“ประเทศไทย” ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่เชี่ยวชาญในด้านการทำเกษตรกรรม มีพืชพรรณนานาชนิดสำหรับการบริโภค แต่ถึงแม้ว่าจะมีความเลื่องชื่อและเชี่ยวชาญในเรื่องการเพาะปลูก รวมถึงมีเกษตรกรเป็นจำนวนมาก แต่ในเรื่องการประยุกต์เป็นสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าในการค้าขาย และเพื่อการส่งออกนั้นยังจำเป็นต้องพัฒนาอยู่อีกมาก ซึ่งในวันนี้จะเห็นได้ว่าเกษตรกรรมในประเทศไทยยังเสียโอกาสในเรื่องของสินค้าที่มีความสร้างสรรค์และมีมูลค่าสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลาย ๆ ภาคส่วนจำเป็นต้องผลักดันร่วมกัน เพื่อให้สัดส่วนทรัพยากรที่มีอยู่สร้างความได้เปรียบมากขึ้น
แบรนด์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์พืชผลทางการเกษตรให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่า และหลายคนน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ “กรีนเดย์” ธุรกิจที่นำเทคโนโลยีการอบแบบแช่แข็งและใช้การทอดสูญญากาศ (Vacuum frying) ที่ทันสมัยนำมาใช้ในการแปรรูปผักผลไม้เป็น ขนมอบกรอบเพื่อสุขภาพ ที่วางจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งวันนี้เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณชัยรัตน์ คงศุภมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท กรีนเดย์
โกลบอล จำกัด ได้มาถ่ายทอดทริคในการสร้างสรรค์สินค้าเกษตรให้มีมูลค่า ในหลักสูตร “The Guru ปันความรู้สู่ภูมิภาค” ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หากเกษตรกรหรือผู้ประกอบธุรกิจคนไหนอยากพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเช่น “กรีนเดย์” ต้องไม่พลาดทริคดี ๆ ที่นำมาฝากในวันนี้
คุณชัยรัตน์ เล่าว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจผลไม้อบแห้งแบรนด์ “กรีนเดย์” นั้น เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ตั้งแต่รุ่นของคุณพ่อที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้าประเภทอาหารไทย เช่น ขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว กะปิ น้ำปลา ไปจนถึง ครก ศาลเจ้า กระดาษเงิน กระดาษทอง ส่งออกไปยังตลาดไชน่าทาวน์ที่กระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว และเมื่อคุณชัยรัตน์ เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มบุกเบิกธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว เพราะไม่อยากขายผลไม้ดอง ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวอีกต่อไป จึงได้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจว่าสินค้าเกษตรประเภทอาหารของไทย สามารถเป็นที่ยอมรับของต่างชาติได้ จึงได้เริ่มการทำธุรกิจที่สร้างผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปที่แตกต่างออกไป ไม่เน้นแข่งด้านราคา แต่มุ่งเน้นที่คุณภาพ ประกอบกับคุณพ่อมีเครือข่ายลูกค้าในต่างประเทศอยู่แล้วจึงเข้ามาสานต่อ ช่วงแรก ๆ จะแปรรูปขนุน สับปะรด กล้วย มันเทศ เผือก ซึ่งทำเป็นผลไม้รวมออกมา และจากจุดเริ่มต้นที่มีเครื่องจักรแค่ 2 ตัว แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี “กรีนเดย์” ได้ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบผู้ผลิตผักผลไม้อบกรอบ สินค้าที่คนรักสุขภาพ ที่คนทั่วโลกพากันนิยมชมชอบ จนกลายเป็นบริษัทระดับแนวหน้าของไทยในเวลานี้อย่างเต็มภาคภูมิ
สิ่งสำคัญในการสร้างตลาด และแบรนด์ของกรีนเดย์ที่ประสบความสำเร็จนั้น คุณชัยรัตน์เล่าว่า ต้องมีองค์ประกอบ ทั้งเล็กและใหญ่ ดังนี้
การผลิตจึงเป็นโจทย์ที่ต้องตีให้แตก ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่ต้องเรียนรู้คือ เกษตรพันธสัญญา (Contact farming) ระบบการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูกพืช ที่มีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกรหรือเจ้าของฟาร์ม กับคู่สัญญา ซึ่งมักเป็นบริษัทเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตจากอีกฝ่ายในราคาที่ตกลงกันตั้งแต่ต้นซึ่งเรียกว่า "ราคาประกัน" ดังนั้นผู้ประกอบการจึงจะได้รับผลผลิตที่ตรงตามความต้องการได้อย่างแท้จริง
4.กลยุทธ์เจาะตลาดตรงเป้าทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาใหญ่ที่สุดของผู้ประกอบการ SME ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ คือช่องทางจัดจำหน่าย “กรีนเดย์” ในช่วงเริ่มต้นก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดมากนัก ดังนั้นการที่จะนำสินค้าเข้าไปวางในห้างสรรพสินค้า ร้านโมเดิร์นเทรดหรือร้านสะดวกซื้อ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก และจะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ แนะนำให้ออกบูธเพื่อจะได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกับคู่ค้าอื่นๆ แต่หากมีเงินทุนยังไม่มากนัก และคิดจะเจาะตลาดต่างประเทศให้ได้ผลแต่ต้นทุนต่ำ แนะนำให้ใช้บริการ 1169 ของ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอข้อมูลลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งทางกรมฯ ก็จะส่งรายชื่อให้เลือกว่ามีประเทศไหนบ้างที่น่าสนใจที่จะทำการค้าร่วมกัน กลยุทธ์เหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่จะนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง ซึ่งกรีนเดย์ก็ใช้ประโยชน์ตรงนี้ไม่น้อย
นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กล่าวว่า สถาบันได้จัดทำหลักสูตร การบริหารธุรกิจการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก ภายใต้ระบบการเรียนรู้ในรูปแบบ E-Learning ที่เรียกว่า “The Guru ปันความรู้สู่ภูมิภาค” ขึ้น ภายใต้แนวคิด “Edutainment ซีรี่ส์” หลักสูตรการค้าออนไลน์ ผสานสาระและความบันเทิงในมิติใหม่ อีกหนึ่งการเรียนรู้ในแพลตฟอร์มของ NEA E-Learning Universe แนวทางที่จะเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการไทย และนำพาผู้ประกอบการไปสู่ช่องทางออนไลน์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งยังคงมีอีกหลายหลักสูตรที่น่าสนใจ และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการไทยในยุคปัจจุบันที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงขั้นรุนแรง มีความไม่มั่นคงในธุรกิจสูงมาก ดังนั้นความอยู่รอดของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะขนาดของธุรกิจ และทรัพยากรที่มี แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่า ดังนั้น สถาบันจึงได้เห็นความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้และทักษะ รวมถึงประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ จากผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรงให้กับผู้ประกอบการได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะส่งสินค้าไทยไปเติบโตไกลในตลาดโลก และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆ ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA)ได้ที่ nea.ditp.go.th หรือ www.ditp.go.th หรือ www.facebook.com/nea.ditp หรือ สายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit