นายกฯ ฟื้นฟูขสมก.วันนี้ ผอ.มั่นใจ คนร.เห็นชอบ ลดขาดทุน-ปชช.ได้ประโยชน์

08 Jun 2020

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก.  เปิดเผยว่าแผนฟื้นฟูขสมก.มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ 1. เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน  2. เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและลดมลภาวะ 3. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุนของขสมก. อย่างยั่งยืนและไม่เป็นภาระต่อภาคัฐ  โดยมีเป้าหมายคือ หากแผนฟื้นฟูฉบับปรับปรุงได้รับการพิจารณาอนุมติในที่ประชุม จะทำให้ขสมก. เดินหน้าลดต้นทุนจัดหารถใหม่ให้ขสมก. และเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก สำคัญคือต้องลดค่าโดยสารเหลือวันละ 30 บาท ขึ้นกี่เที่ยวกี่สายก็ได้ไม่จำกัด ยกเลิกโครงการจัดซื้อรถโดยสาร ตัดขาดขบวนการเพิ่มหนี้ล ดต้นทุนทุกประเภท เผยต่อไปนี้ ขสมก.ไม่ต้องลงทุนเองหันมาใช้โมเดลเดียวกับต่างประเทศจัดจ้างเอกชนลงทุนจัดหารถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือ NGV เท่านั้นไม่ก่อมลภาวะโดยเฉพาะละอองฝุ่น pm.2.5    

นายกฯ ฟื้นฟูขสมก.วันนี้ ผอ.มั่นใจ คนร.เห็นชอบ ลดขาดทุน-ปชช.ได้ประโยชน์

บ่ายวานนี้ (6 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. เผยถึงแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ว่าเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนตนขอเปรียบเทียบแผนฟื้นฟูฉบับเดิมกับแผนฟื้นฟูฉบับปัจจุบัน กล่าวคือแผนฟื้นฟูเดิมนั้นยังไม่ตอบโจทย์เรื่องของการลดภาระค่าโดยสารจากประชานและยังคงสร้างภาระหนี้เพิ่มด้วยการจัดซื้อรถใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2,500  คัน โดยต้องใช้วงเงินกู้กว่าสองหมื่นล้านบาทและใช้วิธีการผลักภาระให้ประชาชน  โดยเพิ่มค่าโดยสารจากเดิม 9-15 บาทขึ้นเป็น 15,20,25 บาทเมื่อเปรียบจากแผนเดิมเฉลี่ยคนเดินทางไปกลับ 2.04 เที่ยว/วัน ต้องจ่ายค่าโดยสารอย่างน้อย 48 บาท/วัน แต่แผนใหม่จ่ายทั้งวัน 30 บาท จะขึ้นกี่สายกี่เที่ยวก็ได้ไม่จำกัด โดยมีแผนรองรับเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรนักเรียนหรือบัตรรายเดือน เพื่อเป็นการรองรับผู้โดยสารที่มีรายได้น้อย     ที่สำคัญแผนฟื้นฟูฉบับปรับปรุงนี้จะทำให้ต้นทุนการให้บริการของขสมก. ลดลงจาก 54 บาทต่อกิโลเมตร ลดลงเมื่อจ้างเอกชนเดินรถจะเหลือไม่ถึง 34 บาทต่อกิโลเมตร  ซึ่งสอดคล้องกันกับช้อมูลของนายสุเมธ องกิตติกุล ผอ.วิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ.กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดในอดีตของ ขสมก.ที่มีปัญหามากพอสมควรคือ โครงสร้างต้นทุนค่อนข้างสูงได้แก่บุคลากรและเชื้อเพลิง ปัจจุบัน ขสมก.มีพนักงานเกือบ 14,000 คน รถ 1 คันต้องใช้พนักงานขับรถถึง 3 คน ล่าสุดมีพนักงานเก็บค่าโดยสาร 5,781 คน ตรงนี้คือต้นทุนโครงสร้างด้ายบุคลากร ส่วนโครงสร้างด้านเชื้อเพลิง ถ้าเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าหรือ NGV ก็จะช่วยลดต้นทุนได้อีกทาง    

นอกจากต้นทุนต่อกิโลเมตรลดลงแล้ว แผนฟื้นฟูฉบับใหม่มีความจำเป็นต้องกำหนดเส้นทางเดินรถใหม่ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางบนค่าโดยสารใหม่ทั้งวันได้แบบไร้รอยต่อ ซึ่งแต่ละเส้นทางต้องไม่ทับซ้อนกันเหมือนทุกวันนี้  ที่มีจำนวนรถโดยสารอยู่บนท้องถนนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น เส้นทางบนถนนพหลโยธินเพียงสายเดียวมีเส้นทางเดินรถทับกันถึง 30 เส้นทาง เฉลี่ยเส้นทางละ 30 คัน เท่ากับมีรถเมล์ 900 คันจอดเรียงรายบนถนนพหลโยธิน รถเมล์ 1 คันยาว 12 เมตรเท่ากับเราเสียพื้นที่ถนนไป 10  กิโลเมตร แต่ถ้าใช้แผนฟื้นฟูฉบับแก้ไขปรับปรุงเราจะลดจำนวนรถเมล์ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง  โดยส่วนตัวตนมีความเชื่อมั่นว่า แผนฟื้นฟูฉบับนี้ตอบโจทย์ได้ทุกข้อเชื่อมาเรามาถูกทางแล้ว “ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สำเร็จ ผมพร้อมพิจารณาตัวเองเปิดทางให้คนอื่นมาบริหาร ขสมก.” นายสุระชัยกล่าวทิ้งท้าย

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit