บลจ.ไทยพาณิชย์ จ่ายปันผล LTF ส่งท้าย 3 กองรวด SCBLT1 - SCBLT4 - SCBLTT มูลค่ารวมกว่า 222 ล้านบาท

20 Jan 2020
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ เตรียมจ่ายเงินปันผลกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จำนวน 3 กองทุน โดยทั้ง 3 กองทุนนี้เป็นการจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 - วันที่ 31 ธันวาคม 2562 รวมมูลค่าประมาณกว่า 222 ล้านบาท โดยจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 21 มกราคม 2563 นี้ ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1) ในอัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย ซึ่งการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 24 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 5.3350 บาทต่อหน่วย โดยกองทุนนี้เน้นลงทุนหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายปันผลอยางสม่ำเสมอ เฉลี่ยในปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
บลจ.ไทยพาณิชย์ จ่ายปันผล LTF ส่งท้าย 3 กองรวด SCBLT1 - SCBLT4 - SCBLTT มูลค่ารวมกว่า 222 ล้านบาท

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวอินเตอร์ (SCBLT4) อัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย โดยการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 16 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 3.2200 บาทต่อหน่วย มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง มีแนวโน้มเจริญเติบโตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศไม่เกินกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต (SCBLTT) ในอัตรา 0.1400 บาทต่อหน่วย ซึ่งการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 4.500 บาทต่อหน่วย มีเน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง และมีแนวโน้มเจริญเติบโตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม

ทั้งนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ มองภาพรวมตลาดหุ้นไทยในปี 2563 ว่ายังคงมีปัจจัยที่ยังส่งผลกระทบต่อการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ เรื่องการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีนในเฟสที่ 2 และ 3 สงครามระหว่างสหรัฐฯ -อิหร่าน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี รวมถึงการชุมนุมทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ตลาดผันผวนได้ค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่คาดว่าจะช่วยสนับสนุนสกภาวะเศรษฐกิจโลกให้ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลักของโลกที่ดำเนินมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องซึ่งจะช่วยจำกัดความเสี่ยงภาวะถดถอย ประกอบกับสหรัฐฯ และจีนสามารถลงนามข้อตกลงการค้า และคาดว่าภาคการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียจะกลับมาฟื้นตัวได้จากการธนาคารกลางจีนกระตุ้นการขยายตัวของสินเชื่อภายในประเทศ

เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Centerโทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย