ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเมืองท่องเที่ยวในวิกฤตโควิด พลิกวิกฤตเป็นโอกาสของเมืองอย่างยั่งยืนในภาวะโรคระบาด สร้างแบรนด์เมืองปลอดเชื้อ / ตรวจโรคเข้มเมืองต้นทางถึงเมืองปลายทาง / เชื่อมต่อเมืองกับบริการสาธารณสุขคุณภาพ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมืออย่างเร่งด่วนแข่งกับเวลา ป้องกันธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและลูกจ้างได้รับผลกระทบ ย้ำเมืองท่องเที่ยวต้องพร้อมเป็นเมืองล้มลุก ที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันได้เสมอ
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) หนึ่งในศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) นำเสนอยุทธศาสตร์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยวในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาเมืองภูเก็ต โดยการออกแบบนิเวศแห่งการท่องเที่ยวเพื่อรองรับมาตรการสาธารณสุข ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่กำลังมองหาที่พักพิงหรือลี้ภัยในช่วงวิกฤติ ปรับเมืองภูเก็ตกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและอยู่อาศัยชั่วคราวที่ปลอดภัย สร้างระบบความเชื่อมั่น (Immunitised Community) บนพื้นฐานของการปรับตัวของต้นทุนทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ของเมือง โดยใช้ยุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ ดังนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 สะท้อนให้เห็นจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism Dependency) เฉพาะเมืองภูเก็ต แต่ละปีสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศได้มหาศาล มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดประมาณ 450,000 ล้านบาทต่อปี โดยร้อยละ 49 มาจากภาคท่องเที่ยวและบริการ ทว่าทันที่ภาครัฐกำหนดมาตรการเข้มป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวเกิดภาวะชะงักงัน จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อให้ภูเก็ตและเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ กลับมาเป็นเป้าหมายการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความเชื่อมั่น และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป
“มาตรการที่จะช่วยฟื้นฟูพื้นที่เมืองหลวงของการท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตนั้น เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันเสนอแนะและดำเนินการอย่างเร่งด่วนแข่งกับเวลา เนื่องด้วยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลย ที่เป็นต้นทางของการจ้างงาน ซึ่งต่างมีข้อจำกัดเรื่องสายป่านของทุนที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงและฟื้นตัว อันเป็นเหตุให้ต้องเร่งวางยุทธศาสตร์และวางแผนดำเนินการฟื้นตัวพร้อมกับการเยียวยาตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่สายป่านจะหมดแล้วเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซ้ำอีกระลอกจนฟื้นตัวได้ยากกว่าเดิม” ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้ยุทธศาสตร์ 3 ประการสัมฤทธิ์ผล เมืองท่องเที่ยวจำเป็นต้องดำเนินมาตรการอย่างเป็นระบบใน 8 ขั้นตอน ตั้งแต่พื้นที่ต้นทางถึงพื้นที่ให้บริการ ดังนี้
ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 มีแนวโน้มไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรืออาจต้องใช้เวลาปรับตัวยาวนานร่วม 2-3 ปี ซึ่งขณะนั้นความต้องการของนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไป ทั้งในเชิงประสบการณ์และความต้องการส่วนบุคคล เช่น ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและความสะอาดมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่สิ่งสำคัญคือภาคการท่องเที่ยวจำเป็นต้องถอดบทเรียน เพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน ดังนั้น โจทย์สำคัญของการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการออกแบบหรือข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ คือการเตรียมความพร้อมให้เกิดภาวะล้มลุกอย่างมีเสถียรภาพ
“ยุทธศาสตร์สำคัญของความล้มลุกคือ ต้องมียาสำรองในกระเป๋าอยู่เสมอเพื่อเยียวยาและรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น และต้องทำให้ทันท่วงที สำหรับภูเก็ตเอง ในฐานะมหานครด้านการท่องเที่ยวทางภาคใต้ของประเทศไทย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมหานครการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเลยก็ว่าได้ คงหนีไม่พ้นกับโจทย์ด้านความสามารถในการล้มลุก รวมถึงการตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เพื่อให้สามารถยังคงใช้ศักยภาพและจุดแข็งด้านการเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ ความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบัน และอนาคตหลังการเปิดเมือง เพราะนี่คือโอกาสของปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด และก้าวกระโดดต่อไปอย่างมีเสถียรภาพ” ผู้อำนวยการ UddC- CEUS กล่าวปิดท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit