ล่าสุดข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในปี 2562 รายงานว่าผู้ป่วยต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลฯ สูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยกลุ่มประเทศที่เดินทางมารักษามากที่สุด คือ เมียนมา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องด้วยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 18.1 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทย มีข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 120,000 คนต่อปี และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 70,000 คนต่อปี โดย 5 อันดับแรกที่เป็นปัญหาหลักของประเทศ คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คิดเป็นร้อยละ 51.86 ของมะเร็งทั้งหมด
จากประสบการณ์ 40 ปีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และในฐานะผู้นำการให้บริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลกด้วยนวัตกรรม โรงพยาบาลมี core competencies หรือจุดแข็ง 3C ได้แก่
ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้พัฒนายกระดับ “ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน” ซึ่งเป็นอีกศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Excellence Center) เพื่อให้การดูแลรักษาโรคมะเร็งอย่างครอบคลุมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการจากหลายสาขาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านมะเร็งโดยเฉพาะ ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษา การติดตามผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ไปจนถึงการดูแลด้านสภาวะจิตใจ โภชนาการ การจัดการกับความเจ็บปวด และการเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคอย่างใกล้ชิด และมีห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากลอยู่ภายในโรงพยาบาล ทำให้ได้ผลตรวจรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังมีศูนย์การรักษาโรคมะเร็งที่ก้าวไปอีกขั้นอย่างครบวงจร เรียกว่า “คลินิกเอสเพอรานซ์” เป็นการรักษามะเร็งเชิงบูรณาการ โดยจะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อลดผลกระทบร้ายแรงจากมะเร็ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้คีโม หรือวิธีฉายแสง ถือเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งจะเป็นการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงที่ออกแบบสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ
นพ. ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งฮอไรซัน และอายุรแพทย์ด้านโลหิตวิทยา และเนื้องอกวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์ของการรักษาโรคมะเร็ง ร่วมกับความเชี่ยวชาญของแพทย์ทำให้การต่อสู้กับมะเร็งในปัจจุบันมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการรักษา ยกตัวอย่าง การผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จะมีเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องสำหรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม รวมทั้งมีเทคนิคการผ่าตัดแบบรักษาอวัยวะ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดบริเวณลำไส้ตรง ในอดีตถ้ามะเร็งมีขนาดใหญ่ การผ่าตัดจะไม่เหลือเนื้อเยื่อมากพอที่แพทย์จะตัดต่อลำไส้ให้ผู้ป่วยขับถ่ายผ่านช่องทางปกติได้ ต้องต่อออกมาทางหน้าท้องแล้วติดถุงไว้ แต่ปัจจุบันนี้แพทย์สามารถผ่าตัดมะเร็งออกไป พร้อมตัดต่อลำไส้ให้ผู้ป่วยขับถ่ายได้ตามปกติ เป็นต้น”
นพ. ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบัน โรงพยาบาลฯ มีนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อตรวจหาความผิดปกติของยีนเพื่อวิเคราะห์โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งของแต่ละบุคคลในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนออกแบบโปรแกรมการดูแลตนเองได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยสาเหตุการเกิดมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตถือเป็นอีกสาเหตุสำคัญ กลุ่มเสี่ยงจึงควรมาตรวจคัดกรองประเมินผลเพื่อป้องกันหรือรักษาอย่างทันท่วงที ในกรณีที่พบเจอชิ้นเนื้อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ทำให้รักษาโรคได้อย่างแม่นยำ และวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีพยาธิแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นเนื้ออย่างละเอียด ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อต้องอาศัยความชำนาญขั้นสูงเพื่อความแม่นยำ ถัดไปจึงเป็นการวางแผนการรักษา โดยการผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน อาทิ การรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด, การฉายรังสี (การฉายแสง), การฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT, การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก (Stem cell), การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy), การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) หรือ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นต้น”
ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯ จะมีการประชุมของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้อง lab และเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน ซึ่งได้นำนวัตกรรม IBM Watson for Oncology ระบบ AI เข้ามาช่วยในการประมวลผลเพื่อตัดสินใจวางแผนการรักษามะเร็ง โดยใช้เทคโนโลยี Cognitive Computing เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์เพื่อให้เกิดการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงมีการทดสอบการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชิ้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
นพ. ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา กล่าวทิ้งท้ายว่า “เนื่องด้วยผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมักมีสภาวะจิตใจที่วิตกกังวลและมีความเครียดในหลายๆ เรื่อง ทั้งในเรื่องความชำนาญการของแพทย์ ค่าใช้จ่าย และกลัวว่าจะเจ็บปวดทรมานมั้ย จะมีโอกาสหายหรือไม่ ซึ่งศูนย์มะเร็งฮอไรซัน เราได้คำนึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ จึงมีแพทย์เฉพาะทางและบุคลากรสหสาขาวีชาชีพคอยดูแลในด้านจิตใจ คอยพูดคุยให้กำลังใจและยอมรับฟัง ควบคู่ไปกับการรักษาโรค และซึ่งแพทย์ที่จะให้เวลากับผู้ป่วยและญาติเป็นอย่างมาก ในการอธิบายถึงขั้นตอนและแผนการรักษา ข้อแตกต่างในการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ พร้อมให้ความกระจ่างในสิ่งที่สงสัย รวมถึงมีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาให้ทราบเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยลดความกังวลลงได้ เนื่องจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามีทีมแพทย์ชำนาญการด้านมะเร็ง กว่า 30 คน มีวิธีการรักษาแบบผสมผสาน มียาที่มีคุณภาพสูงเพื่อลดอาการข้างเคียง รวมถึงมีเทคโนโลยีที่วิเคราะห์แม่นยำตรงจุด มีเทคนิคต่าง ๆ ที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์มะเร็งฮอไรซันได้มีการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมาแล้ว กว่า 24,000 ราย ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวคนใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญ ล่าสุดโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ร่วมพันธมิตรกับกรุงเทพประกันชีวิต ภายใต้โครงการ “2B Care Privilege” เป็นการยกระดับการมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้เอาประกัน โดยมุ่งเน้นการรักษาโรคมะเร็งครอบคลุมทุกมิติ”
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 1378
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit