมื่อก้าวมาเป็นครอบครัวเดียวกับสภาวิศวกร ในฐานะ “สมาชิกสภาวิศวกร” แล้ว จะได้รับสิทธิเข้าร่วมงานอบรม/ เสวนา ฟรี! จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของไทย อีกทั้งยังมีประสบการณ์ทำงานร่วมกับต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์แบบถ่ายทอดสดทาง www.coe.or.th ในหลากประเด็นร้อน อาทิ เสวนา “เมกะโปรเจกต์ภาครัฐ วิศวกรไทยได้หรือเสีย” และเสวนา “รวมพลังปัญญา แก้ปัญหา ฝุ่นพิษ” โดยผู้สนใจสามารถติดตามประเด็นอบรม/ เสวนา ที่น่าสนใจได้ที่ www.coe.or.th (หัวข้อ : ข่าวสัมมนา และอบรม) หรือดูย้อนหลังได้ที่ www.facebook.com/coethailand
แต่ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สภาวิศวกร มีความห่วงใยในสุขภาพของสมาชิกทุกท่าน จึงขอเลื่อนการจัดอบรม/ เสวนาต่าง ๆ ออกไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ
- ได้รับบริการที่สะดวกสบาย โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ปัจจุบัน สภาวิศวกร ได้ปรับรูปแบบการให้บริการแก่สมาชิกที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน เผชิญกับภาวะฝุ่นหรือโควิด-19 ผ่านทางเว็บไซต์สภาวิศวกร อาทิ การสมัครสมาชิกวิศวกรและขอรับใบอนุญาต สมัครอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ขอเลื่อนระดับใบอนุญาต ทุกระดับ ทุกสาขา ขอรับใบอนุญาตฯ นิติบุคคล และขอรับรองใบปริญญา โดยสภาวิศวกร จะดำเนินการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่สมาชิกแจ้งไว้ นอกจากนี้ ยังไม่พลาดทุกข่าวสารสำคัญของสภาวิศวกร เพียงติดตามผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- เว็บไซต์ www.coe.or.th
- เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/coethailand
-
ไลน์ไอดี @coethai
-
อินสตาแกรม Instagram :
council_of_engineers_thailand
- ได้เรียนรู้ กระตุกต่อมคิด ร่วมกับวิศวกรรุ่นอาวุโสโดยตรง เพราะจากตารางอบรม/ เสวนาของสภาวิศวกร ที่มีต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อเพิ่มพูนทักษะของวิศวกรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร รายสาขา รวมถึงหลักสูตรอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องวิศวกรรม (CPD) ณ องค์กรแม่ข่าย จะได้รับความสนใจจากวิศวกรหลากหลายรุ่น ทั้งวิศวกรรุ่นอาวุโส ที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ วิศวกรรุ่นใหม่ ที่ไฟแรงและพร้อมเรียนรู้ทุกสิ่ง ดังนั้น วิศวกรรุ่นใหม่ จึงสามารถใช้โอกาสนี้ ในการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจากวิศวกรรุ่นอาวุโส ทั้งด้านวิชาการ การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิต
- ได้เครือข่ายในสายงานวิศวกรรม นอกเหนือไปจากความรู้ต่าง ๆ จากการอบรมและเข้าร่วมสัมมนาแล้ว สิ่งหนึ่งที่วิศวกรใหม่ จะได้รับมาโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ “เครือข่าย” เพราะงานอบรมถือเป็นแหล่งรวมเครือข่ายพันธมิตรคุณภาพ ในสายงานวิศวกรรม เนื่องจากการอบรมในแต่ละครั้ง จะมีโอกาสได้พบกับสมาชิกสภาวิศวกร ในหลายรุ่น และพรั่งพร้อมด้วยประสบการณ์ด้านงานวิศวกรรมจำนวนมาก ที่สามารถพูดคุยและต่อยอดในสายอาชีพได้ในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา มีวิศวกรให้ความสนใจเข้าร่วม และรวมทีมกันพัฒนาโครงการด้านวิศวกรรมจนประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก
- ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เบิกเส้นทางทำงานแบบมืออาชีพ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันสายงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้คนใน 7 สาขา ได้แก่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และ วิศวกรรมเคมี ยังขาดแคลนวิศวกรมืออาชีพจำนวนมาก ดังนั้น การมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ เรียบร้อยแล้ว ย่อมสร้างความเชื่อมั่นแก่บริษัทผู้ว่าจ้าง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็น วิศวกรที่พร้อมด้วยความรู้ด้านประกอบวิชาชีพและจรรยาบรรณ อีกทั้งยังมีโอกาสเติบโตในสายงานที่สูง มีรายได้ที่มั่นคง และมีประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย ด้วยขอบข่ายที่รับผิดชอบแต่ละระดับใบอนุญาตฯ ที่แตกต่างกัน
สภาวิศวกร มุ่งเดินหน้าเป็นองค์กรนำร่วมกันพัฒนาชาติประเทศและสังคมไทย ให้เป็นสังคมคุณภาพสูง ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ศรัทธาอันแรงกล้า และความภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งอาชีพวิศวกรรมของพวกเราทุกคน ดั่งปณิธานที่พวกเราร่วมกันน้อมนำและเตือนสติให้พึงระลึกไว้เสมอว่า “ข้าฯ คือ วิศวกร”
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ สายด่วน 1303 เว็บไซต์ www.coe.or.th หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/coethailand และไลน์ไอดี @coethai
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit