ปราชญ์เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พลิกฟื้นพื้นที่ทำกิน ขยายผลกว่า 90 ครัวเรือน

26 Jun 2020

ปราชญ์เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พลิกฟื้นพื้นที่ทำกิน ขยายผลกว่า 90 ครัวเรือน

ปราชญ์เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พลิกฟื้นพื้นที่ทำกิน ขยายผลกว่า 90 ครัวเรือน

นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้น้อมนำหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นทางรอดจากผลกระทบของวิกฤตต่าง ๆ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงอาหารด้วยแหล่งอาหารที่ตนเองผลิต ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกรอย่างชัดเจน โดยได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองให้สอดคล?องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อันเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยการสร้างอาชีพอย่างเหมาะสมกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เพื่อมุ?งหวังที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

นางจินตนา ปัญจะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ของ สศท.10 โดยสัมภาษณ์นายวิโรจน์ กอนสุข ปราชญ์เกษตรกร ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ หมู่ 1 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ประสบความเสร็จในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2560 และได้น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผนวกกับแนวคิดเกษตรผสมผสาน มาประยุกต์ใช้บนพื้นที่ จำนวน 21 ไร่ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์และจัดสรรพื้นที่ ให้เหมาะสมกับพืชและแหล่งเก็บน้ำ การปรับปรุงคุณภาพดิน การบริหารจัดการน้ำ โดยใช้หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และยังช่วยให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ซึ่งหลักการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ของนายวิโรจน์ สามารถต่อยอดโดยมีการขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่นในตำบลหนองตาแต้ม กว่า 90 ครัวเรือน และยังขยายผลการทำธนาคาร น้ำใต้ดิน ไปสู่พื้นที่อำเภอปราณบุรี อีก 5 จุด ปัจจุบันมีเกษตรกรแปลงใหญ่และเกษตรกรทั่วไปให้ความสนใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรของตนเอง ประมาณ 200 คน/ปี ซึ่งทางศูนย์ฯ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้หลายด้าน เช่น การวางระบบน้ำในพื้นที่เกษตร การทำเกษตรแบบใช้น้ำน้อย การทำน้ำหมักชีวภาพ การจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น

สำหรับพื้นที่การเกษตรของนายวิโรจน์ จำนวน 21 ไร่ ได้มีการแบ่งตามสัดส่วน โดยเป็นนาข้าว จำนวน 10 ไร่ สับปะรด จำนวน 7 ไร่ บ่อน้ำ จำนวน 1 ไร่ (แบ่งเป็น 2 บ่อ) ไม้ผล ได้แก่ มะม่วงและมะพร้าว จำนวน 1 ไร่ ส่วนที่เหลือจำนวน 2 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกพืชผัก สมุนไพร เลี้ยงไก่ และที่อยู่อาศัย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 40,000 บาท/ปี เนื่องจากลดการใช้สารเคมีลง 70% โดยเปลี่ยนเป็นผลิตปุ๋ยอินทรีย์สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช สามารถสร้างรายได้ประมาณ 400,000 บาท/ปี ซึ่งรายได้แบ่งเป็น นาข้าว 120,000 บาท/ปี สับปะรด 200,000 บาท/ปี ไม้ผล 40,000 บาท/ปี และพืชผักสมุนไพร 40,000 บาท/ปี เมื่อหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้ว คิดเป็นรายได้เฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 250,000 บาท/ปี นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มในรูปของวิสาหกิจชุมชนเพื่อรวบรวมผลผลิตส่งขาย โดยการคัดเกรดสินค้า ให้ได้คุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และยังมีพ่อประจำเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงพื้นที่ ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือท่านใด ที่สนใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายวิโรจน์ กอนสุข ปราชญ์เกษตรกร ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ หมู่ 1 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 08 3916 5159

HTML::image( HTML::image( HTML::image(