มหาวิทยาลัยเถาเป่า ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานด้านการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้จัดการฝึกอบรมแบบสัมมนาผ่านเว็บ (webinars) ในชื่อ The Digital Insight 2020 – Alibaba Global Course for Small and Medium Enterprises เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีจากทั่วโลกได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยววิธีการดำเนินธุรกิจหลังจากเกิดโรคระบาด โดยไทยเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ประกอบการเข้าฟังมากกว่าที่สุดกว่าหนึ่งร้อยคน
การสัมมนาผ่านเว็บดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมล่าสุดจากอาลีบาบา กรุ๊ป เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจโลก แต่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยจีนถือเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ดังนั้นการฝึกอบรมครั้งนี้จึงนำตัวอย่างที่น่าสนใจจากแบรนด์ในจีนมานำเสนอ เกี่ยวกับผลกระทบที่แบรนด์เหล่านั้นได้รับและวิธีการที่นำมาใช้เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจ นอกจากนี้ยังแบ่งปันประสบการณ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เองในการบริการจัดการองค์กรในช่วงโควิด-19
เอสเอ็มอีมากกว่า 500 รายจากภูมิภาคยุโรป อาฟริกา เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ ซึ่งบรรยายโดยผู้สอนที่ได้รับการรับรองโดยมหาวิทยาลัยเถาเป่า นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารจากบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป หรือ BCG มาบรรยายเรื่องเทรนด์การตลาดแบบดิจิทัลในจีน รวมทั้งแนะนำเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ประกอบการ คือ 'Ali-BCG DeEP’ ที่ถือเป็นเครื่องมือแรกของวงการที่สามารถวัดประสิทธิภาพของแบรนด์ออกมาเป็น รูปแบบที่จับต้องได้ โดยพัฒนาร่วมกับทีมอลล์ที่เป็นแพลทฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์แบบ B2C ชั้นนำของอาลีบาบา
นายเหลย ฮวง หัวหน้าหน่วยงาน มหาวิทยาลัยเถาเป่า กล่าวว่า “เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในจีน เพราะผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้นยิ่งกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ซึ่งจะเป็นรายได้ที่เข้ามาหล่อเลี้ยงธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ยิ่งไปกว่านั้นเราได้เห็นแบรนด์ต่างๆ ใช้โอกาสนี้เข้ามาขายสินค้าบนแพลทฟอร์มออนไลน์และดิจิทัลแบบเต็มตัวมากขึ้น เราหวังว่าจะได้เห็นการฟื้นตัวหลังโรคระบาดเช่นนี้ในประเทศอื่นๆ และหวังว่าเอสเอ็มอีจากทั่วโลกจะได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาของแบรนด์ในจีนที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเรานำมาแบ่งปันในการฝึกอบรมครั้งนี้”
การขายผ่านออนไลน์ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วกว่า การฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกนำเสนอเรื่องตลาดจีนที่ความต้องการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเริ่ม ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และโอกาสสำหรับเอสเอ็มอีบนช่องทางออนไลน์ โดยในช่วงนี้ฟอเรสต์ เคบิน ซึ่งเป็นแบรนด์สกินแคร์ในจีนได้มาแบ่งปันประสบการณ์ในการเปลี่ยนจากการขายผ่านร้านแบบออฟไลน์ มาเป็นการขายแบบออฟไลน์และการไลฟ์สตรีม ที่น่าสนใจคือยอดขายจากการไลฟ์สตรีมของแบรนด์เพียงครั้งเดียว มีมูลค่าเท่ากับยอดขายของ 4 ร้านสาขารวมกันตลอดทั้งเดือน
ผู้แทนจากเถาเป่ายังบอกเล่าถึงวิธีการที่หน่วยธุรกิจต่างๆ ของอาลีบาบานำมาใช้เพื่อรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งรวมถึงการออกมาตรการช่วยเหลือพันธมิตรและลูกค้าทั่วโลก หนึ่งในกรณีศึกษามาจากเฟรชฮิปโปซึ่งเป็นเชนซูเปอร์มาร์เก็ตของอาลีบาบา โดยเฟรชฮิปโปสามารถปรับระบบรับ- ส่งสินค้าให้เป็นไปตามหลักการเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างรวดเร็ว ส่วนอีกตัวอย่างคือแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบาที่นำช่องทางไลฟ์สตรีมมาช่วยเหลือเกษตรกรในการขายสินค้าเกษตรแบบออนไลน์ โดยทำงานร่วมกับไช่เหนียวซึ่งเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ของอาลีบาบา ในการส่งสินค้าเกษตรถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว
การค้าปลีกรูปแบบใหม่ คือมิติใหม่ของการตลาด ช่วงที่ 2 เป็นการนำเสนอบทบาทของการค้าปลีกแบบใหม่ หรือ New Retail ที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ ด้วยการเติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคนับตั้งแต่หน้าร้านไปจนถึงบนโซเชียลมีเดีย และสอนวิธีการรักษาจำนวนลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่หยุดชะงักจากโรคระบาด
ผู้บริหารจากบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป และทีมอลล์ ได้แนะนำ 'Ali-BCG DeEP’ เพิ่มเติมว่าเป็นเครื่องมือที่นำบิ๊กดาต้ามาใช้ดูรายละเอียดเชิงลึกของแบรนด์เพื่อวัด ประสิทธิภาพการดำเนินงานได้แบบเรียลไทม์ โดยดูได้ในทุกจุดที่มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกกลุ่ม ในช่วงนี้ยังนำเสนอตัวอย่างของการนำ DeEp มาใช้อย่างประสบความสำเร็จในเทศกาลช้อปปิ้งและการขายสินค้า รวมทั้งบทบาทของเครื่องมือนี้บนแพลทฟอร์ม Tmall Marketing Accretion ที่ปัจจุบันได้ช่วยเหลือเรื่องการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลให้แบรนด์มากกว่า 200 แบรนด์จากทั่วโลก
การฝึกอบรมในครั้งนี้เกิดจากการที่มหาวิทยาลัยเถาเป่าได้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ในปี 2563 เป็นการให้ความรู้แก่ธุรกิจโดยไม่ได้มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้พลิกฟื้นหลังเกิดโรคระบาดเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านช่องทางไลฟ์สตรีม ซึ่งมหาวิทยาลัยเถาเป่าจะเดินหน้าจัดการฝึกอบรมแบบออนไลน์เช่นนี้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเถาเป่า หรือ TBU
TBU จัดโครงการฝึกอบรมมากมายเพื่อช่วยให้องค์กร หน่วยงาน แบรนด์ เอสเอ็มอี และผู้ประกอบการเอกชน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจ และประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญที่เป็นเลิศจากอีโคซิสเท็มของอาลีบาบาและแผนการสร้างพนักงานด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบในหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบัน TBU ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมมาแล้วมากกว่า 100 หลักสูตรในหลายประเทศ ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป สหรัฐ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้วมากกว่า 40,000 คน นอกจากนี้ยังมีเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการเอกชน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมการอบรมแล้วมากกว่า 20,000 คน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit