ศิลปินไต้หวันชื่นชม “ศิลปหัตถกรรมไทย” จับต้องได้ มีดีไซน์ พร้อมเผยเหตุผลที่ทำให้งานหัตถกรรมไต้หวันมูลค่าสูงกว่าไทย

21 Jan 2020
ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวของความสำเร็จครั้งใหม่ของเทศกาลออกแบบเชียงใหม่ หรือ 'Chiang Mai Design Week 2019' ที่ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานมรดกทางวัฒนธรรม ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน จัดแสดงนิทรรศการ 'Taiwan Heritage: Treasure of Taiwan' ครั้งแรกของการนำสมบัติชาติจาก 14 ศิลปินชั้นครูชาวไต้หวัน มาจัดแสดงให้คนไทยและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเวิร์คช้อปงานฝีมือที่ได้รับความสนใจจากคนรักงานศิลป์เป็นจำนวนมาก
ศิลปินไต้หวันชื่นชม “ศิลปหัตถกรรมไทย” จับต้องได้ มีดีไซน์ พร้อมเผยเหตุผลที่ทำให้งานหัตถกรรมไต้หวันมูลค่าสูงกว่าไทย

Shy, Gwo-Long (ซื่อ กั่ว หลง) Director-General / Bureau of Cultural Heritage, Ministry of Culture ในฐานะตัวแทนของสำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมฯ กล่าวว่า "การตัดสินใจเข้าร่วมงานครั้งนี้ ถือเป็นการเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นของไต้หวัน บวกกับคอนเส็ปต์การจัดงาน Chiang Mai Design Week 2019 สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมของไต้หวัน ที่เน้นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมควบคู่กับภูมิปัญญาดั้งเดิมของช่างฝีมือ อีกทั้งเมืองเชียงใหม่ยังเดินหน้าขับเคลื่อนสู่การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งสอดคล้องกับเมืองศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไต้หวันอย่างมาก ทำให้เรายิ่งสนใจที่จะนำผลงานมาจัดแสดงมากขึ้น และร่วมชื่นชมผลงานศิลปะของศิลปินไทยในเวลาเดียวกัน"

ซื่อ กั่ว หลง ยังกล่าวด้วยว่า ความน่าสนใจของเทศกาลออกแบบเชียงใหม่ปีนี้ คือการนำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในแบบ 'Art in The Daily Life' ซึ่งเป็นเสมือนกระจกสะท้อนให้หน่วยงานของไต้หวันมองเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมควบคู่กับการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

"ความน่าสนใจอยู่ตรงที่การทำงานร่วมกันของดีไซเนอร์และช่างฝีมือ ทำให้ศิลปหัตถกรรมไทยมีความร่วมสมัยและมีอัตลักษณ์ ขณะที่สำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมของไต้หวัน จะเน้นการทำงานในเชิงลึกผ่านการรวบรวมศิลปินที่ทำงานเชิงอนุรักษ์จากทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ศิลปินส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยเราจะคัดเลือกศิลปินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานในแต่ละครั้ง อย่างเทศกาลออกแบบเชียงใหม่ 2019 เน้นศิลปหัตถกรรมที่ประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตได้อย่างร่วมสมัย ศิลปินทั้ง 14 ท่านที่เราเชิญมาร่วมจัดแสดงนิทรรศการจึงเน้นไปที่การออกแบบหัตถกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต เช่น การกิน การนอน เป็นต้น"

แม้ไต้หวันจะมีขนาดพื้นที่เพียง 1 ใน 14 ของประเทศไทย ทว่ารัฐบาลของไต้หวันให้ความสำคัญกับงานศิลปวัฒนธรรมอย่างมาก และผลักดันให้มีการจัดแสดงศิลปะในพื้นที่สาธารณะตั้งแต่ปี 1992 ทั้งยังสนับสนุนให้ศิลปินพื้นถิ่นสานต่อภูมิปัญญาเก่าแก่ในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์ และส่งเสริมให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมแตกต่างกันไป

"ความที่เราเน้นส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมในเชิงอนุรักษ์ ส่งผลให้ศิลปินจึงสร้างสรรค์ผลงานในเชิงศิลปะมากกว่าการขายให้ได้จำนวนมากหรือ Mass Products ทำให้ต้นทุนในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมของไต้หวันมีราคาสูงกว่าไทย มูลค่าจึงสูงไปด้วย ส่วนตัวแล้วการที่เรามีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดและเทคนิคเชิงช่างผ่านการร่วมเวิร์คช้อปหรือการเสวนาในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวของความสำเร็จที่ต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมของเอเชียมีความแข็งแกร่งในอนาคต"

นอกจากนี้ สำนักงานมรดกทางวัฒนธรรม ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมของไต้หวัน ยังมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาและฟื้นฟูโบราณสถาน โบราณวัตถุ ชุมชน สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่า โดยนิทรรศการและเวิร์คช้อปต่าง ๆ ของศิลปินชาวไต้หวันภายในเทศกาลออกแบบเชียงใหม่ 2019 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งยังเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยและศิลปินไต้หวันได้แลกเปลี่ยนเทคนิคเชิงช่างระหว่างกันอีกด้วย

ศิลปินไต้หวันชื่นชม “ศิลปหัตถกรรมไทย” จับต้องได้ มีดีไซน์ พร้อมเผยเหตุผลที่ทำให้งานหัตถกรรมไต้หวันมูลค่าสูงกว่าไทย ศิลปินไต้หวันชื่นชม “ศิลปหัตถกรรมไทย” จับต้องได้ มีดีไซน์ พร้อมเผยเหตุผลที่ทำให้งานหัตถกรรมไต้หวันมูลค่าสูงกว่าไทย ศิลปินไต้หวันชื่นชม “ศิลปหัตถกรรมไทย” จับต้องได้ มีดีไซน์ พร้อมเผยเหตุผลที่ทำให้งานหัตถกรรมไต้หวันมูลค่าสูงกว่าไทย